KULIB Talk No.19 รางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันกรณีศึกษาทางบัญชีระดับประเทศ (Thailand Accounting Case Competition) จากสภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ โดย Dream team กลุ่มนิสิตคนเก่งจาก ภาควิชาบัญชี คณะบริหารธุรกิจ
วันนี้ได้รับเกียติจากนิสิต ทีม Dream team จากคณะบริหารธุรกิจ โดยพวกเขาได้รับรางวัลชนะเลิศจากการแข่งขันกรณีศึกษาทางบัญชีระดับประเทศ (Thailand Accounting Case Competition 2018) ครั้งที่ 2 วันเสาร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561 ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์เกียรติคุณ เกษรี ณรงค์เดช ชั้น 6 อาคารสภาวิชาชีพบัญชี โดยมีสมาชิกประกอบด้วย
- คุณจาตุรงค์ สีดา สาขาการบัญชี
- คุณอารัชพร สสุทธิ สาขาการบัญชี
- คุณศศิกุล จองสุ สาขาการบัญชี
- คุณนพรัตน์ สว่างเกียรติกุล สาขาการบัญชี
- คุณธีระทัศน์ ศิรฐิตินันท์ สาขาการจัดการ
- ดร.จารุภา วิภูภิญโญ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา
ทราบถึงการแข่งขันได้อย่างไร ร่วมไปถึงการรวมทีมกันอย่างไร เพราะว่ามาจากต่างสาขากันด้วย
ในส่วนของว่าเราทราบว่ามีการแข่งขันได้อย่างไร ก็คือ อาจารย์ก็จะเข้ามาประชาสัมพันธ์ทั้งในกลุ่ม facebook ของนิสิตภาควิชาบัญชี และมาพูดตามห้องเรียน ซึ่งพวกพี่สนใจอยากจะแข่ง ส่วนพี่บอลอยู่ภาคการจัดการ พี่ไปเรียนวิชาของภาคการจัดการเลยรู้จักกับบอลเลยชวนเข้ามาแข่งขันด้วยกัน
ทำไมถึงสนใจโครงการนี้
เคยแข่งพวกกรณีศึกษามาก่อน เรารู้สึกว่ามันให้ประโยชน์แก่เรา ทำให้เราได้ฝึกการทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำธุรกิจมากขึ้น เป็นการประยุกต์ความรู้ที่ได้จากห้องเรียนเข้ามาใช้จริง พอมีการแข่งขันนี้เราจึงรู้สึกอยากจะลงแข่งอีกครั้ง
พูดถึงกรณีการศึกษาทางบัญชี มีกติกาหรือเกณฑ์การตัดสินการแข่งขันอย่างไรบ้าง
สำหรับกติกาและเกณฑ์การตัดสินแบ่งออกเป็นรอบคัดเลือกและรอบชิงชนะเลิศ สำหรับรอบคัดเลือกก็จะให้ผู้เข้าแข่งขันส่งรายงานและสไลน์ไปให้คณะกรรมการพิจารณาก่อนจากนั้นคณะกรรมการจะคัดเลือกเข้ามา 15 ทีม พอมาถึงรอบชิงชนะเลิศก็ในรอบแรกก็จะให้นำเสนอกับกรรมการชุดย่อยก่อนแบ่งออกเป็น 5 สาย สายละ 3 ทีม จากนั้นก็จะนำที่ 1 ของแต่ละสายเข้ามาคัดเลือกหาที่ 1 ของการแข่งขันครั้งนี้
ทีม Dream team ได้นำเสนอหัวข้อ secondary market comparison case study “กรณีศึกษาบริษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยหรือ บตท.” คืออะไร มีหน้าที่ดำเนินการอย่างไรบ้าง
บริษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัยหรือ บตท. เป็นรัฐวิสาหกิจจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นตัวกลางระหว่างธนาคารกับบุคคลที่ต้องการจะขอสินเชื่อกู้บ้าน กระบวนการในการขอสินเชื่อประชาชนก็จะไปขอสินเชื่อกับธนาคาร ธนาคารก็จะพิจารณาสินเชื่อและก็ปล่อยสินเชื่อให้กับประชาชน เมื่อธนาคารให้เงินแก่ประชาชนแล้วอีกนัยหนึ่งธนาคารก็จะมีความเสี่ยงขาดสภาพคล่อง เพราะฉะนั้นบริษัทตลาดรองสินเชื่อถูกตั้งขึ้นมาเพื่อไปซื้อลูกหนี้คือคนที่ไปขอสินเชื่อโดยการจ่ายเงินสดให้กับธนาคารเหมือนเป็นการเติมสภาพคล่องให้กับตัวธนาคารเพื่อป้องกันการขาดสภาพคล่อง พอตัวบริษัทตลาดรองสินเชื่อซื้อลูกหนี้เข้ามาเขาก็จะเอาลูกหนี้ตัวนี้ไปออกเป็นหลักทรัพย์ทางการเงิน ออกจำหน่ายให้กับนักลงทุนทั่วไป เพื่อให้นักลงทุนได้เข้ามาซื้อและจ่ายเงินให้กับบริษัทตลาดรองสินเชื่อแล้วเขาก็จะนำเงินนี้กลับไปซื้อสินเชื่อจากธนาคารใหม่อีกรอบวนเป็น cycle ไปเรื่อย ๆ
ทาง Dream team ได้โจทย์มาคือให้วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นจากธุรกรรมของ บตท. ทั้งด้านที่เป็นการเงินและไม่ใช่การเงิน และปัญหาที่คาดว่าจะเกิดขึ้น อันเป็นผลจากการแก้ไข พ.ร.ก. บริษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2540 รวมถึงผลกระทบและการเตรียมความพร้อมของ บตท. ในการนำ TFRS 9 มาใช้ พร้อมเสนอแนวทางแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรมในประเด็นปัญหาข้างต้น ก็อยากจะถามพี่ ๆ ว่าปัญหาที่เป็นทั้งด้านการเงินและไม่ใช่การเงินมีอะไรบ้าง
ตัวบริษัทตลาดรองสินเชื่อเขามีปัญหาอะไรทำไมเขาถึงอยากได้มาเป็นกรณีศึกษาในครั้งนี้ ก็คือเมื่อเขารับซื้อสินเชื่อจากธนาคารมา ทีนี้มันมีปัญหาว่าคนที่มากู้ซื้อบ้านเขาไม่มีเงินไปชำระเงินให้กับธนาคาร ก็กลายเป็นว่า บตท. ไม่มีเงินที่จะได้รับจากลูกหนี้ บตท. มีปัญหาคือ ไปรับซื้อลูกหนี้จากธนาคารมาแปลว่า หลังจากนี้ลูกหนี้ที่ไปขอกู้เงินจากธนาคารก็ต้องมาจ่ายค่าเช่าบ้านให้กับ บตท. แทน ทีนี้ลูกหนี้ไม่สามารถจ่ายเงินให้กับ บตท. ได้ เกิดเป็นปัญหาหนี้เสียซึ่งเราเรียกว่า Non-performing debt คือหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ ทำให้ บตท. เกิดปัญหาขาดสภาพคล่องส่งผลต่อตัวธุรกิจหลักของ บตท. ตัวกรณีศึกษาก็ให้เราวิเคราะห์ว่า ปัญหามันเกิดจากอะไรทั้งใน part ปัญหาที่เป็นด้านการเงิน ปัญหาที่ไม่ใช่ด้านการเงิน ในส่วนของกฎหมายมีการแก้กฎหมายให้ตัว บตท. สามารถที่จะขยายขอบเขตในการทำธุรกิจได้มากขึ้น สำหรับปัญหาด้านการเงิน จะเล่าถึงกระบวนการก่อนว่า เมื่อซื้อสินเชื่อมาก็จะเอาลูกหนี้ไปออกเป็นหลักทรัพย์ขายให้กับนักลงทุน ทีนี้ตัวสินเชื่อบ้านมันมีอายุ 20 – 30 ปี เวลาคนไปขอซื้อบ้านจึงเป็นการผ่อนระยะยาว ขณะที่ว่าเอาลูกหนี้กลุ่มนี้มาแปลงเป็นหลักทรัพท์ออกจำหน่ายให้กับนักลงทุนมีอายุสั้นประมาณ 5 ปี ซึ่งมีปัญหาในการนำเงินมาชำระ ณ สิ้นปีที่ 5 ที่ต้องจ่ายเงินให้กับนักลงทุน เงินที่ต้องจ่ายมี 2 ก้อน คือ ดอกเบี้ย และเงินต้น ในขณะที่ฝั่งที่เราจะได้จากคนที่มาขอกู้ซื้อบ้าน เราจะได้แค่ดอกเบี้ยมาเท่านั้น มันทำให้เกิดปัญหาว่ารายได้ขารับจะมีแค่รายได้ดอกเบี้ย ในขณะที่รายได้ที่ต้องจ่ายออกไป ก็มีทั้งดอกเบี้ยและเงินต้นซึ่งมันทำให้เกิดปัญหาในการที่ บตท. จะขาดสภาพคล่องได้ สำหรับปัญหาที่ไม่ใช่ด้านการเงิน เรากังวลว่า บตท. อาจจะต้องเผชิญหน้ากับความอยู่รอดขององค์กรเพราะว่า หนี้ที่ บตท.รับซื้อเข้ามา เป็น NPL ค่อนข้างสูง และต่อมาเรื่องเกณฑ์การรับซื้อสินเชื่อของ บตท. ยังไม่พิจารณาถึงความสามารถในการชำระหนี้ในอนาคตได้และจากนั้น บตท. รับซื้อสินเชื่อเข้ามา ข้อมูลของลูกหนี้บางอย่างไม่ถูกจัดให้อยู่ในรูปแบบเดียวกันหรือมีข้อมูลสูญหายก็ยากต่อการนำไปใช้นำไปวิเคราะห์ได้
ปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการแก้ไข พ.ร.ก. ของบริษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย พ.ศ. 2540
จากการแก้ไข พ.ร.ก. ของบริษัทตลาดรองจะทำให้บริษัทตลาดรองเองสามารถขยายการทำธุรกรรมได้มากขึ้น คือเขาสามารถจัดซื้อสินเชื่อได้จากสถาบันที่ไม่ใช่สถาบันการเงิน เช่น ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ (เช่น land & house) เขายังสามารถซื้อสินเชื่อจากสถานบันที่ปล่อยสินเชื่อที่มาขนาดเล็ก ทำให้มีโอกาสที่จะซื้อหนี้ที่เสียเข้ามาใน บตท. ได้มากขึ้นกว่าเดิม ทำให้สินทรัพย์ที่เอามาค้ำประกันในการออกตราศาสตร์ กระแสเงินสดที่เขาได้รับมาอาจจะไม่เพียงพอที่จะมาจ่ายชำระคืนแก่เรา ปัญหานี้ก็จะเกิดขึ้นจากการรับซื้อสินเชื่อจากสถาบันที่ไม่ใช่ทางการเงิน
ผลกระบทหรือว่าการเตรียมความพร้อมของ บตท. ในการนำ TFRS 9 มาใช้มีอะไรบ้างและมีผลกระทบด้านอื่นอีกไหม
TFRS 9 เดิมทีแล้ว บริษัทตลาดรอง หรือ บตท. เขาจะต้องทำตามเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทยด้วย คือ โดยปกติแล้วจะจัดชั้นลูกหนี้เป็น 5 ชั้น ถ้าสมมุติว่าTFRS 9 ที่จะนำมาใช้ใหม่ก็จะต้องจัดลูกหนี้เป็น 3 ชั้นแทนซึ่งในการตั้งสำรองหนี้โดยปกติทางธนาคารจะตั้งสำรองหนี้ดูข้อมูลว่าลูกหนี้ค้างชำระเมื่อไหร่เรียกการตั้งสำรองนี้ว่า inter long modal เมื่อ TFRS 9 นำมาปรับใช้การตั้งสำรองจะเป็นลักษณะ looking for work นำปัจจัยทางด้านเศษรฐศาสตร์มองถึงความสามารถในการชำระเงินของลูกหนี้ในอนาคตมาเป็นเกณฑ์ในการตั้งสำรอง ทำให้ในส่วนสำรองที่ บตท. ที่จะต้องตั้งมีปริมาณที่สูงขึ้น เนื่องจาก TFRS 9 เป็นมาตราฐานใหม่ที่มีเฉพาะทำให้จะต้องมีผู้ที่เชี่ยวชาญในการคำนวณการด้อยค่าหรือว่าการที่เราจะต้องคือเขาจะต้องการนักสถิติเข้ามาช่วยในการคำนวณด้วยและยังมีข้อมูลต่าง ๆ ที่ทาง บตท. จะต้องใช้มากขึ้นในการนำ TFRS 9 มาใช้
มีการนำเสนอแผนแนวทางนโยบายเชิงการจัดการองค์กรและในเชิงการพัฒนาและปรับปรุงระบบการดำเนินงานขององค์กรอย่างไร
สำหรับข้อเสนอแนะในเชิงนโยบายขององค์กร ปัญหาที่เป็นปัญหาด้านการเงินเราเสนอ 2 ข้อหลัก ๆ คือ จากเดิมที่ บตท. จะต้องไประดมเงินทุนจากตลาดตราศาสตร์หนี้ด้วยการออกตราศาสตร์หนี้ออกไปก็เสนอให้ไประดมทุนในตลาดตราศาสตร์ทุนเพิ่มขึ้นซึ่งจะช่วยลดปัญหารายได้ขารับของ บตท. กับรายได้ขาจ่ายที่มันไม่สมดุลกัน ส่วนปัญหาที่ไม่ใช่ปัญหาในด้านการเงินเราจะเน้นไปจัดการระบบภายในของ บตท. มากขึ้น สำหรับแนวทางแก้ไขภายในองค์กรเราก็มองว่าทาง บตท. เองควรจะนำข้อมูลประวัติการชำระเงินของลูกหนี้จากทะเลดิโบโลมาพิจารณาร่วมกับ 3 เกณฑ์ ที่เขามีอยู่เดิมเพื่อวิเคราะห์ถึงภาพการชำระหนี้ในอนาคตของลูกหนี้รายนั้น ๆ หลังจากนั้นก็จะนำเทคโนโลยี OCR หรือ objet all caracter rescorition นำมาใช้โดยการแปลงข้อความไฟล์เอกสารให้เป็นข้อความอัตโนมัติ เพื่อลดข้อผิดพลาดในการจัดรูปแบบข้อมูลและก็ลดความผิดพลาดของข้อมูลไม่ถูกต้อง ส่วนการแก้ปัญหาในระยะกลางได้เลือกแอปพลิเคชันมาใช้ในการแก้ไขปัญหานี้ เนื่องจากเราไปดูสถาบันการเงินต่าง ๆ มีวิธีการเข้าถึงลูกค้าอย่างไงที่จะทำให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการกับทางธนาคารอีกรอบหนึ่ง ดังนั้นเรามองเห็นแล้วว่าในปัจจุบันแอปพลิเคชันจะเข้าถึงตัวลูกค้าได้มากที่สุด และหลังจากนั้นในแอปพลิเคชันของเราจะแบ่งออกเป็น 2 ฝั่ง คือ ในการที่จะช่วยให้ บตท. ลดในเรื่องของ NPL ได้และช่วยในเรื่องของลูกหนี้ก็คือลูกหนี้จะสามารถซื้อของในราคาที่ถูกลงหรือว่ามีส่วนลดดอกเบี้ยหนี้
ในการแข่งขันในครั้งนี้ใช้เครื่องมืออะไรบ้างในการค้นหาข้อมูล ไม่ว่าจะเป็นทางฐานข้อมูล แหล่งข้อมูล ศึกษาจากแหล่งที่ไหนบ้าง
เริ่มแรกจากที่เราได้รับ case มา เราก็เริ่มจากค้นข้อมูลที่หอสมุดก่อนเกี่ยวกับสินเชื่อและ บตท. คืออะไร เพื่อให้เราทำความเข้าใจตัวธุรกิจให้มากขึ้น และอีกแหล่งข้อมูลหนึ่งที่เป็นแหล่งข้อมูลใหญ่เลยคือตามอินเทอร์เน็ต ก็ค้นหาตามประเด็นที่เป็นประเด็นด้านการเงินและไม่ใช่ด้านการเงิน และอีกแหล่งหนึ่งที่สำคัญคือบทความ article จากตัวของบริษัทที่เขาเป็น บริษัทคอนเซาท์ติ้ง ที่ให้คำแนะนำในการแก้ไขปัญหาให้แก่ลูกค้า ในส่วนของแอปพลิเคชันแหล่งข้อมูลเราก็จะหาข้อมูลใน google และผู้เชี่ยวชาญ migdata คืออะไร ใช้อย่างไง พอเราได้ข้อมูลมาแล้วเราก็ทำการหาข้อมูลเกี่ยวกับสถาบันการเงินต่าง ๆ แอปพลิเคชันนั้นเขามา function อะไรบ้าง และเข้าไปดูว่า SCB, K-bank, AMA มี function อะไรบ้าง แล้วเราก็ดูว่า function ไหนที่เข้ากับสถานการณ์ของเรามากที่สุด เราก็จะเลือกใช้ function นั้นมาใช้ในการแก้ไขปัญหา
ในการแข่งขันครั้งนี้ให้อะไรแก่เราบ้าง
คุณธีระทัศน์ ศิรฐิตินันท์; สำหรับผมนะครับ ไม่รู้เรื่อง TFRS 9 หรือ ทางบัญชีเลย แต่ว่าสิ่งที่ได้เรียนรู้มาจากอาจารย์คือ วิธีการมองด้านธุรกิจว่าเราจะมองธุรกิจในภาพกว้างอย่างไรและเราจะใช้ในการแก้ปัญหาอย่างไร เมื่อเราเรียนรู้จากในห้องเรียนแล้ว การทำ case เป็นการนำความรู้นั้นมาใช้จริงและเพื่อให้ต่อยอดจากความรู้ที่เรามีอยู่ออกไปได้ไกลกว่านี้ ในเรื่องของ teamwork ทำให้เราได้ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ตอบโต้กับคนอื่นเขามีความคิดอย่างไงที่ไม่เหมือนกับภาควิชาของเรา ทำให้ในอนาคตเราสามารถทำงานกับคนอื่นได้ง่ายขึ้น
คุณศศิกุล ทองสุข; ในเรื่องของ teamwork เหมือนกันในการทำงานทุกครั้งที่จะให้งานนั้นประสบความสำเร็จ teamwork เป็นเรื่องสำคัญ บางอย่างเรามีความคิดเห็นไม่ตรงกันแต่เมื่อเราลองมา discuss กันหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันก็นำไปสู่ solution ที่เหมาะสมและก็ที่ดีได้ และก็อีกเรื่องหนึ่งก็เป็นเรื่องของความรู้ใหม่ ๆ ที่เราได้จากการทำ case นี้อย่างตัวพี่เองเรียนบัญชีความรู้ก็จะเป็นลักษณะบัญชีซะส่วนใหญ่แต่เมื่อเราได้ลองหาข้อมูลทางด้านไอที ทางด้านการเงิน การทำความเข้าใจให้ถ่องแท้และนำมาปรับใช้นำมาหา design หารูปแบบใหม่ ๆ ให้เข้ากันก็จะนำไปสู่ solution ที่ดีได้เหมือนกัน
คุณจาตุรงค์ สีดา ; สำหรับผลก็ได้ความรู้หลัก ๆ 2 อย่าง ก็คือการทำงานเป็นทีม และความรู้ในห้องเรียนก็จะมีจำกัดจากอาจารย์ในระดับหนึ่งทีนี้ถ้าเราอยากจะเรียนรู้เพิ่มก็ case ก็จะช่วยให้เราอยากศึกษามากขึ้น ส่วนทักษะการทำงานเป็นทีมอยากจะขอเพิ่มเติมจากเพื่อนก็จะเป็นในเรื่องของการฝึกการสื่อสารการแสดงความคิดเห็นซึ่งเป็นสิ่งที่เราควรจะได้รับการฝึกก่อนไปทำงานจริง
คุณนพรัตน์ สว่างเกียรติกุล; สำหรับพี่ก็ไม่ต่างจากทุกคนอยากจะขอเสริมก็คือสิ่งที่ได้คือ การเผชิญหน้ากับความกลัว การเริ่มทำสิ่งใหม่ ๆ การเจอกับคนเยอะ ๆ บางครั้งมันทำให้รู้สึกว่าน่ากลัว พี่ก็ลองคิดว่าถ้าสมมุติพี่ไม่ลองก้าวออกมาจาก zone นั้นดูมันก็จะไม่มีอะไรเปลี่ยนไปจากเมื่อวาน พี่ก็แค่ลองทำพอได้ทำพี่ก็คิดว่ามันเป็นสิ่งที่คุ้มที่เราตัดสินใจและก็ลงมือทำ รางวัลเป็นเพียงแค่ผลพลอยได้ที่เราได้มา แต่จริง ๆ สิ่งที่เราได้คือ ประสบการณ์ เพื่อน และมิตรภาพจากทุก ๆ คน ในทีม
แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ
- Secondary Market Liquidity and Security Design: Theory and Evidence from ABS Markets.
- The Secondary Market for Life Insurance in the United Kingdom, Germany, and the United States: Comparison and Overview.
- An analysis of the primary and secondary housing market in Poland: evidence from the 17 largest cities
- Loan Sales and Bank Liquidity Management: Evidence from a U.S. Credit Register.
- Valuation Efficiency of Secondary Markets for Formerly Illiquid Assets: The Case of German KG Ship Funds.