KULIB Talk #12
นิสิตรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี  21ธันวาคม 2561
Liveจากห้อง Eco-Library สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
นายธนพล สันติวัฒนธรรม(คุณเบ๊นซ์)
นิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 6
นิสิตรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

https://www.facebook.com/kulibpr/videos/1541272055976123/

คุณธนพล สันติวัฒนธรรม(คุณเบ๊นซ์) นิสิตคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ชั้นปีที่ 6 ผู้ได้รับรางวัลนิสิตรางวัลพระราชทาน ประจำปี พ.ศ. 2560เข้ารับพระราชทานรางวัลจาก
สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 2561 ที่ผ่านมา และยังมีผลงานนักกีฬาเทเบิลเทนนิสตัวแทนทีมชาติไทย มีใจรักกิจกรรมจิตอาสาเพื่อช่วยเหลือพัฒนาสังคม
 
รู้สึกอย่างไรที่ได้รับรางวัลนิสิตพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ช่วยเล่าบรรยากาศในวันนั้นให้ฟังหน่อย

     รางวัลนิสิตรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี พ.ศ. 2560ที่ได้รับนั้น ถือว่าเป็นรางวัลสูงสุดในฐานะนักศึกษาแล้วก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและตื้นตันใจเป็นที่สุดต่อตนเองและครอบครัว

ขอบคุณผู้เกี่ยวข้องทุกท่านที่ช่วยเป็นแรงผลักดัน โดยเฉพาะทางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่เล็งเห็นความสามารถและให้โอกาสให้แสดงผลงานเพื่อเข้าร่วมคัดเลือกรางวัลนิสิตรางวัลพระราชทาน

     นอกจากได้รับเกียรติบัตรและทุนการศึกษาแล้ว ยังทำให้มีโอกาสเข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดฯ สยามบรมราชกุมารีและเกิดความตั้งใจที่จะโน้มน้อมนำพระบรมราโชวาทที่พระราชทานแก่นิสิตนักศึกษาในเรื่องของ “ความเพียรพยายามโดยไม่เสื่อมคลาย” มาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินชีวิตของตนเองในอนาคตด้วย

ต้องผ่านหลายด่าน กว่าจะได้รับรางวัลนิสิตพระราชทาน

     เกณฑ์การตัดสินมีหลายการประเมินหลายด้าน ไม่เพียงการเรียนและผลงานของนิสิตเท่านั้น แต่ยังมีการประเมินทุกด้านรวมถึงด้านคุณธรรมและจริยธรรม รวมถึงผลงานอื่น ๆ ที่นิสิตได้กระทำไว้ โดยคุณธรรมพื้นฐาน 5 ประการ ประกอบด้วยการเรียน, การทำงานร่วมกับผู้อื่น, สุขพลานามัย, ความมีภาวะผู้นำ, การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อม
โดยจะต้องผ่านการคัดเลือกทั้งหมด 4 รอบ

  • รอบ 1 ระดับคณะ คัดเลือกนิสิตในคณะของตนเองและจัดทำแฟ้มผลงาน
  •  รอบ 2 ระดับมหาวิทยาลัย คัดเลือกผลงานของตัวแทนนิสิตจากทุกคณะและทุกทุกวิทยาเขตให้เหลือ 4 คน
  •  รอบ 3 ระดับคณะกรรมการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คัดเลือกให้เหลือ 1 คนเพื่อไปร่วมคัดเลือกพร้อมนิสิต ม. อื่น
  •  รอบ 4 ระดับคณะกรรมการจาก สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ)คัดเลือกให้เหลือตัวแทนนิสิต 3 คนที่เป็นนิสิตรางวัลพระราชทานปีนั้น ๆ 
     

ตั้งเป้าหมาย  - จัดลำดับความสำคัญ – จัดสรรเวลา คือเคล็ดลับสู่ความสำเร็จทั้งด้านการเรียนและการทำกิจกรรมต่าง ๆ ที่ใจรัก

     เพราะเชื่อว่าคนเรามีความสามารถและสามารถทำอะไรได้มากกว่าหนึ่งอย่างพร้อม ๆ กัน หากเราแบ่งและบริหารเวลาให้ดี คุณธนพลจึงมีเป้าหมายตั้งแต่สมัยมัธยมแล้วว่า การเรียนต้องทำให้ดีและต้องประสบความสำเร็จด้านกีฬาด้วย ซึ่งคุณธนพลก็บรรลุเป้าหมายได้ทั้งสองอย่างตั้งแต่ระดับมัธยม
     เมื่อเข้ามหาวิทยาลัยคุณพ่อของคุณธนพลได้ให้คำสอนอันมีค่ายิ่งเพิ่มเติมอีกว่า เพียงการเรียนและกีฬานั้นไม่เพียงพอแล้วในระดับมหาวิทยาลัย “การเรียนจะทำให้เรามีงานทำ แต่การทำกิจกรรมจะทำให้เราทำงานเป็น”คุณธนพลจึงเพิ่มเป้าหมายที่ 3 คือการทำกิจกรรมให้ได้ดีเยี่ยมควบคู่กันไป
“เราจึงต้องแบ่งและจัดสรรเวลาให้ยิ่งมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อให้เราได้บรรลุเป้าหมายที่เราได้วางไว้ให้ครบ”
 
กีฬาเทเบิลเทนนิส– อีกหนึ่งสิ่งที่ทำด้วยใจรัก

     “ผมเริ่มตั้งแต่ตอนอายุ 10 ควบ นับถึงปัจจุบันก็ 10 กว่าปีแล้ว” คุณธนพลเล่าถึงจุดเริ่มต้น ที่ไม่ได้วางแผนเป็นนักกีฬาตั้งแต่แรก “จุดเริ่มต้นเกิดจากโต๊ะปิงปองเก่า ๆ ที่คุณย่าเอามาให้หลานๆ เล่นกันสนุกๆ แต่ผมเกิดความชอบและรักในกีฬาเทเบิลเทนนิส คุณพ่อจึงจัดหาโค้ชมาสอนและฝึกซ้อมอย่างจริงจังมากยิ่งขึ้นและเริ่มเข้าการแข่งขัน และเป็นการเปลี่ยนเป้าหมายของตัวเองจากการเล่นเพื่อสุขภาพ เป็นการเล่นเพื่อความเป็นเลิศ”
 
ผลงานด้านกีฬา

     คุณธนพลมีผลงานทางด้านกีฬามากมาย โดยได้เข้าร่วมเยาวชนทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 15 ปี ตอนอายุ 15และเข้าร่วมเยาวชนทีมชาติไทยรุ่นอายุไม่เกิน 18 ปี ตอนอายุ 16และเมื่ออายุ 18 ปี ก็ได้เข้าร่วมทีมชาติชุดใหญ่เข้าร่วมการแข่งขันชิงแชมป์เอเชียและเข้าร่วมการแข่งขันชิงแชมป์โลกที่ประเทศเยอรมันนี

     ผลงานที่ภูมิใจมากที่สุด คือที่ได้ผ่านการคัดเลือกตัวนักกีฬาเทเบิลเทนนิสชายคนแรกของประเทศไทยและได้เข้าร่วมการแข่งขันมหกรรมกีฬาYouth Olympic Games 2010 ที่ประเทศสิงคโปร์แต่ว่าผลงานที่มีความภาคภูมิใจไม่แพ้กัน การที่สามารถคว้าเหรียญทองต่อเนื่อง 3 ปี ให้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ จากการแข่งขันเทเบิลเทนนิสในกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 41, 42 และ 43ซึ่งการได้รับเหรียญทองนั้น นอกจากจะรู้สึกภาคภูมิใจอย่างมากที่สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์แล้ว ยังเป็นการแสดงความกตัญญูของต่อมหาวิทยาลัยที่ได้ให้โอกาสเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยในฐานะโควต้านักกีฬาทีมชาติด้วย
 
ผลงานด้านกีฬา (ส่วนหนึ่ง)

  • นักกีฬาเทเบิลเทนนิสชายคนแรกของประเทศไทยที่ผ่านการคัดเลือกตัวและได้เข้าร่วมการแข่งขันมหกรรมกีฬาYouth Olympic Games 2010 ที่ประเทศสิงคโปร์
  • นักกีฬาเทเบิลเทนนิสเยาวชนทีมชาติไทยและทีมชาติไทยชุดใหญ่
  • ชนะเลิศเหรียญทอง 3 ปีติดต่อกัน (ปี2557-2558-2559) ในการแข่งขันเทเบิลเทนนิสในกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 41 42 และ 43
  • นักกีฬาเทเบิลเทนนิสชายยอดเยี่ยม 2 ปีติดต่อกัน (ปี 2558-2559) ในการแข่งขันเทเบิลเทนนิสในกีฬามหาวิทยาลัยแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 42 และ 43
  • ชนะเลิศประเภทชายเดี่ยว21ปี  และประเภทชายคู่ ในการแข่งขันเทเบิลเทนนิสเพื่อความชนะเลิศแห่งประเทศไทยชิงถ้วยพระราชทาน
     

สิ่งที่ได้เรียนรู้จากการแข่งขันกีฬา

     “การกีฬาได้สอนในหลายด้าน แต่สิ่งสำคัญที่สุดคือ สิ่งสำคัญที่สุดในชีวิตนักกีฬาไม่ได้อยู่ที่ชนะ แต่อยู่ที่การพัฒนาตนเองและต่อสู้อย่างสุดความสามารถในการแข่งขันแต่ละครั้ง หากเราได้มุ่งมั่นฝึกซ้อมและแข่งขันอย่างเต็มที่ ก็เท่ากับเราได้บรรลุเป้าหมายของการเป็นนักกีฬาที่ดีแล้ว”

ในการแข่งขันแต่ละครั้ง หากเราได้มุ่งมั่นฝึกซ้อมและแข่งขันอย่างเต็มที่ ก็เท่ากับเราได้บรรลุเป้าหมายของการเป็นนักกีฬาที่ดีแล้ว
 
เรียนดี กีฬาเด่น มีวิธีการจัดสรรเวลาอย่างไร

     “เมื่อเรามีเป้าหมายในหลายด้าน ทำให้เราต้องจัดลำดับความสำคัญ ผมมองว่าตอนนี้หน้าที่หลักคือด้านการเรียน เพราะเราเป็นนิสิตจึงเปรียบเหมือนงานประจำหรืองานFull Timeส่วนการเล่นกีฬาและการทำกิจกรรมจิตอาสา เปรียบได้กับงาน Part-Timeการจะสำเร็จได้ เราต้องทำงาน Full Time ก็คือมุ่งมั่นศึกษาเล่าเรียนให้เต็มที่ก่อน แล้วเมื่อเรามีเวลาว่างจากการเรียน ค่อยไปทำหน้าที่อื่น ๆ ที่เราสนใจและมีใจรัก ซึ่งสำหรับพี่ก็คือการเล่นกีฬาและออกไปทำกิจกรรมจิตอาสาช่วยเหลือสังคมในด้านต่าง ๆ”

การเตรียมตัวอย่างไรในการแข่งขันแต่ละครั้ง

     สำหรับนักกีฬาทุกคน สิ่งสำคัญก็คือการฝึกซ้อม และการวางแผนการฝึกซ้อมก็สำคัญไม่แพ้กัน ในการพัฒนาทักษะต่าง ๆ ประกอบด้วย ทักษะฬา สมรรถนะทางร่างกาย และความแข่งแกร่งทางจิตใจ หากเราวางแผนการฝึกซ้อมให้พัฒนาได้ทั้ง 3 ด้านแล้ว เราก็จะได้ผลการแข่งขันที่เราพึงพอใจแน่นอน
 
จุดที่ทำให้ถึงสนใจเรียนคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

     “ไม่ว่าเราจะทำอะไร สิ่งสำคัญคือแรงบันดาลใจ พี่ได้รับแรงบันดาลใจจากคุณพ่อซึ่งเป็นสัตวแพทย์ ซึ่งจบจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์เหมือนกัน จึงได้เติบโตมาในคลินิกรักษาสัตว์ของคุณพ่อ เห็นคุณพ่อทำงานด้วยใจรัก รักษาสัตว์ป่วยต่าง ๆ ที่เข้ามารักษา โดยมีความตั้งใจให้เขาหายป่วยและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น จึงได้ซึบซับสิ่งเหล่านี้มาตลอด ประกอบกับเป็นคนรักสัตว์อยู่แล้ว จึงตัดสินใจไม่ยากที่จะเข้าเรียนที่คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์”

     “ถามว่าเรียนหนักไหม ก็เรียนค่อนข้างหนัก เพราะใช้เวลาเรียนทั้งหมด 6 ปี เช่นเดียวกับหมอคนเลย ได้เรียนทุกประเภททั้งสุนัข แมว โค สัตว์น้ำ สัตว์ป่า ได้เรียนหมด เพราะไม่มีการแยกเมเจอร์”

วางแผนหรือมองภาพอนาคตของตนเองไว้อย่างไรบ้าง
     
     “ตอนนี้ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 6 ซึ่งเป็นปีสุดท้ายแล้ว เมื่อจบแล้วก็จะประกอบอาชีพเป็นสัตวแพทย์เช่นเดียวกับคุณพ่อ และจะสืบทอดกิจการโรงพยาบาลสัตว์จากคุณพ่อต่อไป เพื่อเป็นการได้รักษาสัตว์เลี้ยงตามความตั้งใจของตนเอง”
 
     ถ้าเราเชื่อว่าสิ่งที่เราทำเป็นสิ่งที่ถูกต้องและเป็นสิ่งที่ดี มีคุณประโยชน์ ขอให้ตั้งใจทำ อย่าย่อท้อ เพราะพี่เชื่อสิ่งดี ๆ ที่เราตั้งใจจะนำเสนอออกมา สักวันหนึ่งจะต้องมีคนมองเห็นคุณค่าของสิ่งที่เราอย่างแน่นอน
 
สุดท้ายนี้ ช่วยให้คำแนะนำกับรุ่นน้อง หรือนิสิตท่านอื่นๆ ในเรื่องการสร้างสรรค์ผลงานดีเด่น หรือการเข้าร่วมการทำกิจกรรม

     ถ้าเราเชื่อว่าสิ่งที่เราทำเป็นสิ่งที่ถูกต้องและเป็นสิ่งที่ดี มีคุณประโยชน์ ขอให้ตั้งใจทำ อย่าย่อท้อ เพราะพี่เชื่อสิ่งดี ๆ ที่เราตั้งใจจะนำเสนอออกมา สักวันหนึ่งจะต้องมีคนมองเห็นคุณค่าของสิ่งที่เราอย่างแน่นอนขอเป็นอีกหนึ่งแรงใจให้น้อง ๆ ทุกคนที่มีความตั้งใจสร้างสรรค์ผลงานดี ๆ ออกมา

ทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุดที่เกี่ยวข้อง

ชื่อเรื่อง

  1. คู่มือการเล่นเทเบิลเทนนิส / สุรสิทธิ์ วะสิโน และคณะ รวบรวมและเรียบเรียง
  2. กีฬาเทเบิลเทนนิส / ภัชรี แช่มช้อย
  3. กติกาเทเบิลเทนนิส / งานวิชาการ กองการฝึกอบรม สำนักพัฒนาบุคลากรกีฬา การกีฬาแห่งประเทศไทย
  4. กติกาเทเบิลเทนนิส / ผู้เรียบเรียง ณัฐวุฒิ เรืองเวส
  5. Movement Modifications Related to Psychological Pressure in a Table Tennis Forehand Task.
  6. บริหารเวลา บริหารชีวิตและความสำเร็จ / เจมส์ แมงค์เทอโลว์ ; วรินดา อลอนโซ แปล
  7. บริหารเวลาเพื่อความสำเร็จ / เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์
  8. สัตวแพทย์อาสา จ.ส. 100 / บรรณาธิการ อัจฉริยา ไศละสูต ... [และคนอื่น ๆ]
  9. เรียนดี-เรียนเก่ง / ปรีชา ช้างขวัญยืน
  10. พัฒนาตนเองอย่างสร้างสรรค์ / นวพันธ์ ปิยะวรรณกร
  11. พัฒนาตนเอง คุณยังก้าวไปได้อีกไกล / กรกิจ พัฒนะรุ่งเรือง

 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri