รางวัลการนำเสนอผลงานระดับนานาชาติ Best Presenter

วันนี้ได้รับเกียรติจากนิสิตปริญญาเอกคณะวิศวกรรมศาสตร์ และท่านเป็นอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน โดยอาจารย์ได้นำเสนอผลงาน และได้รับรางวัลเสนอผลงานระดับนานาชาติ Best Presenter ในงาน The 2nd International Conference on Informatics and Computational Sciences จัดโดย department of inmatic facalty of science matermatic universica dinagolo ระหว่างวันที่ 30-31 ตุลาคม ณ ประเทศอินโดนีเซีย ขอต้อนรับ คุณภัทรพงษ์ ภาคภูมิ นิสิตปริญญาเอก ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ และอาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน

หัวข้องานวิจัย A Column Generation Approach for Personnel Scheduling with Discrete Uncertain Requrements เป็นเรื่องของการจัดตารางพนักงาน อยากให้อาจารย์เล่ารายละเอียดให้ฟังว่าเป็นงานวิจัยเกี่ยวกับอะไร

ในธุรกิจการทำงานทุกวันนี้ ต้นทุนหลักคือต้นทุนการจ้างพนักงาน มีทั้งเงินที่ต้องจ่ายให้กับพนักงาน ถ้าเราจ้างพนักงานมาเกินความจำเป็น เราก็จะเสียต้นทุน เป็น Opportunity cost ที่ซ่อนอยู่ คือว่า แทนที่เขาจะไปทำอย่างอื่น เขาก็ต้องมาอยู่ที่ทำงาน ซึ่งอาจจะไม่มีงานเพียงพอให้เขาทำ (พิธีกร อาจารย์ก็เลยคิดงานวิจัยชิ้นนี้มาโดยใช้เครื่องมือที่ช่วยจัดทำตารางของการทำงานนี้) งานนี้ได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ที่ปรึกษา รศ.ดร. พีรยุทธ์ ชาญเศรษฐิกุล ท่านก็ให้คำแนะนำในการศึกษาเรื่อง topic นี้ และท่านก็ให้อิสระทางความคิด ก็เริ่มพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ จากปัญหาที่ทำความยากให้เพิ่มมากขึ้น และให้สมกับสถานการณ์จริงมากขึ้น

อยากจะทราบว่าในเรื่องของการจัดตารางเวลาในการทำงานของพนักงาน ทำไมต้องใช้โมเดลทางคณิตศาสตร์ที่อาจารย์ทำวิจัยมาช่วยจัดตารางของพนักงาน

การจัดตารางพนักงานที่ทำอยู่ เราจัดตาม demand ซึ่ง demand ก็จะขึ้นลงตาม factor หลายอย่าง เราไม่สามารถจะบอกได้ชัดเจน 100 เปอร์เซ็นต์ว่าจะต้องเป็นเท่านั้นเท่านี้ จะกะประมาณๆ ได้

ในงานวิจัยของอาจารย์มีแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ด้วย สำหรับคนที่ติดตามงานของอาจารย์ ก็สามารถดูได้จากฐานข้อมูล IEEE Explore แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่อาจารย์นำมาช่วย มีรายละเอียดอย่างไรบ้าง

การจัดตารางพนักงาน เราจัดเป็นจำนวนคน ใช้ math model ในการแทนจำนวนคน ความยากก็คือถ้าตัวแปรเป็นตัวเลขจำนวนเต็ม จำนวนคนต้องเป็นจำนวนเต็ม มันจะยากกว่าถ้าเป็นเศษส่วนได้ ความยากตัวแรกคือต้องเป็นจำนวนเต็ม ความยากตัวที่ 2 คือมีความไม่แน่นอนของปัญหา เราบอกว่ามีความเป็นไปได้หลายแบบที่ความต้องการ สมมุติอาจจะเป็นต้องการคนทำงานอยู่ระหว่าง 10-20 คน มีหลายกะต่อเนื่องกัน เวลาเอามารวมกันแล้ว ตัวแปรของปัญหาจะเยอะมากเป็นพันล้านตัวแก้ด้วย software ก็จะใช้เวลานานมาก ถ้าเราไม่ได้ใช้ software เราวางแผนโดยเราใช้ประสบการณ์ ผลที่ออกมาจะไม่ดีเท่า

อาจารย์บอกว่ามีวิธีแก้ปัญหาอยู่ที่ 2 อย่าง ใช้ software กับวิธีพิเศษ 2 วิธีต่างกันอย่างไรบ้าง

ในงานวิจัยเราเปรียบเทียบวิธีทำที่เราศึกษามากับการใช้ math model แก้โดย software ซึ่ง software ถือเป็น software ชั้นนำของโลก นักวิจัยส่วนใหญ่ใช้ทั้งอเมริกา และยุโรป วิธีการของเราคือ ศึกษาโครงสร้างของปัญหา ลักษณะที่เราศึกษาได้ สังเกตได้ เอามาใช้ขั้นตอนพิเศษ เป็นขั้นตอน Column Generation เพิ่ม Column ของปัญหาตามที่ต้องการ สมมุติอาจจะมี 200 column เราจะเริ่มที่ 100 column เพิ่มทีละ column ความใหญ่จะค่อยๆ เพิ่มตามที่จำเป็น

ในงานวิจัยของอาจารย์จะมีผลลัพธ์ระหว่างเส้นสีแดงและเส้นสีน้ำเงิน เดี๋ยวภาพจะจับหน้าจอให้ดู มีความแตกต่างกันอย่างไร และมีผลอย่างไรบ้าง

ที่พูดว่า software ระดับโลกก็คือเส้นสีแดงที่ใช้ ส่วนวิธีการที่เราทำจะเป็นเส้นสีน้ำเงิน เราจะเห็นว่าถ้าเราใช้ software ในการแก้ปัญหา ผลลัพธ์ที่ได้จะไม่ดีเท่าวิธีการเรา วิธีการที่เราทำ (พิธีกร เป็นเรื่องผลลัพธ์ที่ได้ที่ทางงานวิจัยชิ้นนี้ค้นพบว่าจะทำได้ดีกว่า) ทำได้ดีกว่า ต้นทุนต่ำกว่า และใช้เวลาที่รวดเร็วกว่า

ในงานวิจัยของอาจารย์ อาจารย์คาดหวังในอนาคตไหมว่าจะต่อยอดเป็นงานวิจัยชิ้นอื่นอย่างไรบ้าง

งานที่ทำในขณะนี้ยังเป็นในเชิงทฤษฎี คาดหวังว่าจะนำมาใช้ในงานจัดตารางของที่มีอยู่ในบ้านเรา เช่น การจัดตารางพนักงานพยาบาลในโรงพยาบาล ถ้าเราเอามาใช้ เราจะสามารถจัดจำนวนพนักงานได้ตามปริมาณ Demand Supply จะช่วยลดต้นทุน กำจัดสิ่งที่เกินในระบบออกไป (พิธีกร จากงานวิจัยในชิ้นนี้ก็พอจะสรุปได้ว่า งานวิจัยชิ้นนี้ใช้ Column Generator จะลดต้นทุนได้ในงานวิจัยชิ้นนี้)

มาพูดถึงการนำเสนอ ที่อาจารย์ได้รับรางวัลในส่วนของ Best Presenter ในการนำเสนองานชิ้นนี้ อะไรเป็นส่วนที่อาจารย์ได้รับรางวัลใน Best Presenter ครั้งนี้

ไปที่อินโดนีเซีย ไปล่วงหน้าก่อน 1 วันก็ไปเตรียมตัว ไปซึมซับบรรยากาศ ไปเยี่ยม บุโรพุทโธ ก่อนล่วงหน้า 1 วัน พอวัน present ก็ดูในห้องเห็นว่ามีนิสิตจากมหาวิทยาลัยมาฟังเยอะ รวมกับเราตื่นเต้นด้วย ตอนเริ่มต้นก็สร้างบรรยากาศให้เป็นธรรมชาติ ก็บอกก่อนเลยว่า จริงๆ ไปประทับใจมากเราก็พูดถึงจุดนั้น ถึงเวลา present งาน คือเราทำงานมาด้วยตัวเอง เราจะรู้ว่างานเราอะไรเป็นอย่างไร อธิบายไปตามธรรมชาติว่า จุดไหนที่เรารู้ จุดไหนที่เรายังขาด บางทีเราก็ต้องบอกข้อดีข้อเสียไปตามที่มีอยู่ เขาก็คงจะเห็นว่าเป็นงานที่ออกมาตามธรรมชาติ และสามารถใช้งานได้จริง

ในการนำเสนอผลงาน ต้องมีการนำเสนอให้คณะกรรมการด้วย เคล็ดลับในการนำเสนอที่โดนใจกรรมการ

มีผู้เชี่ยวชาญอยู่เยอะมาก ก็ออกความเห็นที่ตัวเองมีอยู่อาจจะไม่ตรงใจ เวลา present พูดสิ่งที่เราทำ อาจจะดู respond ของผู้ฟัง ปรับไปตามสถานการณ์ตอนนั้น (พิธีกร เทคนิคของอาจารย์ ไปล่วงหน้า ไปเตรียมข้อมูล อธิบายในส่วนที่เราทำไป จะพูดถึงสิ่งที่เราทำ จะดู respond ของผู้ฟังด้วย นี่คือเคล็ดลับในการนำเสนอผลงาน)

ขั้นตอนในการนำเสนอผลงาน กว่าจะได้ไปนำเสนอผลงาน มีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

งานวิจัยเราก็ทำล่วงหน้ามาเป็นระยะเวลาหลายเดือน เราก็ต้องมีการเขียน ต้องมีการ rewrite ให้อยู่ในระดับที่มั่นใจว่าได้ตามมาตรฐานการประชุม เราก็เตรียม powerpoint ไป present อาจจะต้องไปถึงสถานที่ล่วงหน้าไปดูว่า เรา present ห้องไหน เวลาก็อาจจะกระชั้นชิด ยิ่งถ้าเราเป็นคนแรกๆ ไปทำความรู้จักกับอาจารย์หรือคณะกรรมการ จะได้สร้างความคุ้นเคย และเผื่อว่าวันหลังได้ร่วมงานกัน อย่างที่ไปอาจารย์ที่นั่นก็ให้ความกรุณา อาจารย์ท่านเป็นผู้ใหญ่ให้ความเมตตา หลังจากงานก็พาไปชมเมือง และฝากฝังเผื่ออนาคต 2 มหาวิทยาลัย หรือทางภาควิชาหรือคณะจะได้มีความร่วมมือซึ่งกันและกัน

อยากจะให้อาจารย์แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับนักวิจัยรุ่นใหม่หรือนิสิตปริญญาเอก ที่จะต้องนำผลงานไปนำเสนอ ให้คำแนะนำกับน้องๆ หรือผู้ร่วมงานวิจัยที่จะนำผลงานไปนำเสนอ

งานวิจัยเราชิ้นใหญ่ ก็ดูว่าจุดไหนที่จะสามารถนำไปงานประชุมวิชาการได้ อยากจะเชิญชวนให้ไปในงานประชุมวิชาการในต่างประเทศเยอะๆ เราไปสร้าง connection ไปทำความรู้จักให้กับทั้งมหาวิทยาลัยเรา และประเทศเรา ไปบ่อยๆ จะสร้างความถนัดในงานนี้มากขึ้น จะเป็นธรรมชาติมากขึ้น (พิธีกร ข้อดีของการนำผลงานของเราไปนำเสนอผลงานที่ต่างประเทศจะเพิ่มความมั่นใจในงานวิจัยของเรา)

จะขอทราบถึงงานวิจัยของอาจารย์ในเวลาการทำวิจัย ใช้แหล่งข้อมูลใดบ้างในการทำวิจัย

ดูจากงาน เนื้อหา เกี่ยวข้องอะไรบ้าง ส่วนใหญ่จะใช้ google on แต่ google เราก็ต้องเข้าอินเตอร์เน็ตของเกษตรศาสตร์ เพราะว่าจะได้ฐานข้อมูลที่สามารถ access ได้

(พิธีกร งานวิจัยของอาจารย์ผู้สนใจสามารถติดตามได้ในฐานข้อมูล IEEE Explore ที่สำนักหอสมุดบอกรับด้วย)

อยากให้อาจารย์ช่วยพูดถึงสิ่งที่ได้รับจากการนำเสนอผลงานวิจัย มีประสบการณ์อย่างไร และสามารถนำไปต่อยอดกับวิชาชีพของอาจารย์ได้อย่างไรบ้าง

เราอยู่ในงานลักษณะที่ว่าเป็นอาจารย์และนักวิจัย อย่างไปงานนี้ก็หวังเป็นอย่างยิ่ง เขาก็หวังว่าจะจัดทุกปี วางแผนจะจัดทุกปี ก็หวังว่าจะส่งนิสิตไปได้ ครั้งแรกเราไปมาแล้ว น่าจะส่งไปได้ ดูจากลักษณะงานแล้วเราก็มาเตรียมตัว ถ้าเรามีงาน เราก็เชิญอาจารย์ที่นั่นมาได้ เขาก็จะมีกลุ่มสมาชิกของเขา ก็จะเกิดความร่วมมือซึ่งกันและกัน น่าจะพัฒนางานวิจัยให้เข้มข้นมากขึ้นมาได้

(พิธีกร สิ่งที่อาจารย์ฝากไว้อยากจะชักชวนนิสิต นักวิจัยรุ่นใหม่ๆ นำเสนอผลงานวิจัย นอกจากจะได้พัฒนาในวิชาชีพของเราแล้ว ก็ยังสร้าง connection กับสถาบันต่างๆ ได้ด้วย)

จะติดตามผลงานได้จากทางไหนบ้าง

มีเว็บไซต์ของตัวเอง google plus pat pakpoom น่าจะขึ้นมาอันแรก

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

 A Column Generation Approach for Personnel Scheduling with Discrete Uncertain RequirementsA Column Generation Approach for Personnel Scheduling with Discrete Uncertain Requirements

Principles of managerial finance

การบริหารพนักงานหลากหลายกลุ่มวัย

เคล็ดลับการวางแผนภาษี บัญชี และแรงงาน "สวัสดิการพนักงาน"

 

 


 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri