KULIB Talk: โบท็อกซ์ช้างเชือกแรกของโลก

          ทีมสัตวแพทย์ของไทยสามารถรักษาอาการกล้ามเนื้อขากรรไกรแข็งเกร็งของช้างได้สำเร็จเป็นรายแรกของโลกค่ะ ด้วยวิธีการที่เราไปฉีดโบท็อกไปที่ขากรรไกรของช้างนี่แหละค่ะ ถือว่าเป็นความสำเร็จด้วยการรักษาด้วยโบท็อกสำหรับช้างเป็นรายแรกของโลกเลยนะคะ

          สวัสดีค่ะ ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่การไลฟ์ผ่านทางเฟสบุ๊คและของสำนักหอสมุด และในรายการ KULIB TALK นะคะ ดิฉัน กิตติยา ขุมทอง ทำหน้าที่พิธีกรในวันนี้ค่ะ

          วันนี้เราจะมาพูดคุยกัน ในเรื่องของความสำเร็จอยู่เรื่องนึง ของคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในเรื่องของการนำโบท็อก มาใช้ในการรักษา อาการกล้ามเนื้อขากรรไกรค้างเกร็ง หรือว่าอ้าปากไม่ได้ ของช้าง ซึ่งถือว่าเป็นความสำเร็จแรกในโลก ที่ใช้โบท็อกในการรักษากับช้าง ซึ่งตอนนี้เราก็มี ผู้ที่จะมาให้ข้อมูลเราในเรื่องนี้ ก็ขอต้อนรับ รศ.น.สพ.ดร.นิกร ทองพิพย์

 

พิธีกร: ก่อนอื่น สอบถามคุณหมอก่อนเลยว่า ช้างตัวที่ยืนข้างหลงเรา ใช่ช้างตัวเดียวกับตัวที่เราใช้โบท็อก

          คุณหมอ: อ๋อ นี่ไม่ใช่ครับ อันนี้เขาเป็นช้างพลาย ช้างพลายจะมีงานครับ ช้างที่เรารักษาโบท็อก เป็นช้างพัง ที่เป็นช้างเพศเมีย จะไม่มีขา

พิธีกร: ค่ะ ถ้าพลายเป็นตัวผู้ อันนี้มารักษาด้วยอาการอะไรคะ

คุณหมอ: ขาเจ็บครับ

พิธีกร: เป็นขาเจ็บนะคะ

คุณหมอ: ที่เล็บขาหลังซ้ายด้านใน

พิธีกร: อันนี้เป็นพลาย มารักษาอาการฝี ที่เท้าด้านหลัง ด้านซ้าย ทีนี้ ในส่วนของช้างตัวที่เอาโบท็อกมารักษา ชื่อว่าอะไรคะ

คุณหมอ: ชื่อ ช้างรุ่งนภา อายุประมาณ 50 ปี เป็นช้างที่รับนักท่องเที่ยวอยู่ที่ป่าช้างแห่งนึง ในอำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี อาการของเขามาตอนแรก ก็คือว่า ไม่ยอมอ้าปากกินอาหาร เราก็สงสัยว่าทำไม เลยลองวางยาสลบ แบบซึม ให้เขายืนแล้วก็พยายามใช้รอก กับเครน ดึงปากให้ง้างออก ดูว่ามีฟันผุ มีอะไรไหม

พิธีกร: อ๋อ เผื่อฟันเจ็บ ปวดฟัน อะไรอย่างนี้

คุณหมอ: ใช่ ถึงไม่อ้าปาก ไม่กินอาหาร ก็พยายามโยกฟันดู ไม่เหมือนกับฟันจะหลุด แล้วก็มีทิ่มเหงือกบ้าง เป็นแผลเล็กน้อย ก็พยายามให้ยาลดการอักเสบ ปากติดเชื้อ ล้างปาก ให้น้ำเกลือ เพราะไม่กินอาหาร ก็ประมาณอาทิตย์นึง ก็ยังไม่ดีขึ้น แล้วช้างเริ่มแบบ เหมือนโลหิตจาง เพราะมันไม่กินอะไร เห็นว่าไม่ไหวละ จำเป็นต้องได้เลือด ต้องมีเลือดจากช้างตัวอื่นมาช่วยชีวิตเขา เพราะเลือดเขาจาง ก็เลยตัดสินใจ เอาช้างไปรักษาต่อที่ลำปาง เพราที่นู้นจะมีช้างเยอะ สามารถเลือกช้างที่เลือดเข้ากันได้ มาถ่ายเลือดให้ก่อน ก็เลยพารุ่งนภา ไปรักษาที่ลำปาง

พิธีกร: ค่ะ แล้วหลังจากนั้น ทำไมถึงมาที่นี้

คุณหมอ: ก็ไปลำปาง หลังจากถ่ายเลือดให้เลือดแล้ว เขาก็ยังอ้าปากไม่ได้ เอ๊ะ มันเป็นที่ฟันรึเปล่า ต้องทำฟันหรือว่าข้างในมีอะไรหนักมากกว่านั้นไหม ก็เลยวางยาสลบ อันนี้เอาลงนอนเลย แล้วก็แต่งฟัน ทำช่องปาก ลุกขึ้นมา ก็ยังไม่หาย อ้าปากเพิ่มได้เล็กน้อยมากเท่านั้น ก็จะกินไรไม่ได้ ทำไงดี ช้างก็ต้องกินพืชเนาะ กินหญ้า กินผลไม้ หมอที่นู่นก็เลยปั่น เอาผลไม้ เอาหญ้า เอาอาหารมาปั่นเป็นสมูทตี้เลย แล้วก็กรอกสายยาง สอดสายยางเข้าไปในหลอดอาหารแล้วก็กรอกแบบเอาสมูทตี้ผลไม้เนี่ยกรอก

 

พิธีกร: ยากไหมคะกรอก

คุณหมอ: โอโห ยากมาก เพราะช้างกิน

พิธีกร: เพราะต้องทำตอนที่เขาไม่ได้สลบใช่ไหมคะ

คุณหมอ: ใช่ครับ เพราะเขาไม่อยากตายอะครับ พอเขาฟื้นขึ้นมา เขาก็หิว แต่พอมันอ้าปาก มันใส่แล้วมันก็ไม่เข้า มันก็ร่วงออก ร่วงออก พอเราใส่สายยางปุ๊ป เขาก็อมสายยางไว้ เหมือนไม่อยากตาย

พิธีกร: ก็คือยอมกินอาหารเหลว

คุณหมอ: ยอมกินอาหารเหลวที่กรอก ให้ความร่วมมือ ช้างกินวันนึง 200 กิโลกรัม คิดดูว่าหมอจะต้องนั่งปั่นสมูทตี้วันนีงกี่ถัง

พิธีกร: แต่นี่คือเราก็ยังรักษาอยู่ที่ลำปาง

          คุณหมอ: ไม่ หายแล้ว อันนี้เล่าเรื่องราวเมื่อ 6 เดือนที่แล้ว ก็ปั่นสมูทตี้อยู่หลายเดือน ประมาณ 3 เดือน ในระหว่างนั้นเราก็พยายาม ใช้เลเซอร์ยิง แสงเลเซอร์เนี่ยมันจะช่วยลดการอักเสบ เราคิดว่ามัน มีการอาการอักเสบข้างในกระดูกในโพรงฟันรึเปล่า เขาถึงไม่อ้าปากก็ยังไม่หาย ใช้ยาชาบล็อคบางจุด เพื่อให้มัน

เกิดการคลายตัวของกล้ามเนื้อ เพื่อให้เขาเนี่ยขยับได้ ไม่หาย ใช้ฝังเข็ม เอาหมอแพทย์แผนจีน เพื่อนผมที่เชียงใหม่ ที่เก่าที่สุดในประเทศ ฝังเข็ม กระตุ้นไฟฟ้า ไม่หาย ไม่รู้จะเอาอะไร ประชุมทีม เพื่อนผมเสนอโบท็อก

พิธีกร: ทำไมถึงเลือกใช้โบท็อกหรอคะ

          คุณหมอ: เขามั่นใจแล้วว่า ที่มีปัญหากับการที่ขยับ อ้าปากไม่ได้เนี่ย กล้ามเนื้อตรงนี้มันตึง สาเหตุที่ตึงเนี่ย อาจจะเป็นเพราะว่า ติดเชื้อเฉพาะที่ ก็เชิญหมอยิงผิวหนังเข้ามา จากกรมการแพทย์ หมอโรคผิวหนัง หมอเฉพาะทาง หมอก็มาให้ข้อมูล การใช้โบท็อกในคน เราเข้าใจผิดมาโดยตลอดเลยนะ เราคิดว่าโบท็อกเนี่ย เพื่อตึง ไม่ใช่ครับ เขาจะฉีดตามรอยย่น เพื่อให้มันคลายไอที่ตึงอยู่

พิธีกร: ไอที่ย่น มันจะได้คลาย

          คุณหมอ: มันตึง ฉีดแล้วมันคลาย มันจะได้ไม่ย่น เข้าใจผิดกันหมดเลย ทุกคนก็คิดว่าฉีดโบท็อกแล้วมันจะตึง แต่นี่มันฉีดเพื่อจุดที่ตึง มันจะได้คลาย แล้วมันก็จะไม่ย่น ก็เลยเอามาฉีดช้างสองข้างเลย ฉีดไปครั้งเดียว ประมาณไม่ถึงอาทิตย์ กล้ามเนื้อตรงนี้ขยับได้ ช้างกลับมากินอาหารได้

 

พิธีกร: แต่มันยัง 100% ไหมคะ

คุณหมอ: ยังไม่ 100

พิธีกร: ใช้เวลาฉีดโบท็อกนานขนาดไหน

          คุณหมอ: ก็คือ เราปั่นสมูทตี้อยู่ 3 เดือนใช่ไหม เราฉีดโบท็อกไป 1 โดสเนี่ย สองข้างเนี่ย อาทิตย์เดียว ช้างกลับมาอ้าปากได้ 100 ก็เลยฉีดต่อเนื่องกันมา เดือนละหน อีก 2 ครั้ง นะครับ กลับมาเคี้ยวได้ประมาณสัก 8 9 10 % ก็เลย เอาช้างกลับมากำแพงแสน แล้วก็มาอยู่ที่นี่ มาพักฟื้นที่นี่ แล้วก็ฉีดซ้ำที่นี่อีก 1 โดส คราวนี้หายเลยครับ 100 ผม อือหือ เนาะ

พิธีกร: อันนี้ถามนะ พอดีไม่ได้เรียนด้านการแพทย์มา 1 โดส ของช้างเนี่ย มันประมาณไหนคะ

คุณหมอ: มันต้องคำนวณกับน้ำหนักตัวของคนไง กับตำแหน่งที่ใช้ เพราะมากกว่าคน อย่างน้อยก็ 5 เท่าแหละ

พิธีกร: เพราะว่ามันตัวใหญ่

คุณหมอ: ใช่เพราะว่ากล้ามเนื้อมัน โอโห คนละอย่างกันเลยครับ กล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการเคี้ยวเนี่ย มัดนี่

พิธีกร: ตอนแรกก็เข้าใจเหมือนที่อาจารย์หมอจะบอกนะ ก็คือใช้โบท็อก ก็ยังคุยว่า โบท็อกซ์เนี่ยเราฉีดจริงๆ เราฉีดให้หน้าเราตึงไม่ใช่เหรอ แล้วใช้กับช้างเนี่ย เราใช้ยังไง

          คุณหมอ: ก็ผมก็บอกไง คือคนเข้าใจผิด นึกว่ามันตึง คือมันไปฉีดตรงจุดที่มันย่นแล้วคลาย ไอจุดที่ย่นก็คลายตัวออก มันก็จะไม่ย่น

พิธีกร: แล้วตอนนี้อาการปัจจุบันของ ช้างรุ่งนภา เป็นอย่างไรคะ

          คุณหมอ: หายเลย ตอนนี้อยู่ที่ราชบุรี เนี่ยควาญช้างให้เขามาเอาช้างตัวนี้มารักษา เขาบอกหาย ก็กลับไปรับ ไปทำงานได้ตามปกติ กินอาหารเก่ง

พิธีกร: แล้วเรายังมีการติดตามผลอาการ

          คุณหมอ: ไปทุกเดือนครับ ไปดูทุกเดือน

พิธีกร: ไปดูทุกเดือนใช่ไหมคะ

          คุณหมอ: ครับดู ครับ

พิธีกร: ก็คือตอนนี้กลับไปให้บริการนักท่องเที่ยวได้เรียบร้อยแล้ว

          คุณหมอ: ครับ เขาก็ไปทำงานตอนหน้าที่ของเขาได้แล้ว

พิธีกร: อาการของขากรรไกรข้างมันเกิดจากอะไรคะ

          คุณหมอ: ตอนนี้เราเข้าใจว่า ฟันเขาที่แบบไม่สบกัน ที่เราบอกว่ามีแผลในกระพุ้งแก้มในตอนแรก มันน่าจะเกิดการติดเชื้อเฉพาะที่ แล้วมันก็กลายเป็นตึงตรงนั้นไป มันเป็นการตึงในจุดที่มันสำคัญที่จะทำให้ มันจะเขี้ยวได้ แล้วพอฉีดให้มันคลายปั๊ปเนี่ย พอเขาเคี้ยวได้นี่เคี้ยวใหญ่เลย บริหารกรามตัวเอง ตอนนี้หายขาด

พิธีกร: มันมีโอการที่จะกลับมาเป็นแบบนี้อีกไหมคะ

          คุณหมอ: ก็ถ้าฟันยังไม่สบกันมีทิ่มเหงือกมีอะไรแบบเนี้ย อักเสบเฉพาะที่เกิดขึ้นอีกเนี่ย ก็อาจจะเกิด ถึงต้องไปดูทุกเดือน แล้วก็ฝากคนที่มีช้างอายุมากๆเนี่ย คอยดูนะครับ ว่าถ้าเกิดมีปัญหาฟันมันไม่สบกันอะไรพวกนี่มันอาจจะต้องตะไบ ต้องแบบลบคมอะไรพวกนี้ ถ้าไม่งั้นมันทิ่มเข้ามาอีก มันก็จะมีอาการตึงและอ้าปากไม่ได้อีก

พิธีกร: มันจะเกิดกับช้างที่อายุ..เยอะใช่ไหมคะ

คุณหมอ: อายุเยอะ

พิธีกร: อย่างตัวด้านหลังนี่อายุประมาณเท่าไหร่คะ

          คุณหมอ: คุณลุงนี้หรอ คุณลุงนี้ก็น่าจะ 60 แล้วหล่ะ

พิธีกร: อันนี้เป็นคุณลุง เป็นพราย

          คุณหมอ: พราย

พิธีกร: แต่ว่าคุณรุ่งนภาเป็น..เป็นตัวเพศเมีย เป็นพัง

คุณหมอ: พัง ครับเป็นพัง

พิธีกร: ทีนี้ความสำเร็จในเรื่องของการนำโบท็อกมาใช้กับช้างอ่ะค่ะ มันเกิดจากความร่วมมือของหน่วยงานอะไรบ้างคะอาจารย์

          คุณหมอ: ก็จะมีที่นี่ใช่ไหมครับ ม.เกษตรเรา สัตวแพทย์แล้วก็สัตวแพทย์เชียงใหม่ สมาคมช้างที่เชียงใหม่ แล้วก็ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทยที่สถาบันแห่งชาติ แล้วก็กรมการแพทย์ สถาบันโรคผิวหนัง

พิธีกร: คนที่แนะนำคุณหมอฉีดโบท็อคนี่คือหน่วยงานไหน    

คุณหมอ: คุณหมออุ๊ก ตอนนั้นแกอยู่สถาบันโรคผิวหนังกรมการแพทย์กระทรวงสาธารณสุข

 

พิธีกร: ก็เลยสงสัยว่าทำไมคิดได้ว่า ถ้าใช้โบท็อกซ์แล้วมันจะหาย

คุณหมอ: ก็คือเรา..เราทำทุกกระบวนการแล้ว จนเรามั่นใจว่า มันเกิดจากการตรึงของกล้ามเนื้อหดตัวจนแบบไม่คล้ายตัวของกล้ามเนื้อมัดที่เกี่ยวกับการเคี้ยว การอ้าปาก ก็ถึงฉีดจุดนั้น

พิธีกร: ก็แสดงว่าโบท็อกซ์ไม่จำเป็นต้องใช้กับคนอย่างเดียว

คุณหมอ: ใช่

พิธีกร: ใช้กับสัตว์ด้วย

คุณหมอ: ตอนนี้มาประยุกต์ในสัตว์ได้เยอะเลยครับ สัตว์ที่มีอาการแบบเกิดการหดเกร็งของกล้ามเนื้อเฉพาะจุดเนี่ย ฉีดปุ้บก็ช่วยในการคลายตัว

พิธีกร: ใช่ เพราะว่าตอนนี้เราเริ่มเข้าใจแล้วว่าโบท็อกมันทำงานยังไง

คุณหมอ: ครับ

พิธีกร: แต่ที่ผ่านมาเราอาจจะเข้าใจกันผิดๆ

คุณหมอ: ครับ

พิธีกร: ทีนี้ขอถามเรื่องผลงานอื่นของอาจารย์บ้างนะคะ ก็ทราบมาว่าอาจารย์เนี่ยเป็นผู้บุกเบิกงานทางด้านอายุรศาสตร์นะคะ หรือ conservation medicine นะคะ ซึ่งเป็นงานใหม่ขององค์การสัตวแพทย์สัตว์ป่าในประเทศไทยนะคะ ทีนี้อยากทราบว่า เป้าหมายในการทำงานด้านนี้น่ะค่ะ อาจารย์มีเป้าหมายยังไงบ้างคะ

          คุณหมอ: คือทางเรื่องนี้มันอายุรศาสตร์การอนุรักษ์อะนะ มันก็เอาความรู้ทางด้านสัตวแพทย์อายุรศาสตร์เนี่ยไปปรับใช้กับวงกว้างละ มันต้องมีการเชื่อมโยงระหว่างสัตว์ ป่า ก็คือสิ่งแวดล้อมแล้วก็มนุษย์ มันต้องมีคนที่อยู่ตรงกลางคอยหนุน คือเชื่อมทั้งสามส่วนเข้ามาด้วยกันนะครับ ซึ่งอาจจะมองภาพอาจจะ..

พิธีกร: ซึ่งอาจารย์คือคนที่ไปอยู่ตรงกลาง

คุณหมอ: ใช่ครับ ก็คือ มองภาพอะ คือผมผ่านโครงการตัวอย่าง โครงการปล่อยวัวแดงคืนสู่ธรรมชาติที่จ.กาญจนบุรี นะครับ ก็จะเป็นการร่วมกันระหว่างสัตวแพทย์ วนศาสตร์ มหาลัยเกษตรฯ แล้วก็คณะสิ่งแวดล้อมมหาลัยมหิดล แล้วก็ชาวบ้านในพื้นที่ เจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า แล้วก็เจ้าหน้าที่ภาครัฐ กำนันผู้ใหญ่บ้าน คือมาร่วมมือกันหมด ปล่อยวัวแดงหนึ่งฝูงก็จริง แต่ว่า ถ้าปล่อยไปคนน้ำลายไหลตามแบบเนี่ย ตามไปยิงมันก็ไม่มีค่าอะไรใช่ไหมครับ แต่เนี่ยปล่อยวัวแดงไปปั้บเนี่ย เราก็ไปสร้างมวลชนจิตอาสาอนุรักษ์วัวแดงนะครับ มีตั้งแต่รุ่นเล็ก จนถึงคนสูงวัยเลย ในพื้นที่รอบ..รอบป่าทั้งหมดเลยเพื่อให้เขาเป็นแนวร่วมในการอนุรักษ์ ปลูกฝังจิตสำนึกให้กับเขา พอวัวแดงออกมาจุดไหนของหมู่บ้าน เขาก็แจ้งเจ้าหน้าที่ให้ไปผลักดันกลับนะครับ วัวแดงพวกนี้ก็จะได้รับการปกป้อง และก็ขยายพันธุ์ได้

พิธีกร: ทีนี้ในการสร้างความเข้าใจให้กับคนในชุมชน ในการทำยังไงมันยากไหมคะ

คุณหมอ: คือต้องบอกว่าบางกรณี ในหลวงรัชกาลที่ 9 เราก็เชิญพระองค์ท่านเป็นหลักชัย วัวแดงที่เราปล่อยไปอะเราจะมีสโลแกนเลยว่า วัวแดงของพ่อหลวงนะ เราปล่อยตั้งแต่พระองค์ท่าน..จนตอนนี้พระองค์ท่านเมื่อเสียใหม่ๆ มั้ง คือสามปีที่แล้วอะ นะครับ ก็ป้ายวัวแดงของเราอะ ที่รณรงค์รอบป่าจะมีรูปในหลวงรัชกาลที่ 9 อยู่ รูปเอ่อ..ฟ้าหญิงอทิตยาทรฯอยู่ แล้วก็มีรูปวัวแดงอยู่ตรงกลาง แล้วก็เป็นอีกอันหนึ่งที่เราใช้ก็คือ การระเบิดจากข้างในของเขา ความภูมิใจของคนเมืองกาญฯ เราก็โพสต์ลงไปใต้ชื่อโครงการ ศักดิ์ศรีของคนเมืองกาญฯอย่างงี้มันก็ทำให้เขารู้สึกมีส่วนร่วม ผมว่าตรงเนี่ยสำคัญ ที่แบบพอคนเขารู้สึกว่าเขาเป็นเจ้าของและทำเพื่อในหลวงนะ วัวแดงเราไม่ตายแม้แต่ตัวเดียว ไม่ถูกล่าเลย มีลูกในป่าตอนนี้มากกว่า 5 ตัว สร้างฝูงขึ้นมา ถามว่าตรงนี้ดียังไง มันก็คือต้นพันธุ์ของวัวเลี้ยงในอนาคต นึกออกเปล่า รุ่นเราอาจจะไม่อยู่แล้ว แต่รุ่นลูกของเราจะเป็นแหล่งอาหาร ถ้าได้ไปด้วยกันนะ มองพื้นที่ Google Earth ก็ได้ มันเขียวตรงเฉพาะเขตป่า พอหลุดออกมาจากหลักเขตป่า มันเป็นไล่อ้อยเลย อย่างงี้และในป่าที่เขียวๆ นั่นคือ ยารักษาโรค ต้นน้ำ ต้นพันธุ์สัตว์ป่า และก็พวกเครื่องนุ่งห่ม กระดงกระดาษ อะไรมันอยู่ในนั้นหมด ถ้าเราไม่รักษาไว้แล้วใครจะรักษา อายุรศาสตร์การอนุรักษ์ก็เข้าไปช่วยตรงนี้แหละ

พิธีกร: ก็คืออาจารย์ก็เข้าไปอุดหนุน เกื้อหนุน

คุณหมอ: คือมันต้องมองทุกด้านร่วมกันเลย ไม่ใช่แค่สัตวแพทย์ แต่ทุกสาขาอาชีพต้องมาช่วยกันโดยมีเป้าหมายอย่างเดียวกันครับ  ตอนนี้เราก็ใช้วัวแดงเป็น..เป็นโมเดล โมเดลแรกของประเทศไทย ให้ผลมาก ตอนนี้คือรถในจ.กาญจนบุรีเนี่ย ใครมีสติกเกอร์โครงการวัวแดงติดเนี่ยเท่มาก ไปไหนคนก็ยกนิ้วให้ บางร้านให้กินฟรีด้วย นี่มันระเบิดจากข้างใน inside out แล้วมันสุดยอดจริงๆ

พิธีกร: นอกจากผลงานวัวแดงมีอันอื่นไหมคะที่เป็นผลงานทางด้านอายุรศาสตร์

คุณหมอ: ก็เราผสมเทียมมาบ้างได้ครั้งแรกของประเทศไทย ที่นี่ พอได้ลูกขึ้นมา ชื่อ อั่งเปา เราตั้งชื่ออั่งเปาเพราะว่าเกิดวันตรุษจีน เราเอาอั่งเปาเนี่ยไปปล่อยคืนสู่ธรรมชาติที่ป่าเดียวกันที่เราปล่อยวัวแดง ปรากฏว่าอั่งเปาเนี่ย อยู่ในป่าได้ไม่พอมีลูกมาแล้ว 7-8 ตัว ประสบความสำเร็จมาก

พิธีกร: มันไม่ได้มีผลกับการที่..ที่เราบอกว่า ถ้าสัตว์เราพอ..เขาเรียกว่าอะไรอะ สร้างเขาขึ้นมาเขาจะไปอยู่ในป่ายาก

คุณหมอ: อืมนี่ไง อันนี้คือเครื่องพิสูจน์ว่าเทคโนโลยีชีวภาพระบบสืบพันธุ์ขั้นสูงแบบเนี่ย สามารถเอาไปใช้ได้จริง นี่คือโมเดลแรกของโลกเหมือนกันที่สัตว์ที่เกิดจากหลอด test tube เนี่ยสามารถที่จะไปอยู่ในป่าได้และเป็นแม่พันธุ์ที่ดีด้วย และสร้างประชากรที่สวยงามขึ้นมา..ละมั่ง คือสัตว์สงวนที่ใกล้จะสูญพันธุ์อย่างมาก แต่นี่ก็คือมีประชากรนึงชัวส์ได้เลยว่า ไม่สูญพันธุ์แน่นอน

พิธีกร: และอาจารย์มีโปรเจคต่อไปไหมคะว่าจะทำกับอะไร

คุณหมอ: โปรเจคต่อไปที่ทำมาตลอดชีวิตการเป็นอาจารย์ 20 ปี ก็คือการผสมเทียมช้าง ตอนนี้สำเร็จไปสามครั้ง ได้ลูกมีชีวิตเมื่อ 10 ปีที่แล้ว ผสมเทียมช้างก็คือ รีบเก็บน้ำเชื้อจากเพศผู้ที่ไม่ยอมให้ตัวเมีย ไม่ยอมผสมตัวเมีย

คุณหมอ: แล้วเราก็เอามา process นะครับ ในกระบวนการที่เอาไปแช่แข็ง พอจะใช้เราก็เอามาอุ่น แช่แข็งใน ไนโตรเจนเหลวนะครับแล้วก็เอามาอุ่น พอจะใช้ก็เอามาใส่ใน tube สำหรับฉีดตัวที่จะใช้เป็นไกด์นำเข้าไป ก็จะเป็นกล้องส่องตรวจ endoscope ยาวประมาณ 3 เมตร สอดเข้าไปในอวัยวะเพศตัวเมียแล้วไปจุดที่ต้องปล่อยน้ำเชื้อและก็ฉีดน้ำเชื้อเข้าไป ในวันที่ตัวเมียตกไข่ แล้วก็ตรวจฮอร์โมนไว้ ถ้าตกไข่วันไหนก็ฉีดน้ำเชื้อวันนั้น ฟังดูเหมือนง่าย แต่ทำมา 20 ปีได้มา 3 ตัว มีชีวิต 2 เสียไป 1 เสียชีวิตตอนอายุ 17 เดือน เกิดจาก stress คือความเครียด พอรู้ว่าตัวนี้ท้องจากน้ำเชื้อช้างแช่แข็งแรกในโลกเลยนะ เขาไปหยุดไม่ให้แม่ทำงาน เปลี่ยนกิจกรรมแม่เลยแบบวันๆ ยืนอยู่แต่ในคอก นี่คือเครียดขึ้นมาแท้งเลย แล้วมันเป็นตัวแรกในโลกที่เกิดจากน้ำเชื้อแช่แข็งโดยฝีมือคนไทยล้วนๆ น่ะ ทีมเรานี่แหละ แล้วยังไม่มีใครทำซ้ำได้เลยนะ ถ้ามันทำซ้ำได้อีก มันเปิดโอกาสมากมายในช้างเพศเมีย ที่อยู่ในต่างประเทศเนี่ย ช้างไทยนี่เกือบทั้งหมดนะ มันรอน้ำเชื้ออยู่อะ ถ้ามันไม่ได้ผสมเนี่ยเขาก็จะมีปัญหา คือ เนื้องอกในโพลงมดลูกได้ อายุสั้นอีก นะครับแล้วก็รอเวลาที่จะสำเร็จแล้วเราจะได้ก้าวต่อไป เพื่อช่วยเหลือแม่พันธุ์เหล่านั้นให้มีลูก

พิธีกร: อันนี้ก็เป็นโปรเจคที่..ทำมาอยู่ 20 ปี

พิธีกร: ทีนี้อยากจะให้อาจารย์ฝากเรื่องราวดีๆ หรือว่าข้อคิดสำหรับเด็กๆ น้องๆ ยุคใหม่นะคะ ว่าในเรื่องของการรักษาทรัพยากรธรรมชาติ หรือว่าการคงอยู่ของสัตว์ป่า อยากให้ฝากข้อคิดให้กับน้องๆ นิดนึงนะคะ

คุณหมอ: เมื่อกี้ที่หมอบอกไปว่า ที่พื้นป่ามันจำกัดมากและมันเป็นทุกอย่างของคนรุ่นเขาอะ มันคือทรัพยากรธรรมชาติ แล้วจะอยู่กันแบบนี้ไม่ได้ถ้าไม่มีทรัพยากรธรรมชาติแล้วเราจะอยู่ยังไง นะครับ และให้ถามไปเลยนะครับว่าไม่ใช่เราแล้วใครที่จะรักษาทรัพยากรธรรมชาติของโลกนี้ ของประเทศเราไว้ มันต้องเลือกเอาใช่ไหมครับ หลายคนคิดว่าตัวเองยังเด็ก..เด็กก็ทำในช่องทางของเด็ก บอกต่อนะครับ ชักชวน เดี๋ยวนี้มี social มันก็สามารถช่วยกันได้ อย่าลืมนะครับ สิ่งมีชีวิตที่หายไปหนึ่งสปีชีส์หรือพันธุ์ไม้อะไรก็ตาม มันมีผลกับอีกหนึ่งสปีชีส์เสมอ มนุษย์เกิดมาบนโลกแค่ 18 นาที ถ้านับอายุของ earth ถ้านับอายุของโลกตั้งแต่เย็นตัวลงมา ไม่รู้กี่ล้านปี มนุษย์มาเยือนแค่ 18 นาทีชีวิตทุกอย่างเป็นของตัวเองหมดเลย นี่ก็คือชั้น นี่ก็ของชั้น แล้วสัตว์ป่าที่อยู่มาก่อนล่ะ ถามเขาสักคำไหมครับ ว่าเขาก็อยากอยู่หรือคุณจะอยากอยู่สปีชีส์เดียว สิ่งเหล่านี้มันต้องได้รับการถ่ายทอดออกไป อย่างประเทศไทยถ้าไม่มีช้าง ลองจินตนาการดูก็แล้วกันว่าจิตใจของคนในชาติมันจะเป็นอย่างไร

 

พิธีกร: เพราะมันคือเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองของไทย

          คุณหมอ: ใช่ ขณะว่าสัตว์ประจำชาติยังเอาไว้ไม่ได้ ประเทศนี้มันแบบไม่ไหวแล้ว การมีสัตว์เหล่านี้ การรักษาสัตว์ป่าสงวนไว้ได้เนี่ยมันคือการยกระดับจิตใจของคนในชาติ ให้สูงขึ้นในระดับที่เราจะได้ไปต่อกันได้นะครับ ก็หวังว่าเด็กรุ่นใหม่ เยาวชนนะครับ จะร่วมมือ ไม่ใช่เราแล้วใครที่จะต้องเริ่ม

พิธีกร: ใช่ ก็คืออยากให้เริ่มต้นที่ตัวเราก่อนแล้วทุกอย่างมันก็จะดีขึ้นมาเองนะคะ ก็ต้องขอขอบคุณ รศ.น.สพ.ดร.นิกร ทองทิพย์ เป็นอย่างสูงนะคะอาจารย์ ที่ให้เกียรติมาให้ความรู้กับเราในวันนี้ ขอบคุณมากนะคะ วันนี้นะคะเราก็ได้ฟังในเรื่องของ การใช้โบท็อกในการรักษาช้างนะคะ รวมถึงในเรื่องของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ ให้คงอยู่สืบไปนะคะ ทีนี้ในรายการหน้านะคะจะเป็นเรื่องอะไร ก็ติดตามช

มได้ที่ facebook.com/kulibbr หรือ facebook ของสำนักหอสมุด หรือในอีกช่องทางนึงก็คือ ผ่านไลน์แอด KU library ทุกท่านก็สามารถติดตามข่าวสารของสำนักหอสมุดหรือว่ากิจกรรมดีๆ ได้เช่นเคยนะคะ สำหรับวันนี้นะคะ ดิฉันก็ต้องขอลาทุกท่านแต่เพียงเท่านี้นะคะ สวัสดีค่ะ

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

รวมผลงานของ รศ.น.สพ.ดร.นิกร ทองทิพย์ ในคลังความรู้ดิจิตัล มก.

การผสมเทียมช้าง / นิกร ทองทิพย์

การวางยาสลบในสัตว์ป่าและสัตว์สวนสัตว์ / เรียบเรียงโดย นิกร ทองทิพย์

รายงานความก้าวหน้าโครงการวิจัยน้ำเชื้อช้างแช่แข็งและการผสมเทียมในช้างเอเชีย ระหว่างปี 2546-2549 / จัดทำโดย คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สถาบันคชบาลแห่งชาติ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ; นิกร ทองทิพย์ หัวหน้าโครงการ

ช้าง-ขอ-แหย่ง--การจัดการปางช้างเพื่อการท่องเที่ยว / บรรณาธิการ : ฉัตรโชติ ทิตาราม และ เฉลิมชาติ สมเกิด


 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri