วันนี้รายการ KULIB TALK ของเราเปลี่ยนสถานที่ถ่ายทำมาเป็นอีกมุมหนึ่งของห้องสมุดค่ะ วันนี้พวกเราจะพาทุกท่านไปรู้จักกับนิสิตอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยได้รับรางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันตอบปัญหาวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร FoSTAT – Nestlé Quiz Bowl และได้รับถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ขอต้อนรับทีม Quiz Bowl ค่ะ

อยากจะให้แนะนำตัวก่อนค่ะ

  • นายจิรกฤต ลมปปวิช ชื่อเล่น ฟิวครับ
  • นายวิศรุต โรจน์รัตนะ ชื่อเล่น ไม้ครับ
  • นางสาวสโรชา ตันประทุมวงษ์ ชื่อเล่น ไอซ์ค่ะ
  • นายยุทธชัย เรืองชัยศิรเวทย์ ชื่อเล่น บาสครับ
  • นายพิเชษฐ์ เกตุสุ ชื่อเล่น แซ้งค์ครับ

อยากจะสอบถามว่า ทราบข่าวการแข่งขันครั้งนี้อย่างไรบ้าง รวมถึงทำไมถึงสนใจการแข่งขันครั้งนี้

ฟิว FoSTAT – Nestlé Quiz Bowl จะจัดขึ้นในทุกปีอยู่แล้ว ซึ่งเป็นโครงการที่ให้นักวิทยาศาสตร์การอาหาร นิสิตที่ได้เรียนไปแข่งขันกันในทุกๆ ปี และทางพวกเราจะได้ไปชมกันทุกปี ตั้งแต่ปี 2 ปี 3 ได้ไปดูรุ่นพี่ ไปเชียร์รุ่นพี่ที่แข่ง ก็เลยมีความสนใจที่อยากเข้าร่วมโครงการนี้ อยากได้เป็นตัวแทนของโครงการนี้

มีการรวมตัวกันอย่างไร จนเกิดเป็นทีม Quiz Bowl ขึ้นมา

ไม้ จะดูว่าใครที่อยู่ในภาคคนไหนที่มีแววในการแข่งขันได้ มีความรู้ที่เยอะ

(พิธีกร เป็นตัวท็อปใช่ไหมคะ) อารมณ์ประมาณนั้น พอรวมตัวกันเสร็จก็จะไปทดสอบกับอาจารย์  อาจารย์จะมีตัวข้อสอบมาว่า โอเค ในข้อสอบตัวนี้จะแบ่งออกเป็น 4 หมวด ดูว่าในแต่ละด้านใครมีคะแนนมากที่สุด และนำแต่ละคนมารวมตัวกัน

อยากจะให้ช่วยเล่าให้ฟังว่า แข่งขันตอบปัญหาวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร FoSTAT – Nestlé Quiz Bowl มีรูปแบบการแข่งขัน รวมถึงมีเกณฑ์การตัดสินการแข่งขันอย่างไรบ้าง

ไอซ์ ปกติคือการแข่งขันจะแบ่งออกเป็น 2 รอบ เป็นรอบเช้ากับรอบบ่าย โดยที่รอบเช้าจะคัดเลือก 20 ทีมที่มีคะแนนสูงสุด แล้วก็ตัวคำถามจะแบ่งออกเป็น 4 หมวด ในแต่ละหมวดเราจะแข่งกันทั้งหมด 7 ข้อ ข้อละ 35 วินาที แล้วก็คัดเลือกว่า 20 ทีมแรกที่มีคะแนนสูงสุดจะได้ผ่านเข้าไปในรอบบ่าย แล้วตอนรอบบ่าย การแข่งขันก็คือเป็นคล้ายๆ ลักษณะเดิมของตอนเช้าก็คือหมวดละ 7 ข้อ ข้อละ 35 วินาที แต่ว่าจะมีคำถามหมวดละ 1 ข้อที่เป็นข้อที่มี 2 คะแนน แล้วก็แต่ละหมวดจะมีสติ๊กเกอร์ เขาเรียกว่าสติ๊กเกอร์แอมชัวร์ ก็จะเป็นสติ๊กเกอร์ที่ช่วยเพิ่มคะแนนในข้อนั้นๆ เพิ่ม +1 คะแนน แล้วคนที่มีคะแนนสูงสุด 4 อันดับก็จะได้รางวัลไป

ทราบมาว่าคำถามทุกคำถามจะประกอบไปด้วย 4 หมวดใหญ่ ก็มีหมวดเคมีอาหาร หมวดความปลอดภัยและจุลชีววิทยาอาหาร หมวดการแปรรูปและวิศวกรรมอาหาร และหมวดทั่วไป รู้สึกว่ามีหมวดไหนที่เราไม่ถนัดหรือรู้สึกว่ายาก

บาส คิดว่าน่าจะเป็นหมวด General หมวดทั่วไป เพราะว่าคำถามสามารถมาได้หลากหลายรูปแบบมาก ทั้งกฎหมายอาหาร วิศวกรรม Packaging ก็ได้ ความรู้มันกว้าง

ในการแข่งขันนี้เราสามารถใช้เครื่องมืออะไรที่ช่วยหาคำตอบได้บ้างไหม

บาส ไม่ได้เลย ให้เข้าไปตัวเปล่า ๆ

(พิธีกร แสดงว่าต้องใช้ความรู้ที่อ่านมาใช่ไหม) ใช่ครับ

คิดว่าคุณสมบัติอะไรที่สำคัญที่สุดที่ช่วยให้เราชนะเลิศจากการแข่งขันครั้งนี้

บาส คิดว่าเป็นเป้าหมายของกลุ่มเรา ที่เรารวมตัวกันก็เพื่อไปแข่งขันครั้งนี้ ก็ทำให้ดีที่สุด

แซ้งค์ ตัวผมคิดว่าเป็นเรื่องของการรู้จัก move on จากความผิดพลาด เพราะว่าถ้าเรามัวแต่จมปลักกับความผิดพลาดที่เราก่อไว้ เช่นตอบผิดอะไรอย่างนี้ ก็จะทำให้เรารู้สึก fail แล้วก็ไม่มีสติที่จะทำข้อต่อไป

ไอซ์ คิดว่าน่าจะเป็นเรื่องการมีสติอยู่กับตัวตลอดเวลา เพราะว่าในแต่ละข้อเรามีเวลาสั้นมากแค่ 35 วินาที ถ้าสมมติว่าเราเผลอไปนิดเดียวก็คือเวลาก็หายไปแล้ว เราอาจจะตอบไม่ทันข้อถัดๆ ไป

ไม้ ก็คิดว่าเป็นเรื่องของการวางแผน คือเรารู้ เราจะมีกำหนดการที่แน่ชัดว่า โอเค วันนี้เราต้องทำอะไรบ้าง ต้องอ่านกี่วิชา ต้องทำตัวอย่างไรที่เราจะได้ฝึกซ้อมให้พอ จะถึงวันแข่งแล้วอย่างนี้เราต้องเร่งขึ้นไหม อะไร อย่างไร

ฟิว เป็นเรื่องการไม่กดดันกันเองจนมากเกินไป การกดดันตนเองมากเกินไป เพราะเวลาที่เรากดดันตัวเองมันก็จะเกิดเหมือนกับว่าทำให้ผลงานออกมาไม่ดี คือจะพยายามสร้างไม่ให้มีสภาวะกดดันกันเองมากกว่า

การอ่านหนังสือที่จะใช้ไปแข่ง คล้ายกับหนังสือที่เรียนไหม

ฟิว ส่วนมากก็จะเป็นชีทที่เราเคยเรียนกันมาแล้ว คล้ายๆ กัน แล้วก็จะมีอ่านใน text เพิ่มขึ้นมาด้วย

(พิธีกร เหมือนได้ทบทวนตัวเองไปด้วยใช่ไหม) ใช่ครับ

ไม้ หมวด General

ฟิว ก็จะเป็นความรู้กว้างๆ เราก็อ่านพวกกฎหมายไปด้วยเพิ่มเติม

ในทีมมีการแบ่งหน้าที่กันไหมว่าใครทำอะไรหรือใครถนัดหมวดไหน

แซ้งค์ จะแบ่งเป็นทีมหลัก และทีม support โดยที่ทีมหลักจะแบ่งคนละ 4 หมวดหลักก็จะมีหมวดวิศวอาหาร หมวดเคมีอาหาร หมวดจุลชีววิทยาอาหาร แล้วก็หมวดทั่วไป แล้วก็จะมีหมวดรอง ก็คือทั้ง 4 คนจะรับผิดชอบอีกคนละหมวดหนึ่ง เป็นเหมือนกองกำลังเสริม ประมาณนี้

คิดว่าการแข่งขันในครั้งนี้ได้ให้อะไรกับเราบ้าง

แซ้งค์ คิดว่าให้รู้จักการทำงานร่วมกันเป็นทีม การแบ่งหน้าที่อะไรประมาณนี้

บาส ให้เรารู้ว่ามหาวิทยาลัยเราก็ไม่ได้ด้อยไปกว่ามหาวิทยาลัยอื่นเลย

ไอซ์ ก็คือคิดว่าได้รู้ศักยภาพในตัวของเราแต่ละคน มันก็มีศักยภาพเพียงพอที่จะสามารถไปแข่งขันวิชาการได้ เราอาจจะไม่เคยรู้ตัวมาก่อน แต่ว่าครั้งนี้ก็เหมือนทำให้เราได้เพิ่มความมั่นใจในตัวด้วยอะไรอย่างนี้

ไม้ สำหรับผมก็ได้เรียนรู้ว่าตัวเองมีการจัดการรับมือกับความกดดัน ณ ตอนแข่งอย่างไรบ้าง เพราะว่าตอนแข่งก็จะมีทั้งความกดดันเรื่องของกองเชียร์ เวลา แล้วก็ทีมคู่แข่งที่จะตอบคะแนนเท่ากันอะไรอย่างนี้แล้วต้องเฉือนกันมา จะได้รู้ว่าตัวเองคุมสติได้มากน้อยแค่ไหนในสถานการณ์ตอนนั้นๆ

ฟิว ก็จะเป็นประสบการณ์ที่หาไม่ได้จากที่ไหนจริงๆ ได้ทั้งฝึกซ้อม ได้อยู่กับเพื่อนๆ ถึงเวลาแข่งจริงก็ต้องไปเจอเพื่อนๆ มหาวิทยาลัยอื่นอย่างนี้ เราก็จะได้เรียนรู้ว่าที่มหาวิทยาลัยมีเรียน มหาวิทยาลัยอื่นเขาก็มี food science เหมือนกัน ได้รู้ว่าเขาเรียนเหมือนเราหรือเปล่า เราเรียนตรงนี้ เขาไม่ได้เรียนตรงนี้อะไรอย่างนี้หรือเปล่าด้วย

ทราบมาว่าตอนนี้ทุกคนเรียนจบกันแล้วใช่ไหม

ฟิว ใช่ครับ

อยากจะทราบถึงเคล็ดลับที่จะประสบความสำเร็จ ว่าแต่ละท่านมีการบริหารจัดการเวลาอย่างไรทั้งเรื่องเรียนและเรื่องกิจกรรม

ฟิว ถ้าส่วนตัวผมก็คือการแบ่งเวลาสำคัญ เหมือนกับว่าเราเรียนดีแล้วเราไม่ทำกิจกรรมเลยอันนี้ก็ไม่ได้ ก็คืออย่างที่บอกว่าจะต้องมีช่วงที่เราทำกิจกรรมกับทางมหาวิทยาลัยด้วย ก็มีการแบ่งเวลาในการพักผ่อนของเรา ถ้าเราเครียดตลอดเวลาทุกอย่างทำออกมาได้ไม่ดี ก็ต้องมีการแบ่งเวลาให้ดี

ไม้ ก็ตั้งใจเรียนในห้อง อันนี้คือตอนที่ระหว่างถ้าเทียบกันระหว่างอาจารย์สอนกับเราไปอ่านเอง อาจารย์สอนเราจะค่อนข้างรับได้ดีกว่าเพราะเราไม่ต้องมานั่งอ่านเองคืออาจารย์จะพูดมาแล้วเราก็จะฟังเขาไป คือให้โฟกัสไปกับการฟัง ตั้งใจเรียนในห้องแล้วก็พอถึงเวลาที่จะต้องอ่านทบทวนอะไรอย่างนี้มันจะใช้เวลาสั้นกว่า ทำให้เราเอาเวลาตรงนี้ไปทำอย่างอื่นได้ เช่น ไปทำกิจกรรม ไปทำในสิ่งที่ตัวเองชอบ ทำงานอดิเรกอะไรพวกนี้

ไอซ์ ส่วนตัวก็คิดว่าเป็นการที่เรารู้จักตัวเองมากกว่าว่าเราทำอะไรได้ดี ทำอะไรไม่ดี จุดอ่อนข้อด้อยอะไรของเราคืออะไร สมมติเราอ่านหนังสืออย่างนี้แต่เราจำไม่ได้เลย ก็คือเราแค่นั่งอ่านไปเรื่อยแต่เราจำไม่ได้ แปลว่าจุดด้อยของเราคือเราอ่านแล้วเราจำไม่ได้ แปลว่าเราต้องมี trick อะไรสักอย่างที่จะทำให้เราจำได้ หรือทำให้เราimprove ขึ้น

(พิธีกร มี trick ในการเรียนไหม) trick ในการเรียน คือเอาจริงๆ ไม่มี trick แต่รู้แค่ว่าพี่จะความจำไม่ค่อยดีเท่าไหร่ จะมีการคิดคำศัพท์ใหม่ๆ ให้มันตรงกับ ใกล้เคียงที่จำได้ ทำให้จำได้ดีขึ้น หรืออาจจะอ่านหนังสือออกเสียงออกมา มันก็จะทำให้อ่านให้จำได้ดีขึ้นประมาณนี้

บาส คิดว่าเราอย่าไปเครียดกับการเรียนมันมาก ก็แบ่งเวลามาทำกิจกรรมบ้าง เพราะว่าถ้าเราเครียดกับการเรียนมากเกินไป ก็จะส่งผลเสียต่อการเรียนด้วย พอเราเครียดปุ๊บถ้าอ่านไปเราก็จะจำไม่ได้ใช่ไหมครับ เราก็พักผ่อนบ้างแบ่งเวลาพักผ่อนบ้าง พออารมณ์ดีขึ้นหน่อยก็กลับไปอ่านหนังสือต่อมันจะทำให้เราจำได้ดีขึ้น

แซ้งค์ ส่วนตัวก็คิดว่าการที่เราจัดการกับเวลาในการทำกิจกรรมการเรียน มันก็เป็นส่วนที่ทำให้เราประสบความสำเร็จได้ ก็เช่นการเรียนเราก็ตั้งใจเรียนในห้อง แล้วก็มาทบทวนบ้างอะไรอย่างนี้ก็ได้ แต่ว่าถ้าสมมติเราไม่อยากทบทวน เราก็ลองหากิจกรรมอย่างอื่นทำเพื่อให้มันผ่อนคลายตัวเองลง

(พิธีกร พอหลังจากนั้นก็ค่อยกลับไปอ่านหนังสือใช่ไหมคะ) ก็ถ้าเอาจริงๆ ถ้าตามส่วนตัวผมก็คือ ถ้ายังพอมีเวลาก็คืออาจจะพักผ่อนต่ออย่างนี้ คือเป็นคนที่ถ้าเครียดจัดก็จะรับอะไรไม่ได้เลย

สำหรับวันนี้นะคะ ใครที่อยากจะประสบความสำเร็จเหมือนพี่ๆ ทีม quiz bowlก็สามารถจะนำเทคนิคดีๆ รวมถึงเคล็ดลับดีๆ นำไปปรับแล้วก็ประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และสำหรับวันนี้นะคะเราก็ได้พาทุกท่านมารู้จักกับพี่ๆ ทีม quiz bowl ซึ่งเป็นทีมที่ได้สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ของเรา ก็ต้องขอขอบคุณพี่ๆ ทีม quiz bowl มากๆ นะคะที่ให้เกียรติมาสัมภาษณ์กับเราในวันนี้

 

 


 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri