Green Job เทรนด์อาชีพสีเขียว

ผู้เรียบเรียง

ดวงพร อรัญญพงษ์ไพศาล

 บรรณารักษ์ชำนาญการ ฝ่ายบริการ

 สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

จากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปทำให้อุณหภูมิโลกและระดับน้ำทะเลสูงขึ้น ตลอดจนผลกระทบต่อระบบนิเวศและสัตว์ป่า จึงทำให้เกิด Green Job สายงานอาชีพที่มีจุดประสงค์หลักเพื่อช่วยอนุรักษ์ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ขับเคลื่อนเศรษฐกิจสีเขียวและการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้เป็นศูนย์ ซึ่งโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติได้ให้ความหมายของ Green Job ไว้ว่าเป็นงานด้านเกษตรกรรม การผลิต การวิจัย การพัฒนา รวมถึงงานในธุรกิจที่มีการผลิตสินค้าหรือให้บริการ ตลอดจนขั้นตอนของการปฏิบัติงานภายใต้กระบวนการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การผลักดันเศรษฐกิจสีเขียวมีเป้าหมายเพื่อลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์เป็นศูนย์ จึงทำให้เกิดการจ้างงานสายสีเขียวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจุดประสงค์หลักของ Green Job คือ ช่วยรักษาสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศให้คงอยู่ต่อไป มุ่งเน้นให้มนุษย์อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างสมบูรณ์ รวมถึงช่วยสร้างเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผ่านการสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้แก่ผู้บริโภคที่แตกต่างไปจากระบบนิเวศแบบเดิมๆ

 

 

 องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) ได้กำหนดประเภทของ Green Jobs เป็น 5 ประเภทหลักๆ ดังนี้

          1) งานที่ช่วยปรับปรุงการใช้พลังงานและทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ

          2) งานที่ช่วยจำกัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

          3) งานที่ช่วยลดของเสียและการปนเปื้อนสู่สิ่งแวดล้อม

          4) งานด้านการปกป้องและฟื้นฟูระบบนิเวศ

          5) งานที่สนับสนุนการปรับตัวต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ 

โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UNEP) เน้นย้ำถึงความสำคัญในการสร้างทักษะสายงานสีเขียว เพื่อให้ทุกสายงานสามารถทำงานบนฐานคิดของความยั่งยืนได้ ซึ่งได้สรุปทักษะสำคัญสำหรับกลุ่มงานสีเขียวที่นอกเหนือจากทักษะด้านเทคโนโลยี ดังนี้

  • ทักษะด้านวิทยาศาสตร์ เน้นทักษะการออกแบบหรือสร้างอาคารต่างๆ การติดตามวัดผล การจัดการและการปกป้องทรัพยากรสิ่งแวดล้อม โดยกลุ่มอาชีพเหล่านี้จะเน้นทำงานด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับทรัพยากรธรรมชาติเป็นหลัก รวมไปถึงการวางแผนกลยุทธ์โครงสร้างพื้นฐานให้สามารถใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ทักษะด้านสถาปัตยกรรม เน้นความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างอาคาร เทคนิคการก่อสร้างอาคารที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สามารถใช้พลังงานหมุนเวียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และมีความรู้เรื่องกฎระเบียบทางสิ่งแวดล้อมควบคู่กัน
  • ทักษะด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรมสีเขียว เน้นความเชี่ยวชาญทางเทคนิคเฉพาะตัว การบำรุงรักษาระบบพลังงานสะอาด รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ ให้สอดคล้องกับเศรษฐกิจสีเขียวด้วย
  • ทักษะด้านเกษตรกรรม การนำองค์ความรู้มาช่วยเรื่องการบริการทรัพยากรและการเลือกใช้วัสดุเพาะปลูกที่ไม่ทำลายธรรมชาติ เน้นกระบวนการทำงานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและพัฒนาเป็นแหล่งผลิตอาหารที่มีคุณภาพและยั่งยืน โดยใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์และประเมินเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพให้ดียิ่งขึ้น
  • ทักษะด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้มนุษย์เรียนรู้อยู่กับสิ่งแวดล้อมได้อย่างเป็นธรรมชาติ รวมถึงการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างสิทธิมนุษยชนและสิทธิสิ่งแวดล้อม เพื่อไม่ให้เกิดการละเมิดสิทธิการทำงานของคน เชื้อชาติ และสิ่งแวดล้อม
  • ทักษะด้านการคิดวิเคราะห์ สามารถออกแบบแผนพัฒนา ตลอดไปจนการดำเนินการ ติดตามผล รวมถึงแก้ไขปรับปรุงให้แผนพัฒนาสิ่งแวดล้อมสมบูรณ์ที่สุด

Green Job ถือเป็นสายงานที่น่าสนใจอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นเทรนด์ที่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม หากใช้ความสามารถเฉพาะด้านของ Green Job มาช่วยดูแลสิ่งแวดล้อม มนุษย์ก็จะสามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติต่อไปได้อย่างยั่งยืน สำหรับตำแหน่งงานของ Green Job มีหลากหลายด้านดังนี้

  1. ด้านพลังงาน บุคลากรที่มีความรู้ความชำนาญในงานด้านพลังงานหมุนเวียน สามารถเปลี่ยนแหล่งพลังงานจากฟอสซิลให้เป็นเป็นพลังงานสะอาดหรือพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานน้ำ พลังงานความร้อนใต้พิภพ และพลังงานชีวภาพ
  2. ด้านการขนส่ง สามารถลดการใช้น้ำมันเป็นเชื้อเพลิงปรับเปลี่ยนให้เป็นพลังงานไฟฟ้ามากขึ้น รวมถึงการนำชิ้นส่วนของรถยนต์นำกลับมาผลิตใหม่ เพื่อสร้างระบบนิเวศการเดินทางขนส่งรูปแบบใหม่ๆ
  3. ด้านอสังหาริมทรัพย์และการก่อสร้างอย่างยั่งยืน มุ่งเน้นเรื่องการใช้วัสดุที่นำกลับมาใช้ใหม่จากกระบวนการผลิตวัสดุก่อสร้าง เพิ่มโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับการใช้พลังงานหมุนเวียนในอาคารหรือสิ่งปลูกสร้าง
  4. ด้านการบริหารจัดการของเสีย การมุ่งเน้นการรีไซเคิลของเสียที่เหลือทิ้งหรือสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ โดยเริ่มตั้งแต่การจัดเก็บ คัดแยก ขนส่ง แปรสภาพเป็นวัสดุที่กลับมาพร้อมใช้งาน
  1. ด้านการออกแบบ ที่เน้นเรื่องการลดการใช้ทรัพยากรและการหมุนเวียนการใช้ทรัพยากรจากวัสดุเหลือทิ้งให้มากขึ้นผ่านกระบวนการ Reduce Reuse Recycle
  1. ด้านการเกษตร โดยนำเทคโนโลยีมาช่วยในการเพิ่มผลผลิต ปรับปรุงคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์ให้ดีต่อสุขภาพและเหมาะสมกับคนเฉพาะกลุ่ม
  1. ด้านการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเชิงนิเวศหรือเชิงอนุรักษ์ในชุมชนนิเวศวิถีที่มีความสมดุลระหว่างผู้คนและสิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติ
  1. ด้านกิจกรรมการปลูกป่าแบบยั่งยืน โดยนำคาร์บอนเครดิตที่ได้จากการปลูกป่าไปชดเชยการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

 

ตัวอย่างอาชีพของงานสีเขียว มีดังนี้

 

ที่มาของข้อมูล : https://www.salika.co/2023/05/08/green-job-work-trend-for-new-gen/

ตำแหน่งอาชีพในสายงานสีเขียวยังต้องการแรงงานที่มีทักษะ ความรู้ ความเข้าใจด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากสายงานต่างๆ ที่กล่าวไปข้างต้น ซึ่งทุกฝ่ายงานต้องร่วมมือกันเพื่อสร้างคนรุ่นใหม่ที่มีความเข้าใจด้านความยั่งยืน รวมถึงการฝึกอบรมวิชาชีพด้วย ประเทศไทยจึงจะสามารถก้าวสู่โลกแห่งความยั่งยืนได้อย่างมั่นคง

 แหล่งข้อมูลอ้างอิง

Salika. (2566). Green Job เทรนด์อาชีพมาแรง ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ ใส่ใจสิ่งแวดล้อม.

         สืบค้นจาก https://www.salika.co/2023/05/08/green-job-work-trend-for-new-gen/

 

JobsDB. (2566). ทำความรู้จัก Green Job เทรนด์งานใหม่แห่งอนาคตเพื่อสิ่งแวดล้อม.                   

           สืบค้นจาก https://th.jobsdb.com/th/career-advice/article/green-jobs

 

สมาคมเครือข่ายโกลบอลคอมแพ็กแห่งประเทศไทย. (2566). Green Job อะไรคืองานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม?

          เทรนด์มาแรงของโลกการทำงานยุคใหม่. สืบค้นจาก https://globalcompact-th.com/news/detail/1319

 

ฐานเศรษฐกิจ. (2566). โลกกำลังต้องการ Green Jobs แรงงานแห่งอนาคตจาก “เศรษฐกิจสีเขียว”.

         สืบค้นจาก https://www.thansettakij.com/sustainable/zero-carbon/565901

 

เนชั่นออนไลน์. (2566). โอกาสทองของ Green Job เปิด 6 ทักษะสำคัญสำหรับงานสีเขียวต่อสู้ Climate

          Change. สืบค้นจาก https://www.nationtv.tv/gogreen/378915955

 

BrandThink. (2564). 6 อาชีพด้านสิ่งแวดล้อมที่โลกอนาคตต้องการ. 

          สืบค้นจาก https://www.brandthink.me/content/6greendreamjobs

 

แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

 Kavuş, H. K., Erköse, Y., & Eryar, D. (2023). Driving Green Job Opportunities in Sustainable Waste

          Management through Co-Production Strategies: Informal Recycling Workers,

          Municipalities, and the National Agenda—A Case Study of İzmir. Social Sciences, 12(7).

          https://doi.org/10.3390/socsci12070387

 

Asia Guerreschi, Letizia Piras, & Ferdinand Heck. (2023). Barriers to Efficient Knowledge Transfer

          for a Holistic Circular Economy: Insights towards Green Job Developments and Training

          for Young Professionals. Youth, 3(38), 553–578. https://doi.org/10.3390/youth3020038

 

SOFRONIOU, N., & ANDERSON, P. (2021). The green factor: Unpacking green job growth.

          International Labour Review, 160(1), 21–41. https://doi.org/10.1111/ilr.12176

 

Kwak, C.-G., & Feiock, R. (2023). Costs and outcomes of collaborative relationships: interlocal

          collaboration effects on green job creation in Florida Metropolitan Areas. Local

          Government Studies. https://doi.org/10.1080/03003930.2023.2206121

 

Allan, K., & Robinson, J. (2022). Working towards a green job?: Autoworkers, climate change

          and the role of collective identity in union renewal. Journal of Industrial Relations,

          64(4), 585-607–607. https://doi.org/10.1177/00221856221088153

 

Guerreschi, A., Piras, L., & Heck, F. (2023). Barriers to Efficient Knowledge Transfer for a Holistic

          Circular Economy: Insights towards Green Job Developments and Training for Young

          Professionals. Youth (2673-995X), 3(2), 553–578. https://doi.org/10.3390/youth3020038

 

 

 

 


 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri