Kulib Talk #13
สีเรืองแสงเพื่อความปลอดภัยที่ดีขึ้น

สัมภาษณ์ : นางสาว ดลชนก ดรุณวรรณ ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
 
     ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดสิ่งประดิษฐ์ชิงทุนการศึกษาGo Further Innovation Scholarship 2018 ในระดับอุดมศึกษา ในหัวข้อ “เพื่อทุกชีวิตปลอดภัยบนท้องถนน”จากผลงานสีเรืองแสงเพื่อความปลอดภัยที่ดีขึ้นและยั่งยืน หน่วยงานที่ทำให้เกิดโครงการในครั้งนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง บริษัทFord ประเทศไทย บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด และ สมาคมประชากรพัฒนาและชุมชน

โครงการGo Further Innovation Scholarshipคือการประกวดอะไร มีระยะเวลาและเกณฑ์การตัดสินอย่างไรบ้าง?

     โครงการ Go Further Innovation Scholarshipเป็นโครงการเฟ้นหาสุดยอดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ โดยจัดให้นิสิตนักศึกษา และนักเรียนอาชีวะ ได้เข้าร่วมประกวดส่งผลงานชิงทุนการศึกษารวม 650,000 บาท โดย

รอบแรก : ส่งผลงานตั้งแต่วันที่ 15ส.ค. ถึงวันที่ 10ต.ค. และตัดสินรอบแรกในงันที่19 ต.ค.
รอบสอง : เป็นรอบบชิงชนะเลิศในวันที่24 พ.ย.และประกาศผลในวันนั้นเลย
 
พี่นีน่าได้รู้จักและมีความสนใจในการเข้าประกวดโครงการอย่างไร?

     พอดีพี่ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องสีเรืองแสงเพื่อความปลอดภัยที่ดีขึ้นและยั่งยืนพอดี แล้วอาจารย์ก็เห็นว่าสีของพี่มีเกณฑ์ตรงตามที่โครงการกำหนดเลยแนะนำมา
 
แนวคิดในการสร้างผลงานสิ่งประดิษฐ์สีเรืองแสงเพื่อความปลอดภัยที่ดีขึ้นและยั่งยืนหรือว่าGlowing Paint for Better and Sustainable Road Safety?

     ริ่มแรกเลยพี่ได้เข้าไปฝึกงานกับบริษัท เฌอร่า ซึ่งเป็นการร่วมมือกันระหว่างภาควิชาวิศวกรรมวัสดุและบริษัท เฌอร่า จัดร่วมกันเพื่อพัฒนานิสิตและงานวิจัยให้รับกับการเปลี่ยนแปลงของโลกและเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเป็นโอกาสที่ดี ทำให้พี่ได้รู้งานจริง และทำให้พี่ได้คิดค้นสีนี้ขึ้นมา

 

สีเรืองแสงเพื่อความปลอดภัยที่ดีขึ้นและยั่งยืนแตกต่างจากสีทาถนนปกติอย่างไร?

     สิ่งที่ทำให้มันแตกต่างจากสีปกติ อย่างแรกเลยคือเราได้เติมสารเพิ่มความสว่างลงไปนั่นก็คือสาร optical brightenerทำให้สีมีความขาวสว่างมากยิ่งขึ้น จะช่วยให้มองเห็นชัดเจนยิ่งขึ้นทั้งในเวลากลางวันและกลางคืน
 
อย่างที่พี่นีน่าได้บอกว่าได้เติมสาร3ชนิดลงไปในสีเพื่อเพิ่มความสว่างเลยอยากจะให้พี่นีน่าอธิบายเพิ่มเติมว่าสารทั้ง3ชนิดเป็นสารอะไรและมีคุณสมบัติอย่างไรบ้าง ?

     ชนิดแรกก็คือ Optical Brightenerซึ่งเป็นสารที่ทำให้ความขาวสว่างมากยิ่งขึ้น จะช่วยให้มองเห็นชัดเจน สารตัวต่อไปคือสารเรืองแสง ทำให้เรืองแสงในเวลากลางคืน ซึ่งการที่เราได้เติมสารoptical brightenerลงไปก่อนหน้านี้จะช่วยให้สารเรืองแสงชนิดนี้กักเกบพลังงานไว้ได้มากขึ้นและจะปลดปล่อยเป็นการเรืองแสงออกมาในตอนกลางคืนได้มากและนานยิ่งขึ้น ส่วนตัวสุดท้ายคือสารประกอบ Nano Silicaเมื่อเราเติมลงไปแล้ว หากมีไฟหรือไฟจากหน้ารถมากระทบกับสีของเราจะทำให้วิสัยทัศน์ในการมองเห็นสีดีมากยิ่งขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของสีทาถนนนั่นเอง
 
ขั้นตอนในการประดิษฐ์มีอะไรบ้าง?

     -ขั้นตอนแรกทำการนำสีทั่วไปมาเติมสารทั้ง3 ชนิดลงไป แล้วหาส่วนผสมที่ดีที่สุดเพื่อนำมาทดลองผลิตจริงในระดับอุตสาหกรรมซึ่งได้ทดลองผสมในห้องแลปของบริษัท เฌอร่า จำกัด (มหาชน)
 
ประโยชน์ชองผลงานชิ้นนี้มีอะไรบ้าง ในด้านของการใช้สี และประโยชน์ต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ?
        
     ในส่วนของประโยชน์ด้านการใช้งาน สีชนิดนี้สามารถใช้งานได้หลากหลายมาก เช่น การทาบนพื้นถนน หรือ การทาบนทางจักรยานในม.เกษตรศาสตร์ ส่วนการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สีชนิดผลิตจาดวัสดุที่ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมจึงแน่ใจได้ว่าปลอดภัยแน่นอนค่ะ

ในการทำงานพี่มีการหาความรู้จากแหล่งความรู้ใดบ้าง และมีการนำความรู้จากสาขาอะไรบ้างที่นำมาใช้ผลิตสิ่งนี้ขึ้นมา ?

     พี่ได้หาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตและฐานข้อมูลของหอสมุด และมีการค้นคว้าหา Text book เพื่อนำมาใช้อ้างอิงในงานวิจัยนี้ และใช้ความรู้ด้านวิศวกรรมวัสดุเป็นหลักค่ะ
 
ผลงานนี้มีทีมงานเป็นอาจารย์ที่ปรึกษา2ท่านด้วยกัน นั่นก็คือ ผศ.ดร.ปริญญา ฉกาจนโรดม และดร.วิชิต ประกายพรรณ ทั้งทีมนี้มีรูปแบบการทำงานร่วมกันอย่างไรบ้าง?

     ทั้งผศ.ดร.ปริญญา ฉกาจนโรดม และดร.วิชิต ประกายพรรณ คอยช่วยเหลือพี่ตั้วแต่ตอนฝึกงาน รวมถึงการวิจัย ขั้นตอนการทำงาน รวมถึงตอนประกวดเลยค่ะ นอกจากนี่ยังได้รับความช่วยเหลือจากภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และบริษัทเฌอร่าด้วยค่ะ และขอขอบคุณบริษัทFord ประเทศไทย จำกัด สมาคมพัฒนาประชากรและชุมชน และทีวีบูรพา ที่ได้ให้โอกาสในการประกวดสิ่งดีๆแบบนี้แก่นิสิตทั่วทุกพื้นที่
 
ประสบการณ์และการต่อยอดจากการแข่งขันในโครงการนี้?

     พี่ได้เรียนรู้การทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในมหาวิทยาลัย และในบริษัทเฌอร่า ซึ่งทำให้พี่ได้เรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ นอกจากนี้ สีของพี่ได้รับการพัฒนาต่อยอดในการทำเป็นสีทาบ้านเพื่อการประหยัดพลังงานด้วยค่ะ
 
นอกจากนี้พี่นีน่ายังมีผลงานหรือกิจกรรมอื่นๆอีกไหม?

     ส่วนใหญ่พี่ก็ทำกิจกรรมของมหาวิทยาลัยตามที่หมาวิทยาลัยกำหนด กิจกรรมอื่นๆ พี่ก็ได้เป็นสตาฟของสโมสรนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ด้วยค่ะ
 
สุดท้ายนี้อยากให้พี่นีน่าให้คำแนะนำกับน้องๆหรือนิสิตท่านอื่นๆในเรื่องของการสร้างสรรค์ผลงานดีเด่นหรือการเข้าร่วมแข่งขันกิจกรรมต่างๆด้วยครับ

     อยากจะเชิญชวนน้องๆพี่ๆเพื่อนๆทุกคนให้มาเข้าร่วมการประกสดกันเยอะๆ เพราะนอกจากเราจะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ประสบการณ์ใหม่ๆแล้วเราก็สามารถเพิ่มความคิดสร้างสรรค์ให้ตัวเองอีกด้วยนะคะ อาจจะเริ่มจากสิ่งเล็กๆ แต่สามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้ แค่คุณคิดที่จะเปลี่ยนก็ถือเป็นการเริ่มต้นที่ดีแล้วนะคะ และอยากฝากไว้อีกเรื่องนึงนะคะ ถ้าหากใครสนใจที่จะเข้ามาเรียนต่อที่ภาควิชานี้ ก็สามารถเข้ามาดูได้ที่เว็บไซต์ของภาควิชาได้นะคะ
 
คำถามจากทางบ้าน ถามมาว่าสีเรืองแสงสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอื่นๆอีกได้ไหม ?

     อย่างที่บอกนะคะ สามารถนำมาทาได้ทั้งในบ้าน นอกบ้าน และถนนต่างๆก็ทำได้ค่ะ หรือจะนำมาทาเป็นทางเดินนำทางให้ผู้สูงอายุตอนกลางคืนก็ทำได้เช่นกันค่ะ
 
สีเรืองแสงสามารถนำไปใช้กับอาคารหรือรั้วบ้านได้ไหม?

     ได้เช่นกันค่ะ หากต้องการเป็นรั้วบ้านที่ชัดเจนยิ่งขึ้นตอนถอยรถเข้าบ้านก็ได้ค่ะ
 
พี่นีน่ามีกิจกรรมยามว่างที่ทำระหว่างเรียนอะไรบ้าง?

     งานอดิเรกก็พวกการอ่านหนังสือการ์ตูน และก็มีเล่นดนตรีบ้างค่ะ

 
การทำการวิจัยแต่ละเรื่องเราต้องมีการเตรียมตัวอย่างไรบ้าง?

     เราต้องมีการสืบค้นข้อมูล ซึ่งในส่วนนี้เราต้องหาข้อมูลเยอะมากเลยค่ะ ซึ่งพี่โชคดีนะคะ ที่มีหอสมุดเป็นฐานให้หาข้อมูลได้มากมาย ช่วยในการอ้างอิงในการทำวิจัยได้เยอะมากเลยค่ะ
 
ปกติใช้ฐานข้อทูลใดในการค้นคว้าหาข้อมูล?

     ส่วนใหญ่พี่จะเข้าไปในเว็บไซต์ของหอสมุดแล้วเข้าไปที่ฐานข้อมูลScience Direct ค่ะ
 
สีเรืองแสงมีการนำมาใช้จริงหรือยัง?

     ตอนนี้เป็นการทดลองผลิตจริง และนำมาใช้จริงบางส่วนในโรงงานแล้วค่ะ
 
ทำไมพี่ถึงสนใจเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ?

     พี่รู้สึกว่าคณะวิศวกรรมศาสตร์เป็นคณะที่พี่ใฝ่ฝันมาตั้งแต่เด็กแล้ว และสาขาวิศวกรรมวัสดุเป็นอะไรที่แปลกใหม่มากๆเลย ไม่ค่อยเห็นที่ไหนเปิด พี่ก็เลยอยากเรียนเพราะเราจะได้รู้ถึงวัสดุต่างๆมากมายเลยค่ะ และก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานในทุกสาขาอาชีพเลยค่ะ
 
ผลงานที่พี่อยากจะสร้างต่อไปมีอีกไหมครับ?

     พี่ก็อยากจะต่อยอดผลงานของพี่นะคะ เป็นสีในรูปแบบอื่นๆน่ะค่ะ ตอนนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการคิดค้นอยู่

แหล่งข้อมูลทางด้านวิศวกรรมวัสดุที่ให้บริการในสำนักหอสมุด
คำค้น “Optical Brightener”, “Nano Silica” จากแหล่งข้อมูลเหล่านี้ที่ให้บริการในสำนักหอสมุด

  1. Knovelฐานข้อมูลหนังสือ คู่มือ บทความ และสมการทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ ครอบคลุมทุกสาขาวิชาทางด้านวิศวกรรม
  2. IEEE XPloreป็นฐานข้อมูลทีรวบรวมสารสนเทศจาก2 แหล่งข้อมูลคือThe Institute of Electrical and Electronics Engineers (IEEE) และ The Institution of Engineering and Technology (IET) ซึ่งใน IEL ประกอบด้วยเอกสารมากกว่า 1.2 ล้านรายการ จากสิ่งพิมพ์มากกว่า 12,000 รายชื่อ ให้ข้อมูลเอกสารฉบับเต็มตั้งแต่ปี 1988-ปัจจุบัน
  3. SciFinderเป็นแหล่งข้อมูลทางด้านเคมี ปฏิกิริยาเคมี องค์ประกอบทางด้านเคมี และสาชาที่เกี่ยวข้องกับเคมี เหมาะสำหรับนิสิต อาจารย์ และนักวิจัยทางด่านวิทยาศาสตร์ (เคมี) วัสดุศาสตร์ วิศวกรรมเคมี วิศวกรรมวัสดุ

ทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุดที่เกี่ยวข้อง

ชื่อเรื่อง

  1. วิศวกรรมวัสดุ: พฤติกรรมระดับโครงสร้างจุลภาพของวัสดุ / จาตุรงค์ บุญทันใจ
  2. Influence of Dual-layer and Triple-layer Remote Phosphor Package on Optical Properties of White LEDs.
  3. Respirometric Study of Optical Brighteners in Textile Wastewater.
  4. The Role of the Entropy Factor on the Adsorption of an Optical Brightener on Pulp.
  5. Aggregation Behavior of Nano-Silica in Polyvinyl Alcohol/Polyacrylamide Hydrogels Based on Dissipative Particle Dynamics.
  6. A Visible Colorimetric Fluorescent Probe for Hydrogen Sulfide Detection in Wine.
  7. Materials Engineering
  8. Computational Materials Engineering
  9. Concrete material science: Past, present, and future innovations.
  10. การถ่ายทอดนวัตกรรม : หลักการและรูปแบบ / ธันยา พิทธยาพิทักษ์, ธันยวิช วิเชียรพันธ์

 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri