ผู้เรียบเรียง
ดวงพร อรัญญพงษ์ไพศาล
บรรณารักษ์ชำนาญการ ฝ่ายบริการ
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พืชสมุนไพรเป็นภูมิปัญญาไทยในการรักษาโรคมาตั้งแต่สมัยโบราณตามกระแสนิยมรักษาสุขภาพโดยวิถีธรรมชาติ ส่งผลให้สมุนไพรหลายชนิดกลายเป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากสมุนไพรมีทั้งในรูปแบบยาและอาหารเสริม การบริโภคสมุนไพรจึงเป็นทางเลือกสำหรับการดูแลสุขภาพที่ปลอดภัย กรมการแพทย์แผนไทยได้ทดลองวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ Champion เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการรักษาโรคและสมุนไพรเชิงเศรษฐกิจ ซึ่งประเทศไทยมีความพร้อมในด้านวัตถุดิบที่มีความหลากหลายทางพันธุ์พืชและภูมิปัญญาท้องถิ่นเกี่ยวกับการนำสมุนไพรมาใช้ประโยชน์ รวมถึงรัฐบาลยังให้การสนับสนุนและส่งเสริมสมุนไพรเชิงเศรษฐกิจ ในปี พ.ศ. 2565 มูลค่าการบริโภคผลิตภัณฑ์สมุนไพรในประเทศไทย มีมูลค่าสูงกว่า 5 หมื่นล้านบาท จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์พบว่าพันธุ์พืชในประเทศไทยถูกนำมาใช้ผลิตสมุนไพรกว่า 1,800 ชนิด ทั้งนี้ได้มีการคาดการณ์ว่ามูลค่าของอุตสาหกรรมตลาดสมุนไพรและสารสกัดจากธรรมชาติจะเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังคงมีอุปสรรคในเรื่องของคุณภาพ มาตรฐานความปลอดภัย และการยอมรับในวงกว้าง ซึ่งยังต้องมีการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการแปรรูปสมุนไพรให้เป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้นจึงต้องให้ความสำคัญในเรื่องของกระบวนการผลิตที่ปลอดสารเคมี การทำเกษตรแบบอินทรีย์ และวิธีบริหารจัดการที่เหมาะสม
ที่มา : https://www.salika.co/wp-content/uploads/2019/03/built-standard-of-thai-herbal-medicine-2.jpg
ประเทศไทยมีมูลค่าการบริโภคสมุนไพรอยู่ที่อันดับ 8 ของโลก โดยผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ 3 อันดับแรกคือ กลุ่มอาหารเสริมชนิดพร้อมดื่ม, กลุ่มเพื่อการรักษาอาการไอ หวัด แพ้อากาศ และกลุ่มอาหารเสริม และมีการนำสมุนไพรมาใช้ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ควบคู่กับการรักษาทางการแพทย์แผนปัจจุบันมากขึ้น โดยเฉพาะช่วงสถานการณ์โควิด 19 ฟ้าทะลายโจร และกระชายขาว เป็นที่ต้องการของตลาดอย่างมาก และช่วยต่อยอดไปยังสมุนไพรชนิดอื่นๆ เพื่อสร้างรายได้ให้กับประเทศ นอกจากนี้การผลักดันให้สมุนไพรไทเป็นยาสามัญประจำบ้านเพื่อเพิ่มการเข้าถึงของประชาชนซึ่งจะทำให้ลดความแออัดของผู้ป่วยในโรงพยาบาลได้มากขึ้น
สาเหตุที่ทำให้สมุนไพรเป็นที่น่าสนใจ
- ความสนใจในเรื่องของสุขภาพมากขึ้น เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
- ความเชื่อมั่นว่าสมุนไพรจะช่วยบำรุงร่างกายได้เป็นอย่างดี ไม่มีสารตกค้าง เพราะเป็นภูมิปัญญาดั้งเดิมมาตั้งแต่โบราณ
- ผลงานวิจัยที่รองรับว่าสมุนไพรชนิดต่างๆ มีสรรพคุณในการรักษา ยับยั้งเชื้อโรค และบำรุงร่างกายได้
- สมุนไพรแปรรูปมีราคาถูกกว่าอาหารเสริมหรือยาบำรุงร่างกายชนิดอื่นๆ
- ผลิตภัณฑ์สมุนไพรแปรรูปมีมาตรฐานรับรองความปลอดภัย สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้ มีมาตรฐานตามหลักสากลกำหนด
- การเพิ่มรายได้ของเกษตรกรผู้ผลิต
ภายใต้แผนปฏิบัติการด้านสมุนไพรแห่งชาติ ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2566-2570 กรมการแพทย์แผนไทยฯ ได้ประกาศ “สมุนไพร Herbal Champions 15 รายการ” โดยแบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 เป็นสมุนไพรที่มีความพร้อมเพื่อการพัฒนาต่อยอด 3 รายการ ได้แก่ ฟ้าทะลายโจร ขมิ้นชัน และกระชายดำ
- ขมิ้นชัน เป็นสมุนไพรที่นิยมแพร่หลายทั้งในและต่างประเทศ มีสรรพคุณทางยาด้านระบบทางเดินอาหาร และสามารถพัฒนาเพิ่มมูลค่าขมิ้นชันได้โดยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านการเกษตรและการแปรรูป
- ฟ้าทะลายโจร เป็นยาสมุนไพรที่แพร่หลายในหลายประเทศทั่วทวีปเอเชีย มีสรรพคุณด้านการรักษาอาการหวัด อาการเจ็บคอ และอาการไอ และเป็นสมุนไพรที่มีความต้องการในตลาดเพิ่มสูงขึ้นอย่างก้าวกระโดด เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19
- กระชายดำ หรือโสมไทย จัดเป็นพืชเฉพาะถิ่นของประเทศไทย ซึ่งได้รับความนิยมในตลาดต่างประเทศ มีสรรพคุณหลัก คือการเพิ่มสมรรถนะทางกาย ทำให้สดชื่น และสามารถออกกำลังกายได้นานขึ้น จึงมีแนวโน้มถูกนำไปใช้ในผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก กลุ่มผลิตภัณฑ์สำหรับนักกีฬาและสำหรับผู้สูงอายุ
กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มสมุนไพรที่มีศักยภาพในการผลักดันให้เป็นสมุนไพร Herbal Champion จำนวน 12 รายการ ได้แก่ กระชายขาว มะขามป้อม ไพล กวาวเครือขาว ขิง กระท่อม ว่านหางจระเข้ บัวบก มะระขี้นก กัญชง กัญชา และเพชรสังฆาต
ปัจจุบันคณะกรรมการนโยบายสมุนไพรแห่งชาติมีนโยบายส่งเสริมสมุนไพร herbal champions โดยการสนับสนุนผู้ประกอบการ ทั้งเกษตรกรและ SME ให้สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตให้มีคุณภาพมาตรฐาน ช่วยผลักดันการส่งออกผลิตภัณฑ์ในรูปแบบต่างๆ ที่มีมูลค่าสูง การตรวจรับรองคุณภาพ ตลอดจนสนับสนุนข้อมูลการศึกษาวิจัยต่างๆ เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นในการใช้สมุนไพร รวมถึงการส่งเสริมภาพลักษณ์ การส่งเสริมด้านการตลาด เน้นผลักดันในเชิงรุกทั้งในรูปแบบ Offline และ Online
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
Jaturong Kobkaew. (2566). สมุนไพร…ซอฟต์พาวเวอร์รอวันเฉิดฉาย. สืบค้น
https://www.salika.co/2023/10/24/thai-herb-the-new-soft-power/
สำนักข่าวอินโฟเควสท์. (2566). สธ. ชู 15 สมุนไพรไทย ทยานสู่ตลาดโลก
สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ.สืบค้นจาก https://www.infoquest.co.th/2023/286115
กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. (2566). ประกาศ เรื่อง สมุนไพร Herbal
Champions พ.ศ.2566. สืบค้นจาก
https://www.dtam.moph.go.th/index.php/th/news/dtam-news/9718-pr1933.html
การเงินธนาคาร. (2566). กรมการแพทย์แผนไทยฯ ประกาศ 15 สมุนไพร เป็น Herbal Champions
วางเป้าสู่ตลาดโลก. สืบค้นจาก https://moneyandbanking.co.th/2023/30202/
BANGKOKBANK. (2564). ธุรกิจแปรรูปสมุนไพร โอกาสใหม่เพิ่มรายได้เกษตรกร.
สืบค้นจาก https://www.bangkokbanksme.com/en/processing-herbs-bcgmodel
แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
Manmas V., Natchaya Z., Puthida T., Pravit A. (2023). Metabolomic analysis of Thai
Herbal Analgesic Formula based on ultra-high-performance liquid
chromatography-quadrupole time-of-flight mass spectrometry. HELIYON, 9(7),
p. e18296. https://doaj.org/article/8ba46bab96af4a779eb4e7e91ab210f5
Jaiboonya J., Intouch S., Sumalee P. (2023). Validation of HPLC method for quantitative
determination of active compounds in Thai traditional herbal medicine to treat
gastrointestinal disease. Talanta Open, 7(100227) https://doi.org/10.1016/j.talo.2023.100227
Jongrungraungchok, S., Madaka, F., Wunnakup, T. (2023). In vitro antioxidant, anti-inflammatory, and
anticancer activities of mixture Thai medicinal plants. BMC Complement Med Ther, 23(43),
1-12. https://doi.org/10.1186/s12906-023-03862-8
Nithikathkul, C., Kijphati, R., Krates, J., E., E., Thessingha, C., Aneksak, W., Amornmahaphun, S.,
Pholputta, L., Buadang, S., Noradee, S., Kanjaras, P., Toemjai, T., Roongpisuthipong, A.,
Viegus, Z., Sujayanont, P., Chaimongkhon, K., & Sirisa-ad, P. (2023). Geographic Information
Database of Herbs against COVID-19 in Thailand: The Medicinal Plants those Folk Healers
Commonly Used for Treatment and Boosting People’s Immunity. International Journal of
Geoinformatics, 19(8), 67–82. https://doi.org/10.52939/ijg.v19i8.2785
Chaiwaree S., Pongpaibul Y., Thammasit P. (2022). Anti-dermatophyte activity of the aqueous extracts
of Thai medicinal plants. Brazilian Journal of Biology, 82,
https://doi.org/10.1590/1519-6984.254291
Pinya, T., Intharuksa, A., Yanaso, S. (2022). Conventional and molecular pharmacognostic characters
integrated with chemical profiles of five Piper plants in the Thai herbal pharmacopoeia and
their admixture/adulteration/substitution situations in Thailand. J Nat Med 76, 605–620
https://doi.org/10.1007/s11418-022-01607-4
Siriwattanasatorn, M., Itharat, A., Thongdeeying, P., & Ooraikul, B. (2020). In Vitro Wound Healing
Activities of Three Most Commonly Used Thai Medicinal Plants and Their Three Markers.
Evidence-Based Complementary and Alternative Medicine, 2020.
https://doi.org/10.1155/2020/6795383
Nisarat Siriwatanametanon, Wanwisa Dodgson, & Jolyon L.A. Dodgson. (2017). Investigation of
Antimicrobial Activity of 13 Thai Medicinal Plants against Bacteria and Fungi. Journal of Pure
and Applied Microbiology, 11(3), 1351–1356. https://doi.org/10.22207/JPAM.11.3.15