ฟังเคล็ดลับการเรียนให้ประสบความสำเร็จ จากคุณอาทิตย์ เรืองสุรเกียรติ นิสิตคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ได้รับ “ทุนพระราชทานรางวัลเรียนดี ทุนภูมิพล” ประจำปี 2561
ช่วยเล่าความรู้สึกหลังจากที่ได้รับทุนพระราชทานในครั้งนี้หน่อยคะ
ผมมีความรู้สึกเป็นเกียติริอย่างสูงครับที่ได้รับเลือกให้เข้ามารับการสัมภาษณ์และเข้าร่วมพิธีพระราชทานทุน มันเป็นความภาคภูมิใจอย่างหนึ่งครับที่ได้รับทุนภูมิพลนี้ ทีนี้ผมมองว่าคุณค่าของมันไม่ได้อยู่ที่ตัวเงินที่เราได้รับมันยังคงเป็นโอกาส เราสามารถนำไปกรอกในประวิติหรือ CV เพื่อใช้ในการสมัครงานหรือศึกษาต่อทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศได้ด้วย ผมมองว่าถ้าเราสามารถมอบโอกาสนี้กลับไปให้กับคนอื่น ๆ ในอนาคตให้กับคนรุ่นหลัง ๆ มันก็จะเป็นสิ่งที่ดี ในอนาคตผมก็อยากจะมีโอกาสที่จะเป็นคนมอบทุนเองให้กับเด็ก ๆ ต่อ ๆ ไปครับ ที่ขาดแคลงคุณทรัพย์
ทราบมาว่าในการขอทุนจะต้องมีขั้นตอนการสัมภาษณ์ อยากจะให้พี่อาทิตย์เล่าถึงขั้นตอนการ อยากจะรู้ว่าตอนที่สัมภาษณ์มีคำถามประมาณไหนบ้างคะ
การสัมภาษณ์ทุนในครั้งนี้ เนื่องจากทุนภูมิพลเป็นทุนที่เราไม่ได้สมัครเข้าไปเอง เพราะฉะนั้นเริ่มจากเขาจะมีจดหมายแจ้งมาทางคณะและแจ้งมาที่ตัวเราว่าเราได้รับเลือกเป็นตัวแทนหรือมีสิทธิเข้าชิงทุนภูมิพล เราก็เข้ารับการสัมภาษณ์ตามที่เขานัด พอเข้าไปเราจะเจอกับคนที่ได้รับสิทธิเข้ามาชิงทุนภูมิพลเหมือนกัน ก็จะมีนักศึกษาที่มีเกรดเฉลี่ยสูง ๆ พอเข้าไปห้องสัมภาษณ์เราก็จะเจอกับคณะกรรมการ 4 – 5 ท่าน พร้อมที่จะถามคำถามเราที่จะตัดสินมีคุณสมบัติครบถ้วนหรือเปล่า คำถามก็จะประกอบไปด้วยประวัติ ประวัติการขาดแคลงคุณทรัพย์ ปัญหาต่าง ๆ ที่เคยพบเจอ ผลงานต่าง ๆ รวมไปถึงการเป็นแบบอย่างที่ดีของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ด้วยครับ
อย่างที่เราทราบกันนะคะว่าเกรดเฉลี่ยของพี่อาทิตย์สูงมาก ๆ เลยนะคะ นอกจากด้านการเรียนที่โดดเด่นแล้ว ด้านกิจกรรมยังมีความสนใจในกิจกรรมไหนเป็นพิเศษไหมคะ
กิจกรรมที่ผมสนใจคือเรื่องของการอ่านหนังสือและการเล่นเกมส์ครับ เรื่องอ่านหนังสือเราก็สามารถอ่านหนังสืออะไรก็ได้อ่านไปเถอะ ส่วนการเล่นเกมส์ก็จะมาชี้แจงเพิ่มนิดหนึ่งว่า เกมส์ไมได้กำจัดอยู๋แค่ว่าคุณเล่นอยู่บนโทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ หรือว่าคอนโซลต่าง ๆ เกมส์นี้ผมหมายถึงเกมส์ทั่วไปอย่างเช่น พวกไพ่ หมากกระดาษ หรือว่าบอร์ดเกมส์ เกมส์พวกนี้มันช่วยให้เราพัฒนาความคิดศักยภาพทางสมอง ความสามารถการคิดเชิงระบบได้ดีกว่าการทำข้อสอบอีกครับ เพราะฉะนั้นถ้าเรายกตัวอย่างเกมส์หนึ่งที่ทุกคนรู้จักคือ หมากรุก ช่วยในการอ่านความคิดของอีกฝ่ายล่วงหน้า ซึ่งจะมีประโยชน์มาก ๆ ในการตัดช้อยอีกด้วยถ้าอีกฝ่ายเดินแบบนี้เราก็ต้องไม่เดินแบบนั้นอะไรอย่างนี้ครับ มันสามารถช่วยให้การทำข้อสอบในการตัดช้อย ในการคาดการความคิดของอาจารย์ สำหรับเรื่องเกมส์นะครับสิ่งสำคัญก็คือ ถ้าคุณชอบคุณสามารถที่ขะเล่นได้แต่ว่าคุณต้องแบ่งเวลาให้เป็น การเล่นเกมส์วันละ 5 – 6 ชั่วโมง มันไม่ค่อยมีประโยชน์เพราะว่า ประโยชน์ที่คุณจะได้รับแค่เล่นวันละไม่กี่ชั่วโมงก็เพียงพอแล้ว ถ้าคุณเล่นน้อยเกินไปก็ไม่ได้มีปัญหาอะไรแต่ถ้าว่าคุณเล่นมากเกินไปคุณบอกว่าคุณอยากจะเป็นนักกีฬาอีสปอร์ตแค่ 5-6 ชั่วโมงมันก็ไม่พอเหมือนกันครับ คุณก็ต้องจัดการเวลาให้ดี
นอกจากการเรียนหรือว่ากิจกรรมก็มาพูดถึงคณะบริหารธุรกิจที่พี่อาทิตย์เรียนอยู่กันบ้างดีกว่านะคะ อยากทราบถึงจุดที่ทำให้สนใจมาเรียนด้านนี้และก็เรียนหนักไหมคะ
จริง ๆ ผมจบนักเรียนจากสาธิตเกษตรแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ตอนนั้นคณะบริหารธุรกิจพึ่งเปิดหลักสูตรนานาชาติ อาจารย์ที่นั้นเลยเปิดโอกาสให้ผมได้รับโอกาสที่สามารถเข้ามาศึกษาต่อได้เลย โดยที่ไม่ต้องผ่านการสอบ ผมเลยรับโอกาสนั้นไว้ เพราะที่บ้านก็เป็นนักธุรกิจกันอยู่แล้วก็เลยคิดว่าเป็นโอกาสที่ดี อีกอย่างหนึ่งอันนี้ก็เป็นคำถามในการสัมภาษณ์เหมือนกันครับ คุณคิดว่าอะไรที่เป็นปัญหาของคณะบริหารธุรกิจ ผมคิดว่าคนไทยไม่ค่อยใส่ใจในการบริหารธุรกิจเท่าไหร่มันเป็นช้อยล่าง ๆ รองมาจาก แพทย์ วิศวกรรม สถาปัตย์ ลงมาอีก ทำให้เรามีปัญหาในการบริหารงานทำให้คนส่วนใหญ่คิดไม่ค่อยเป็นระบบ คิดแค่ว่าข้างหน้าไม่ได้คิดมองการไกลเท่าไหร่ ผมคิดว่าถ้าเราหันมาสนใจและกระจายเก่ง ๆ ในประเทศไปหลากหลายอาชีพมันจะช่วยพัฒนาได้มากขึ้น ส่วนเรื่องเรียนยากไหมอันนี้คือถ้าเทียบผมไม่สามารถบอกได้ว่าเรียนยากหรือเปล่าแต่ถ้าเทียบในเรื่องของเกรดค่าเฉลี่ยของแต่ละคนในห้องก็ถือว่าหนักพอสมควรครับเพราะเกรดก็อยู่ที่สองกว่า ๆ
ในการเรียนมีกฎหรือระเบียบอะไรหรือเปล่าหรือว่าเคล็ดลับอะไรช่วยแนะนำให้กับเพื่อน ๆ น้อง ๆ หน่อยคะ
การใช้ชีวิตในการเรียนนะครับก็คือ 2 อย่าง ง่าย ๆ หนึ่งก็คือ เราต้องเรียนอย่างมีเป้าหมายถ้าเราไม่มีเป้าหมายเราจะไม่รู้ทิศทางที่เราจะไปเราก็ไม่สามารถวางแผนอะไรได้ อีกอย่างหนึ่งก็คืออย่าทำแค่พอผ่านสิ่งที่คุณจะพบเจอในชีวิตมหาลัยที่แน่ ๆ เลยในห้องของคุณจะมีคนหนึ่งที่ยกมือถามอาจารย์ อาจารย์ครับตรงนี้ออกข้อสอบไหมครับ การที่คุณทำแบบนี้แสดงว่าคุณกำลังโฟกัสกับตรงนั้นแค่ว่าออกข้อสอบหรือไม่ออกข้อสอบถ้าออกข้อสอบคุณก็จะจำถ้าไม่ออกคุณก็จะไม่ทำ มันเป็นปัญหาเพราะว่าเวลาเราเรียนเรื่องใดเรื่องหนึ่งเราจะไปโฟกัสกับจุดหนึ่งไม่ได้ สิ่งที่สำคัญเราต้องรู้ในองค์รวมรู้ทั้งหมดของตัววิชานั้นคุณถึงจะสามารถทำข้อสอบได้ ส่วนเคล็ดลับมันก็ไม่เชิงว่าเป็นเคล็ดลับอันนี้ส่วนของผมเองนะครับก็จะแบ่งออกเป็นเรื่องการเรียนกับการสอบก่อนเรียนเราต้องเตรียมตัวอะไรบ้างบ้างหลายคนคิดว่าควรเตรียมตัวอ่านหนังสือล่วงหน้าก่อนจริง ๆ มันก็ไม่ถูกซะทีเดียว คุณเอาเวลาของคุณที่ว่าง ๆ มานั่งอ่านหนังสือล่วงหน้าก่อนมันเป็นการใช้เวลาที่ไม่คุ้มค่าซะเท่าไหร่ควรอ่านแค่พอดีอย่าไปอ่านมากจนเกินไปเพราะว่าคุณจำได้ไม่หมด เอาเวลาล่วงหน้ามาอ่านหนังสืออะไรก็ได้ที่คิดว่าจะได้ใช้ในชีวิตหรือในอนาคตจะดีกว่า พอเข้ามาถึงเวลาในคาบเรียนสิ่งที่ควรทำคือตั้งใจฟังอาจารย์จดแต่พอดีอย่าจดมากเกินไปทุกคำพูดเพราะมันไม่ได้ช่วยอะไร หลังเลิกเรียนควรมาทบทวนบทเรียนว่าเรียนอะไรบ้างเพราะเมื่อเวลาผ่านไปซะชั่วโมงสองชั่วโมงความรู้คุณจะเริ่มหายไปกว่าครั่งแล้วหลังจากที่คุณเริ่มเรียน การที่คุณทบทวนอย่างสม่ำเสมอทำให้คุณจำระยะยาวและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ พอมาถึงช่วงสอบอันนี้สำคัญมากโดยเฉพาะคนในห้องผมเขาชอบทำในสิ่งที่เรียกว่าสมุดจดหรือชีสบันทึกหรือสรุปอะไรก็ตามแต่เอาไฮไลท์มาขีดลงบนหนังสืออีกรอบหนึ่งซึ่งตรงนี้นะครับมันให้ให้เกิดสิ่งที่เรียกว่าความสำเร็จแบบปลอม ๆ คือคุณทำแล้วคุณรู้สึกว่าสำเร็จอะไรอย่างหนึ่งแล้วเราทำชีทสรุปเสร็จแล้วสุดท้ายชีทตัวนั้นจะได้เอามาอ่านน้อยมากต่อให้มาเปิดคุณก็จะจำแค่สิ่งที่คุณคิดว่ามันสำคัญแต่มันอาจจะไม่สำคัญจริง ๆ ทำให้ผลคะแนนของคุณแย่ครับ ในระหว่างสอบคุณต้องพยายามนึกอะไรก็ได้ที่คุณนึกได้ที่เกี่ยวโยงกับการที่คุณอยู่ในห้องเรียนมันจะช่วยให้คุณสามารถย้อนกับไปคิดได้ ถ้าก่อนสอบคุณไม่คิดว่าการเรียนเป็นการแข่งขันคุณสามารถช่วยสอบเพื่อนในห้องมันจะทำให้คุณจำได้ยิ่งขึ้นในห้องสอบ หลังจากสอบแล้วถ้ามีโอกาส ถ้าอาจารย์บอกข้อผิดพลาดของเราข้อไหนที่เราทำผิดคุณควรที่จะถามและรู้รายระเอียดให้ได้มากที่สุดเกี่ยวกับความผิดพลาดในตัวเองเพราะว่าเวลาคุณสอบ midterm คุณยังมีเวลาที่จะแก้ตัวใน final พอไปถึง final โอกาสแก้ตัวมันน้อยถ้าคุณผิดแล้วคุณไม่รู้ตัวว่าคุณผิดใน final คุณจะผิดแน่ ๆ เพราะฉะนั้นอย่าทึ้งโอกาสนี้ไปและพยายามปรับปรุงแก้ไขตัวเองครับ
ในเรื่องของการเรียนมองว่าอะไรคือความท้าทายรวมถึงชีวิตในรั้วมหาลัยอะไรคือสิ่งที่ท้าทายสำหรับพี่อาทิตย์คะ
สำหรับผมมองว่ามันก็มีหลายรูปแบบอย่างเช่น วิชาที่เรียนถ้าเราถนัดแต่ด้านอะไรคุณมีสองตัวเลือกลงวิชาที่คุณถนัดคุณจะได้เก็บเกรดและคุณจะได้มีเวลาว่างไปทำอย่างอื่น หรือคุณมีสิทธิที่ลงวิชาที่ไม่ถนัดคุณจะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ในการท้าทายตัวเองอย่างหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีการท้าทายอย่างอาจารย์และเพื่อน สำหรับอาจารย์เวลาเราเข้าเรียนเราสามารถถามรุ่นพี่ได้ว่าอาจารย์คนนี้เป็นอย่างไรคนนี้สอนดีไหมคนนี้สอนไม่ดีคนนี้โหดหรือเปล่าพอคุณรู้แบบนี้แล้วสิ่งที่ผมจะแนะนำคือให้คุณคิดว่าคนไหนคืออาจารย์ที่ดีที่สุดคนไหนคืออาจารย์ที่แย่ที่สุดที่เป็นไปได้แล้วลงเรียนทั้งสองวิชา เพราะอาจารย์ที่คุณคิดว่าดีและแย่เนี่ยคุณสามารถเรียนรู้จากพวกเขาได้ทั้งคู่ครับ อาจารย์ที่ดีคุณอาจจะเรียนรู้เรื่องของการคิดอย่างเป็นระบบการอธิบายให้คนอื่นเข้าใจ การเตรียมการเรียนการสอน ส่วนอาจารย์ที่คิดว่าไม่ดีในเรื่องของบางคนอาจจะคิดว่าอาจารย์นี้โหดเหี้ยเคร่งครัดในกฎระเบียบมาก ๆ สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้จากเขาก็คือความตรงต่อเวลา คุณต้องส่งงานตรงเวลา คุณต้องเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา คุณต้องทำอะไรหลาย ๆ ให้ตรงที่เขาต้องการ ส่วนอาจารย์ที่คุณคดว่าเขาสอนไม่ดีชอบอ่านตามสไลด์ซึ่งมีแน่ ๆ สิ่งที่คุณจะได้เรียนรู้จากเขาคือ คุณจะได้หัดเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง หลังจากที่คุณฟังเขามาคุณจะต้องกลั่นกรองอีกรอบหนึ่งคุณจะได้ฝึกการทำเลคเชอร์จริง ๆ ที่ไม่ใช่แค่จดตามเขาต้องคิดอีกขั้นหนึ่ง นี้ก็จะเป็นความท้าทายอีกขั้นหนึ่ง ส่วนสุดท้ายคือความท้าทายแบบเพื่อน คนก็จะบอกว่าเจอเพื่อนที่ไม่ค่อยดีขนาดต้องซื้อหนังสือคบกับคนเฮงซวยมานั่งอ่าน หรือเจอเพื่อนที่ชอบการแข่งขันมาก ๆ แบบว่าสุดยอดแห่งความ competition เลย แข่งขันเอาเป็นเอาตายจนเครียดมาก ๆ ผมไม่แนะนำให้กดดันตัวเองมากเกินไปกับการแข่งขันเพราะบางทีมันไม่ได้ประโยชน์จริง ๆ ถ้าแข่งขันเล็ก ๆ น้อย ๆ ระหว่างเพื่อนในการเกทับถมกันในเรื่องคะแนนเกิดการพัฒนาตัวเองแบบนี้ถือว่าดีครับ แต่อย่าเอาเป็นเอาตายกับมันอย่าพยายามไปแข่งอะไรมากจนเกินไปเพราะมันเครียดอาจจะจบลงในการฆ่าตัวตายมันไม่ดีเลย
ในตอนนี้สำหรับพี่อาทิตย์เรื่องไหนที่โฟกัสมากที่สุดในขณะนี้คะ
สำหรับเรื่องที่โฟกัสมากที่สุดมี 2 เรื่องครับ คือ หนึ่งเรื่องเรียนอย่างที่เคยบอกไปเพราะว่าตอนนี้ผมจะไปศึกษาต่อและแลกเปลี่ยนที่ต่างประเทศ อีกเรื่องหนึ่งคืออย่างให้ทุกคนโฟกัสด้วยกันคือเรื่องความสุขในมหาวิทยาลัยเพราะว่าเวลาของคุณมีอย่างจำกัดคุณน่าจะเคยเห็นกราฟสามเหลี่ยมที่บอกว่าเรียน ใช้ชีวิต และพักผ่อน ก็คือถ้าคุณเรียนมากจนเกินไปคุณโฟกัสแต่กับการเรียนสิ่งที่คุณจะขาดหายไปคือกิจกรรมคุณจะทำกิจกรรมน้อยลงเพราะคุณทุ่มเทกับการเรียนการสอน ในขณะเดียวกันเด็กสายกิจกรรมอย่างในห้องผมที่เป็นระดับนายกสโมเขาบอกว่าเขาโฟกัสอยู่กับกิจกรรมอย่างเดียวสิ่งที่เขาขาดหายก็คือชั่วโมงเรียน เขาค่อนข้างขาดเรียนบ่อยเขาทำอย่างอื่นมั่นบางครั้งเขาติด F เพราะฉะนั้นการโฟกัสอย่างใดอย่างหนึ่งมันก็จะมีข้อเสียตามมาถ้าคุณไม่โฟกัสทั้งสองอย่างก็จะมีข้อเสียหนักเลยเพราะคุณจะเสียสุขภาพจิต เวลาในการพักผ่อน ความสุขในการใช้ชีวิต เพราะฉะนั้นถ้าเป็นไปได้เอาเท่าที่คุณคิดว่าพอดีและมีความสุขกับมันแค่นี้ครับ
พี่อาทิตย์วางแผนในอนาคตอย่างไรบ้างคะ
สำหรับอนาคตผมมีเป้าหมายอยู่แล้ว มีการวางแผนระยะสั้นกับระยะยาว ระยะสั้นก็คือจะไปแลกเปลี่ยนที่ต่างประเทศเทอม 1 และเทอม 2 ของปี 4 หลังจากนั้นกลับมารับปริญญาและไปศึกษาต่อต่างประเทศในระดับปริญญาโท ซึ่งก็อาจจะเป็นการศึกษาต่อในสาขานิติ หรือสาขาจิตวิทยาที่ผมสนใจ หรืออาจจะกลับมาทำงานก่อนสัก 2 ปี เพื่อเข้ามหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงหน่อยทางด้านบริหาร ในด้านระยะยาวเรามองไปถึงว่าต่อปริญญาเอกไหมหรือเราจะกลับมาทำงาน ผมคิดว่าโอกาสที่น่าจะเป็นคือทำงานเป็นที่ปรึกษา หรือธุรกิจของตัวเอง หรือแม้แต่เป็นอาจารย์สอน
ในฐานะวัยรุ่นนิสิตนักศึกษาหรือเยาวชน ซึ่งถือว่าเป็นกำลังสำคัญในอนาคตเลย สำหรับพี่อาทิตย์คิดว่าการศึกษาไทยในปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้างคะ และอยากจะเห็นการเปลี่ยนแปลงในด้านไหนบ้าง
การศึกษาไทยพูดกันตรง ๆ เลย ที่เห็น ๆ ค่อนข้างล้มเหลวครับ ซึ่งที่เราอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงก็คือ ขั้นแรกเปลี่ยนที่ตัวอาจารย์ก่อน อาจารย์หลายคนยังมีความคิดเก่า ๆ และก็เขาสอนเมื่อ 10 ปีที่แล้วสำเร็จแต่ไม่ได้แปรว่ามาสอนใน 10 ปีนี้จะสำเร็จเหมือนกัน เพราะฉะนั้นผมอยากไดอาจารย์ที่เขาปรับเปลี่ยนตัวเองและอยากให้คนสนใจในอาชีพอาจารย์ให้มากขึ้นถ้าเป็นไปได้เรื่องเงินก็ค่อนข้างสำคัญ ผมเข้าใจว่าคนเก่ง ๆ ต้องอยากได้เงิน ถ้าเราสามารถขึ้นเงินเดือนอาจารย์เป็น 2 เท่า ให้ดึงดูดบุคลากรชั้นนำของประเทศมาทำหน้าที่อาจารย์ได้ ทำอย่างก็จะดีขึ้นมาก ในเรื่องของหลักสูตรการสอน คุณภาพชีวิตของเด็กในมหาวิทยาลัย หลังจากที่อาจารย์เปลี่ยนแล้วจะมีผลตามมาเช่น วิธีการให้คะแนนเปลี่ยนไป การให้คะแนนแบบที่คะแนนเก็บเยอะจนเกินไป หรือคะแนนสอบเยอะจนเกินไป ก็จะเริ่มน้อยลงก็จะมีความสมดุลมากขึ้น มีกิจกรรมมากขึ้นนักเรียนก็จะรู้สึกได้ถึงการแบ่งเวลา ไม่ต้องเคร่งเครียดมากจนเกินไป หลังจากเปลี่ยนหลักสูตรการสอน หลักการให้คะแนนแล้ว ซึ่งที่เปลี่ยนต่อไปคือบรรยากาศในห้องและจำนวนนิสิต และตอนนี้ถ้าไม่นับในห้องเรียนผม ถ้าไปเรียนข้างนอกกับคณะอื่น หรือที่ศูนย์เรียนรวมก็จะมีนักศึกษาที่เรียนเกิน 50 คน หรือ 100 คน เข้าไปในห้องอัดกัน ซึ่งการสอนแบบนั้นมันไม่ค่อยมีประสิทธิภาพเพราะว่า อาจารย์กับนักเรียนจะห่างกัน ถึงแม้จะนั่งติดกัน คือเขาจะไม่มีโอกาสหรือกล้าที่จะยกมือถามอาจารย์หลังจากหมดคาบเรียนที่เขาไม่เข้าใจ ซึ่งก็เป็นปัญหาเหมือนกัน ผมอยากให้ตัวห้องเรียนลดลงมาหน่อยเหลือห้องละ 30 คน กำลังดี และเปลี่ยนบรรยากาศในห้องแทนที่จะเป็นโต๊ะเรียนกันเหมือนเดิม เปลี่ยนให้มันเหมือนกันห้องที่แบบ Smart Learningหน่อย มีโซฟา มีอุปกรณ์การสอนหลาย ๆ อย่าง ไม่ต้องจัดเป็นระเบียบมากก็ได้ สามารถที่จะเคลื่อนย้ายได้ เพราะในห้องเรียนก็เหมอนเวทีเวทีหนึ่งถ้ามันเป็นระเบียบเกินไปสิ่งที่คุณต้องทำบนเวทีนั้นก็คือแสดงอย่างเป็นระเบียบ ทุกอย่างจะเป๊ะไปหมด ถ้าเกิดทุกอย่างปรับเปลี่ยนได้ทั้งตัวเราที่เป็นทั้งนักเรียนและอาจารย์ปรับเปลี่ยนและยืดหยุ่นไปตามการเรียนการสอนได้ ผมมองว่าตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญมากที่จะพัฒนาในระยะยาว
แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ
- เรียนดี 100% เรียนให้เป็น ก็เก่งอย่างเทพ
- เรียนดี-เรียนเก่ง
- ยิ่งเรียนสูงเรียนเก่ง ยิ่งต้องเร่งปรับตัว
- จงถ่ายเอกสารหน้าสารบัญ แล้วคุณจะเรียนเก่งขึ้น
- จำเก่ง อ่านเก่งเรียนเก่ง