ChatGPT: แชทบอทที่ช่วยจำลองโมเดลภาษา GPT

 

ผู้เรียบเรียง

ชนารัตน์ บุณยรัตพันธุ์

นักเอกสารสนเทศชำนาญการ ฝ่ายบริการ

สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

 

โลกปัจจุบันนี้ก้าวหน้าไปมาก แม้จะมีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยนานแล้วก็ตาม แต่ก็ยังคงมีการพัฒนาสิ่งต่างๆ อยู่อย่างต่อเนื่องมาจนถึงทุกวันนี้ และยิ่งมีการพัฒนาระบบ โปรแกรมอะไรเพิ่มขึ้น ก็ยิ่งมีแนวโน้มที่เทคโนโลยีเหล่านี้จะมาแทนที่การทำงานของมนุษย์ได้เพิ่มขึ้นเช่นกัน ดังเช่น แชทบอทที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้ได้กลายเป็นตัวช่วยในการตอบคำถามในการทำงานของผู้คนได้ เพียงแต่อาจยังดูเป็นหุ่นยนต์อยู่ ที่ช่วยในเรื่องของการให้ข้อมูลได้ในเบื้องต้นเท่านั้น แต่ล่าสุดได้มีการพัฒนาโปรแกรม AI ที่เสมือนมนุษย์จริงมากขึ้น เรียกว่า ChatGPT จนเริ่มทำให้หลายอาชีพอาจไม่จำเป็นต้องใช้มนุษย์ในการปฏิบัติงานแล้วได้ ซึ่งถือเป็นเรื่องที่น่าสนใจและควรให้ความสำคัญในขณะนี้ เพื่อที่จะได้เตรียมพร้อมรับมือและปรับตัว

 

ที่มา : the-decoder.com

 

ChatGPT คือ ตัวแชทบอทที่ช่วยจำลองโมเดลภาษา GPT (Generative Pre-trained Transformer) ที่พัฒนาโดยบริษัท OpenAI ซึ่งบริษัทนี้จะมุ่งเน้นพัฒนางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ AI และเผยแพร่เอกสารมากมาย มุ่งเน้นงานวิจัยใน 3 ด้าน คือ แมชชีนเลิร์นนิง (Machine learning) วิทยาการหุ่นยนต์ (Robotics) และเศรษฐศาสตร์(Economics) ทั้งนี้จากการที่ได้เริ่มมีการนำ ChatGPT ไปใช้งานบ้างแล้วนั้น พบว่าคำตอบบางส่วนของ AI ยังไม่สามารถตอบได้ตรงกับความต้องการทั้งหมด หรือเป็นคำตอบที่ไม่ถูกต้องมากนัก จึงทำให้เกิดความสับสนได้ อีกทั้งส่วนใหญ่ผู้ใช้บริการที่ต้องการคำตอบ จำเป็นต้องเปลี่ยนคำถาม คำสำคัญ (Keyword) หรือรูปแบบประโยคคำถามหลายอย่าง เพื่อให้ AI ตอบได้ แต่ก็ยังไม่ค่อยได้ผลนัก จึงส่งผลให้ยังคงมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบันที่เริ่มมีการแก้ปัญหาส่วนนี้ได้เพิ่มขึ้นแล้ว

           โดยปกติ ChatBot มีมานานแล้ว แต่ ChatGPT มีความน่าสนใจที่แตกต่างกว่ามาก กล่าวคือ มีการตอบกลับได้อย่างเป็นธรรมชาติเหมือนมนุษย์มากกว่าเดิม มีการรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูล และประมวลผล ถามคำถามกลับ เพื่อช่วยในการให้ข้อมูลตอบกลับได้ ซึ่งส่วนนี้ ทำให้หลายอาชีพในโลกอนาคตอาจสูญหายไปได้ เพราะหลายอย่างนอกจากจะถูกแทนที่ด้วยหุ่นยนต์แล้ว ยังจะถูกแทนที่ด้วยระบบ AI ในการทำงาน ที่อาจไม่ต้องพึ่งตัวบุคคลอีกก็เป็นได้ แม้ว่าจะยังคงมีปัญหาอยู่บ้าง เช่น ยังไม่สามารถตอบกลับคำถามที่ง่ายบางคำถามได้ในทันที หรือคำตอบที่ได้ อาจยังไม่แน่นอน ไม่ได้ถูกต้องทั้งหมด รวมถึงอาจมีการใช้คำฟุ่มเฟือยมากเกินไปนั้น แต่หากมองภาพรวมแล้วก็ยังถือว่าทำได้ดี เพราะสามารถแทนที่คนได้อย่างไม่เป็นที่น่าสงสัย และไม่ใช่เพียงอาชีพที่ใช้แรงงานเท่านั้น อาชีพที่แม้จะเป็นงานวิชาการหลักๆ หรือแม้แต่อาชีพทางด้านงานศิลป์ AI เหล่านี้ก็เริ่มทำแทนได้แล้วเช่นกัน ฉะนั้นคนจึงควร Upskill และ Reskill อยู่อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ยังคงทำหน้าที่ได้ดีกว่า AI หรือ ChatGPT ที่นำมาใช้นี้

            ChatGPT มีความคล้ายคลึงกับ Google Bard ซึ่งผลิตโดยบริษัท Google แต่ก็มีส่วนที่ต่างกันคือ ChatGPT เน้นรูปแบบสนทนามากกว่า ตระกูลของโมเดลของ GPT จะแตกต่างกันในด้านของความจุ และราคา โดยที่สามารถปรับแต่งโมเดลพื้นฐานสำหรับการใช้งานในกรณีเฉพาะด้านด้วย fine-tuning ได้ โดยโมเดล GPT-3 นั้น ถือเป็นรุ่นที่ 3 ของ GPT Series ที่มีความสามารถในการทำความเข้าใจ และสร้างภาษาธรรมชาติได้ โดยหลักๆ จะมีอยู่ 4 รุ่น เหมาะสำหรับการใช้งานที่แตกต่างกัน ดังนี้

  1. Davinci เป็นโมเดลที่เน้นการทำงานแบบซับซ้อน ถือว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุด ส่วนใหญ่ใช้กับการประมวลผลเฉพาะกลุ่ม แต่จะใช้ทรัพยากรมากในการประมวลแต่ละครั้ง ซึ่งอาจทำให้ล่าช้า
  2. Curie เน้นจำแนกความรู้สึก และการให้บริการตอบคำถาม
  3. Babbage เน้นการจัดหมวดหมู่ เชื่อมโยง ค้นเอกสารให้ตรงกับข้อความ
  4. Ada เป็นโมเดลที่เร็วที่สุด เพราะใช้ทำงานในจุดที่มีความแตกต่างเล็กน้อยเท่านั้น เช่น การแก้ไขที่อยู่ เป็นต้น

            ทั้งนี้ ธุรกิจ หรืองานทางด้านต่างๆ ก็สามารถนำระบบ ChatGPT นี้ไปใช้ได้ โดยจะเป็นการใส่ข้อมูลไปในจำนวนที่มาก และระบบ ChatGPT นี้จะดึงข้อมูลจากที่เราป้อนไปประมวล แล้วนำไปเป็นคำตอบตามที่เราต้องการได้ เป็นต้นว่า ในการโต้ตอบกับลูกค้าจากการที่ใส่ข้อมูลคำถามพบบ่อย หรือการเขียนคอนเทนต์ต่างๆ ที่น่าสนใจ ซึ่งภายหลังนี้ก็ได้มาจาก AI กันเพิ่มขึ้น โดยรูปแบบการทำงานของ ChatGPT ที่อาจเป็นไปได้ คือ การตอบกลับทางอีเมล การสร้างเอกสาร การวิเคราะห์ข้อมูล ฝ่ายบริการลูกค้า การจัดการโครงการ แนวคิดทางธุรกิจ การสร้างรหัสและการแก้ไขจุดบกพร่อง และสร้างเอกสารประกอบหรือบทช่วยสอนต่าง ๆ ซึ่งสิ่งที่ยังทำได้ไม่ดีนัก จะเป็นพวกคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน การเขียนโค้ดขั้นสูง หรือพวกการอ้างแหล่งที่มา

            ข้อแนะนำในการทดลองใช้โปรแกรม ChatGPT ที่แม้ว่าจะรองรับได้หลายภาษา กระทั่งภาษาไทยก็ตาม แต่ควรใช้ภาษาอังกฤษมากกว่า เนื่องจากจะได้คำสำคัญ (Keyword) ที่ช่วยให้โปรแกรมหาคำตอบได้ชัดเจนและรวดเร็วกว่า สิ่งที่ต้องระวังในการมาของ ChatGPT นี้ ไม่เพียงแต่กระทบกับหลาย ๆ อาชีพที่ AI สามารถทำได้ใกล้เคียงมนุษย์ แม้จะยังไม่ 100% ก็ตาม แต่ก็มีอีกบางส่วนที่เป็นผลจากการที่ ChatGPT ได้ทำงานในการช่วยเขียนบทความได้มากขึ้นในระยะเวลาอันสั้น จึงส่งผลให้มีการโกงในรูปแบบต่าง ๆ เพิ่มขึ้นจากการพึ่งพาเทคโนโลยีนี้ ดังเช่น นักเรียน นิสิตนักศึกษา นำไปใช้ในการเขียนบทความสั้น ๆ ส่งในวิชาเรียน เป็นต้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรระวังและน่าจับตามองในการหาวิธีการป้องกันต่อไป ควบคู่ไปกับการพัฒนา ChatGPT หรือ Chatbot อื่นๆ ในลักษณะนี้ให้ดียิ่งขึ้น

 

 

 

 แหล่งข้อมูลอ้างอิง

เสกสรร ดุษฎีวิโรจน์. (2566). จุดเริ่มต้นของความสำเร็จ CHATGPT. สืบค้นจาก

            https://www.fusionsol.com/blog/chatgpt-คือ/

HardcoreCEO. (2566). ChatGPT คืออะไร เอามาใช้ให้เกิดประโยชน์ในธุรกิจได้อย่างไร. สืบค้นจาก

            https://hardcoreceo.co/chatgpt-usage-in-business/

Ingo Dettmar. (2566). ChatGPT – เปิดมุมมองใหม่ ของแนวทางการทำงานในอนาคต. สืบค้นจาก

            https://www.aware.co.th/chatgpt/

JobsDB. (2566). ChatGPT คืออะไรทำไมเราถึงควรต้องทำความรู้จัก. สืบค้นจาก

            https://th.jobsdb.com/th-th/articles/chatgpt/

Mercular. (2566). ChatGPT คืออะไร ใช้ทำอะไรได้บ้าง ใครเสี่ยงตกงาน ปรับตัวอย่างไรดี. สืบค้นจาก

            https://www.mercular.com/review-article/what-is-chatgpt-ai

UCS. (2566). ChatGPT คืออะไร ? จะมาแทน Google ได้จริงหรือ ?. สืบค้นจาก

            https://www.ucsbkk.com/th/technology/ChatGPT#:~:text=ChatGPT%20คือตัวแชท,ร่วมก่อตั้ง%

            20LinkedIn%2C%20Peter%20Thiel

UCS. (2566). Google Bard vs. Chat GPT ศึกแห่ง Chatbot AI ใครเหนือกว่า?. สืบค้นจาก

            https://www.ucsbkk.com/technology/GoogleBard-ChatGPT

 

แหล่งข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

 

Crawford, J.; Cowling, M. & Allen, K.-A. (2023). Leadership is needed for ethical ChatGPT: Character,

            assessment, and learning using artificial intelligence (AI). Journal of University Teaching & Learning

            Practice, 20(3): 1-19. Retrieved from https://rb.gy/ygr01

Halaweh, M. (2023). ChatGPT in education: Strategies for responsible implementation. Contemporary

            Educational Technology, 15(2): 1-11. Retrieved from https://rb.gy/8i2rx

Lo, C. K. (2023). What Is the Impact of ChatGPT on Education? A Rapid Review of the Literature.

            Education Sciences, 13(4): 1-15. Retrieved from https://rb.gy/jkpj5

Qureshi, R.; Shaughnessy, D.; Gill, Kayden A. R.; Robinson, K. A.; Li, T. & Agai, E. (2023). Are ChatGPT and large

            language models "the answer" to bringing us closer to systematic review automation?. Systematic

            Reviews. 2(1): 1-4. Retrieved from https://rb.gy/7zzym

Tafferner, Z.; Illés, B.; Krammer, O. & Géczy, A. (2023). Can ChatGPT Help in Electronics Research and

            Development? A Case Study with Applied Sensors. Sensors (14248220), 23(10): 4879. Retrieved from

            https://rb.gy/yw1sc

 


 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri