KULIB Talk: รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 โครงการ Booster Bond for Startup
นางสาวปริณดา กระโจมแก้ว (ใบพลู): นิสิตชั้นปี ที่ 3 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ได้มาร่วม Live ผ่านทาง facebook ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ www.facebook.com/kulibpr เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2561 โดยมาพูดถึง โครงการ Booster Bond for Startup ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 พร้อมเงินรางวัลมูลค่า 100,000 บาท และโล่รางวัลในการแข่งขันทางวิชาการของ PDMO Camp 2018 ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยว่า ใบพลูรู้จักโครงการภาพลักษณ์ที่ดีของหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ
*****************************************************************************************
โครงการภาพลักษณ์ที่ดีของหนี้สาธารณะของสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติที่ดีต่อหนี้สาธารณะ และเพื่อพัฒนาศักยภาพของนิสิตและนักศีกษาทั้งทางด้านวิชาการและการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ และเลือกนักศึกษา 70 คนเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
หนี้สาธารณะถือเป็นหนี้ของประชาชนทุกคนในประเทศ ประเทศต่างๆล้วนมีหนี้สาธารณะทั้งนั้นดังเช่นประเทศที่เป็นรัฐสวัสดิการอย่าง ฟินแลน ประเทศที่มีอันดับความสามารถในการแข่งขันอันดับต้นๆ (จัดโดยworld economic forum) และยังเป็นประเทศที่มีความสุขมากที่สุดในโลก มีหนี้สาธารณะประมาณ 63%ต่อGDP ส่วนทางด้านประเทศไทยนั้นประมาณ 40%ต่อGDP ดังนั้นการบริหารหนี้สาธารณะจึงจำเป็นมาก และสำหรับวัตถุประสงค์ที่ต้องมีหนี้สาธารณะเนื่องจาก
- รัฐบาลจะนำไปใช้ในการรักษาเสถียรภาพในประเทศ
- นำไปใช้ในการรักษาเสถียรภาพนอกประเทศ
- ใช้จ่ายในกิจการฉุกเฉิน
- ชดเชยงบประมาณที่ขาดดุล
- ใช้ในการลงทุนตามโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
- เพื่อนํามาหมุนเวียนใช้หนี้เก่า
โครงการที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ : โครงการ Booster Bond for Startup ประกอบไปด้วยรายละเอียดดังนี้
- Definition : Startup คือกลุ่มธุรกิจที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเข้ากับการดำเนินงานของธุรกิจ Startup โดย Startup สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ 1 คือกลุ่ม pre-startup คือขั้นที่ยังไม่ได้ดำเนินธุรกิจจริง และความคิดยังอยู่ในหัวอยู่เลย ต่อมาขั้นที่ 2 ขั้น startup คือขั้นที่ดำเนินธุรกิจมาระยะหนึ่งและสามารถสร้างผลตอบแทนได้แล้ว ซึ่งธุรกิจ startup ภายในขั้นนี้ ที่มีความน่าสนใจสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกันคือ 1. Agri food 2. กลุ่ม Travel tech 3. Health tech ซึ่งรวมผู้ประกอบการทั้ง 3 กลุ่มมีกว่า 120 ราย ขั้นที่ 3 คือขั้น Growth คือขั้นที่ startup ดำเนินมาระยะหนึ่งและมีกำไรถึงจุดอิ่มตัว
- Action Plan : สบน มานำเสนอโครงการ ที่ชื่อว่า Booster bond เป็นโครงการที่จัดหาแหล่งเงินทุนให้กับธุรกิจ Startup ที่ต้องการจะขยายกิจการไปให้ถึงขั้น Growth แต่ไม่มีเงินทุนในการขยายกิจการ อีกทั้งโครงการนี้ยังถือเป็นทางเลือกใหม่ของนักลงทุนที่สามารถนำเงินมาลงทุนด้วยความเสี่ยงที่ต่ำได้อีกด้วย
- Process :
แบ่งออกเป็นผู้เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย
ส่วนที่ 1 คือ startup ที่ต้องการแหล่งเงินทุนเพื่อที่จะเติบโตไปสู่ขั้น Growth
ส่วนที่ 2 คือหน่วยงานรัฐบาลที่ทำหน้าที่เป็นคนกลาง
ส่วนที่ 3 คือนักลงทุนที่มีทั้งเงินและมีความสนใจที่จะลงทุนในธุรกิจ startup
กระบวนการนี้เริ่มจากผู้ประกอบการ startup ที่มีทั้งไอเดียและมีการดำเนินงานมาแล้วแต่มีเงินไม่พอจะไปหาเงินเองก็ยากลำบากและต้องเผชิญกับต้นทุนทางการเงินที่สุดเพราะเจ้าหนี้ไม่มั่นใจว่า startup นั้นจะรอดหรือ หรือว่าจะร่วงหรือไม่
ดังนั้นหากเปลี่ยนวิธีให้นักลงทุนหันมาหารัฐบาล รัฐบาลหรือหน่วยงานที่มีความสามารถในการจัดหาเงินทุน เช่นสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ หรือว่ากรมส่งเสริมอุตสาหกรรมต่างๆ ร่วมมือกันผลิตออกมาเป็นตราสารที่เป็นเหมือนสื่อกลางในการเข้าหานักลงทุนที่สนใจ และนักลงทุนจะออกเงินในการซื้อพันธบัตรนี้ไป
เมื่อซื้อพันธบัตรนี้ไปแล้วสิ่งที่รัฐบาลได้รับมาก็คือเงินก้อนหนึ่งรัฐบาลก็จะนำเงินก้อนนี้ไปปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการ startup อีกต่อนึง โดยนักลงทุนจะได้ผลตอบแทนจากพันธบัตรเป็นดอกเบี้ย 2 อัตราเหมือนกับขั้นบันไดอัตราแรกคืออัตราที่ผลประกอบการของธุรกิจไม่ได้ดีเท่าที่ควรจึงจ่ายอัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยอาจจะไม่สูงเท่าไหร่แต่ข้อดีก็คือรัฐบาลจะประกันเงินต้นให้ยังไงเงินต้นก็ต้องไม่ศูนย์แน่นอน และยังได้อัตราดอกเบี้ยเล็กๆน้อยๆติดมือกลับบ้านไปด้วยนะคะ
อัตราที่สองก็คือหากธุรกิจมีผลประกอบการที่ดีจะส่งผลทำให้ตัวรัฐบาลเองเมื่อปล่อยกู้ดอกเบี้ยระหว่างที่ให้ผู้ลงทุนกับอัตราดอกเบี้ยที่ปบ่อยเองย่อมเกิด space รัฐบาลอาจจะยอมบีบ space ของตัวเองลงมาเพื่อที่จะสามารถจ่ายดอกเบี้ยให้นัดลงทุนได้มากขึ้น
ดังนั้นวิธีนี้จะทำให้เกิด Incentive ในตัวของนักลงทุนให้ช่วยมอนิเตอร์กิจการและก็อาจจะสนับสนุนทั้ง Technology และความรู้ของ Startup ที่ตนเองไปซื้อ bond ดังนั้น การทำเช่นนี้จะส่งผลทำให้Startup เติบโตถึงเป้าหมายและผลตอบแทนที่ได้เพิ่มขึ้น ดังนั้น เมื่อStartupได้ผลประกอบการที่ดีแล้ว เราจะต้องให้เขาจ่ายเงินเข้ากองทุนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง 5 ปี 10 ปีในอัตราส่วนอัตราส่วน 1 หน่วยงานในส่วนนี้เราจะบริหารจัดการเป็นกองทุนและกองทุนนี้จะนำไปช่วยเหลือStartupกลุ่มอื่นๆต่อไปต่อไปเป็นลูกโซ่
กระบวนการของเรายังสอดคล้องกับ SDGs Sustainable Developement Goals หลักๆ คือข้อ 9 เพราะว่าการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพนั้นจะทำให้Startupเติบโต ซึ่งจะไปส่งเสริมด้านนวัตกรรมอุตสาหกรรม และโครงสร้างพื้นฐานตามเป้าหมายข้อ 9 นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นเศรษฐกิจเติบโตตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อที่ 8 ผู้ประกอบการ Startup มักเป็นคนในท้องถิ่นก็ทำให้เกิดการเติบโตในท้องถิ่นภาคกทำให้เกิดการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมและให้ความสุขกับทุกคนอย่างเสมอภาค ตรงตามเป้าหมายข้อ 10 นั่นเอง
- ความเชื่อมโยงกับ Startup ของยุทธศาสตร์ชาติ
นอกจากนั้น Startup ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจและสังคมและยังเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีอีกด้วย กล่าวคือข้อที่หนึ่ง Startup ลดปัญหา pain point ทางสังคมคือปัญกาความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้และ เพิ่มโอกาสในการทำงานที่มากขึ้น ข้อที่สองก็คือ เพิ่มการจ้างงานและเพิ่มการลงทุนแบบ Exponential ดังนั้นทั้งสองข้อนี้จึงเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีในเรื่องของความเสมอภาคทางสังคมลดความเหลื่อมล้ำ ข้อที่ 3 Startup จะส่งผลทำให้การเพิ่มขึ้นของ Innovation technology และ productivity ข้อที่4 Startupจะทำ ให้เกิดการใช้เงินทุนที่ลดลงแต่ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ดังนั้นก็จะเห็นว่าข้อ 3 และข้อ 4 เชื่อมกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีในเรื่องของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศดังนั้นก็จะเห็นว่า Startup จะส่งผลต่อสังคมโดยรวม
- Summary
สรุปว่า การออก bond ของรัฐบาลจะส่งผลกระทบกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 4 เป้าหมายหลักๆและการออก bond ยังทำให้ startup มีเงินทุนในการลงทุนในด้านนวัตกรรรมให้เติบโตขึ้นไปอีก อีกทั้งส่งผลต่อประเทศให้มีเทคโนโลยีใหม่ๆเพิ่มมากขึ้น ต่อไป Startup ก็อาจเดิบโตไประดับภูมิภาค และระดับโลกรวมถึงส่งผลให้มีความสนใจในการลงทุนใน Startup มากขึ้นด้วย สุดท้ายการว่างงานก็จะลดน้อยลง ความเหลื่อมล้ำก็จะน้อยลงตามไปด้วย
จาก KU Library Catalog |
คำค้น “Start Up” |
5. Start your own seminar production business : your step-by-step guide to success |
6. Entrepreneurship and small business : start-up, growht and maturity / Paul Burns |
คำค้น “หนี้สาธารณะ” |
9. หนี้สาธารณะกับความยั่งยืนทางการคลังของประเทศไทย / ฉัตรชัย พุทธสินธุ์ |
คำค้น “Public debt” |
ฐานข้อมูลทางด้านเศรษฐศาสตร์
- Business Source Complete
- EconLit™ with Full Text
- World Scientific eBooks
- 2ebook Digital Library ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาษาไทย
- ABI/INFORM