KULIB Talk: รางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 โครงการ Booster Bond for Startup
     
นางสาวปริณดา กระโจมแก้ว (ใบพลู): นิสิตชั้นปี ที่ 3 คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ได้มาร่วม Live ผ่านทาง facebook ของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ www.facebook.com/kulibpr  เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2561 โดยมาพูดถึง โครงการ Booster Bond for Startup ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่ 1 พร้อมเงินรางวัลมูลค่า 100,000 บาท และโล่รางวัลในการแข่งขันทางวิชาการของ PDMO Camp 2018 ช่วยเล่าให้ฟังหน่อยว่า ใบพลูรู้จักโครงการภาพลักษณ์ที่ดีของหนี้สาธารณะประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2561 ของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ

*****************************************************************************************

     โครงการภาพลักษณ์ที่ดีของหนี้สาธารณะของสํานักงานบริหารหนี้สาธารณะนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ และทัศนคติที่ดีต่อหนี้สาธารณะ และเพื่อพัฒนาศักยภาพของนิสิตและนักศีกษาทั้งทางด้านวิชาการและการสร้างเครือข่ายความร่วมมือ และเลือกนักศึกษา 70 คนเพื่อให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์

     หนี้สาธารณะถือเป็นหนี้ของประชาชนทุกคนในประเทศ ประเทศต่างๆล้วนมีหนี้สาธารณะทั้งนั้นดังเช่นประเทศที่เป็นรัฐสวัสดิการอย่าง ฟินแลน ประเทศที่มีอันดับความสามารถในการแข่งขันอันดับต้นๆ (จัดโดยworld economic forum) และยังเป็นประเทศที่มีความสุขมากที่สุดในโลก มีหนี้สาธารณะประมาณ 63%ต่อGDP ส่วนทางด้านประเทศไทยนั้นประมาณ 40%ต่อGDP ดังนั้นการบริหารหนี้สาธารณะจึงจำเป็นมาก และสำหรับวัตถุประสงค์ที่ต้องมีหนี้สาธารณะเนื่องจาก

  1. รัฐบาลจะนำไปใช้ในการรักษาเสถียรภาพในประเทศ
  2. นำไปใช้ในการรักษาเสถียรภาพนอกประเทศ
  3. ใช้จ่ายในกิจการฉุกเฉิน
  4. ชดเชยงบประมาณที่ขาดดุล
  5. ใช้ในการลงทุนตามโครงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
  6. เพื่อนํามาหมุนเวียนใช้หนี้เก่า

โครงการที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ : โครงการ Booster Bond for Startup ประกอบไปด้วยรายละเอียดดังนี้

     - Definition : Startup คือกลุ่มธุรกิจที่มีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและมีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเข้ากับการดำเนินงานของธุรกิจ Startup โดย Startup สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ 1 คือกลุ่ม pre-startup คือขั้นที่ยังไม่ได้ดำเนินธุรกิจจริง และความคิดยังอยู่ในหัวอยู่เลย ต่อมาขั้นที่ 2 ขั้น startup คือขั้นที่ดำเนินธุรกิจมาระยะหนึ่งและสามารถสร้างผลตอบแทนได้แล้ว ซึ่งธุรกิจ startup ภายในขั้นนี้ ที่มีความน่าสนใจสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มด้วยกันคือ 1. Agri food 2. กลุ่ม Travel tech 3. Health tech ซึ่งรวมผู้ประกอบการทั้ง 3 กลุ่มมีกว่า 120 ราย ขั้นที่ 3 คือขั้น Growth คือขั้นที่ startup ดำเนินมาระยะหนึ่งและมีกำไรถึงจุดอิ่มตัว

     - Action Plan : สบน มานำเสนอโครงการ ที่ชื่อว่า Booster bond  เป็นโครงการที่จัดหาแหล่งเงินทุนให้กับธุรกิจ Startup ที่ต้องการจะขยายกิจการไปให้ถึงขั้น Growth แต่ไม่มีเงินทุนในการขยายกิจการ อีกทั้งโครงการนี้ยังถือเป็นทางเลือกใหม่ของนักลงทุนที่สามารถนำเงินมาลงทุนด้วยความเสี่ยงที่ต่ำได้อีกด้วย

     - Process :

           แบ่งออกเป็นผู้เกี่ยวข้อง 3 ฝ่าย
                    ส่วนที่ 1 คือ startup ที่ต้องการแหล่งเงินทุนเพื่อที่จะเติบโตไปสู่ขั้น Growth
                    ส่วนที่ 2 คือหน่วยงานรัฐบาลที่ทำหน้าที่เป็นคนกลาง
                    ส่วนที่ 3 คือนักลงทุนที่มีทั้งเงินและมีความสนใจที่จะลงทุนในธุรกิจ startup

     กระบวนการนี้เริ่มจากผู้ประกอบการ startup ที่มีทั้งไอเดียและมีการดำเนินงานมาแล้วแต่มีเงินไม่พอจะไปหาเงินเองก็ยากลำบากและต้องเผชิญกับต้นทุนทางการเงินที่สุดเพราะเจ้าหนี้ไม่มั่นใจว่า startup นั้นจะรอดหรือ หรือว่าจะร่วงหรือไม่

     ดังนั้นหากเปลี่ยนวิธีให้นักลงทุนหันมาหารัฐบาล รัฐบาลหรือหน่วยงานที่มีความสามารถในการจัดหาเงินทุน เช่นสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ หรือว่ากรมส่งเสริมอุตสาหกรรมต่างๆ ร่วมมือกันผลิตออกมาเป็นตราสารที่เป็นเหมือนสื่อกลางในการเข้าหานักลงทุนที่สนใจ และนักลงทุนจะออกเงินในการซื้อพันธบัตรนี้ไป

     เมื่อซื้อพันธบัตรนี้ไปแล้วสิ่งที่รัฐบาลได้รับมาก็คือเงินก้อนหนึ่งรัฐบาลก็จะนำเงินก้อนนี้ไปปล่อยกู้ให้กับผู้ประกอบการ startup อีกต่อนึง โดยนักลงทุนจะได้ผลตอบแทนจากพันธบัตรเป็นดอกเบี้ย 2 อัตราเหมือนกับขั้นบันไดอัตราแรกคืออัตราที่ผลประกอบการของธุรกิจไม่ได้ดีเท่าที่ควรจึงจ่ายอัตราดอกเบี้ยเป็นอัตราแลกเปลี่ยนอัตราดอกเบี้ยอาจจะไม่สูงเท่าไหร่แต่ข้อดีก็คือรัฐบาลจะประกันเงินต้นให้ยังไงเงินต้นก็ต้องไม่ศูนย์แน่นอน และยังได้อัตราดอกเบี้ยเล็กๆน้อยๆติดมือกลับบ้านไปด้วยนะคะ

     อัตราที่สองก็คือหากธุรกิจมีผลประกอบการที่ดีจะส่งผลทำให้ตัวรัฐบาลเองเมื่อปล่อยกู้ดอกเบี้ยระหว่างที่ให้ผู้ลงทุนกับอัตราดอกเบี้ยที่ปบ่อยเองย่อมเกิด space รัฐบาลอาจจะยอมบีบ space ของตัวเองลงมาเพื่อที่จะสามารถจ่ายดอกเบี้ยให้นัดลงทุนได้มากขึ้น

     ดังนั้นวิธีนี้จะทำให้เกิด Incentive ในตัวของนักลงทุนให้ช่วยมอนิเตอร์กิจการและก็อาจจะสนับสนุนทั้ง Technology และความรู้ของ Startup ที่ตนเองไปซื้อ bond ดังนั้น การทำเช่นนี้จะส่งผลทำให้Startup เติบโตถึงเป้าหมายและผลตอบแทนที่ได้เพิ่มขึ้น ดังนั้น เมื่อStartupได้ผลประกอบการที่ดีแล้ว เราจะต้องให้เขาจ่ายเงินเข้ากองทุนในช่วงระยะเวลาหนึ่ง 5 ปี 10 ปีในอัตราส่วนอัตราส่วน 1 หน่วยงานในส่วนนี้เราจะบริหารจัดการเป็นกองทุนและกองทุนนี้จะนำไปช่วยเหลือStartupกลุ่มอื่นๆต่อไปต่อไปเป็นลูกโซ่

     กระบวนการของเรายังสอดคล้องกับ SDGs  Sustainable Developement Goals หลักๆ คือข้อ 9 เพราะว่าการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างมีประสิทธิภาพนั้นจะทำให้Startupเติบโต ซึ่งจะไปส่งเสริมด้านนวัตกรรมอุตสาหกรรม และโครงสร้างพื้นฐานตามเป้าหมายข้อ 9 นอกจากนี้ยังทำให้เกิดการจ้างงานที่เพิ่มขึ้นเศรษฐกิจเติบโตตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อที่ 8 ผู้ประกอบการ Startup มักเป็นคนในท้องถิ่นก็ทำให้เกิดการเติบโตในท้องถิ่นภาคกทำให้เกิดการกระจายรายได้ที่เป็นธรรมและให้ความสุขกับทุกคนอย่างเสมอภาค ตรงตามเป้าหมายข้อ 10 นั่นเอง

     - ความเชื่อมโยงกับ Startup ของยุทธศาสตร์ชาติ

     นอกจากนั้น Startup ยังส่งผลต่อเศรษฐกิจและสังคมและยังเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีอีกด้วย กล่าวคือข้อที่หนึ่ง Startup ลดปัญหา pain point ทางสังคมคือปัญกาความเหลื่อมล้ำของการกระจายรายได้และ เพิ่มโอกาสในการทำงานที่มากขึ้น ข้อที่สองก็คือ เพิ่มการจ้างงานและเพิ่มการลงทุนแบบ Exponential ดังนั้นทั้งสองข้อนี้จึงเชื่อมโยงกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีในเรื่องของความเสมอภาคทางสังคมลดความเหลื่อมล้ำ ข้อที่ 3 Startup จะส่งผลทำให้การเพิ่มขึ้นของ Innovation technology และ productivity ข้อที่4  Startupจะทำ ให้เกิดการใช้เงินทุนที่ลดลงแต่ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น  ดังนั้นก็จะเห็นว่าข้อ 3 และข้อ 4 เชื่อมกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีในเรื่องของการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศดังนั้นก็จะเห็นว่า Startup จะส่งผลต่อสังคมโดยรวม

     - Summary

     สรุปว่า การออก bond ของรัฐบาลจะส่งผลกระทบกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนทั้ง 4 เป้าหมายหลักๆและการออก bond ยังทำให้ startup มีเงินทุนในการลงทุนในด้านนวัตกรรรมให้เติบโตขึ้นไปอีก อีกทั้งส่งผลต่อประเทศให้มีเทคโนโลยีใหม่ๆเพิ่มมากขึ้น ต่อไป Startup ก็อาจเดิบโตไประดับภูมิภาค และระดับโลกรวมถึงส่งผลให้มีความสนใจในการลงทุนใน Startup มากขึ้นด้วย สุดท้ายการว่างงานก็จะลดน้อยลง ความเหลื่อมล้ำก็จะน้อยลงตามไปด้วย   

จาก KU Library Catalog

คำค้น “Start Up”

1. Start up ใครละ -- บอกว่าคุณทำไม่ได้ ความฝันและแรงบันดาลใจ เทคนิคการสร้างสรรค์ไอเดียโมเดลธุรกิจและกลยุทธ์บริหารจัดการธุรกิจ / PhanuLimmanont

2. Start up สร้างกิจการในฝันให้สำเร็จ / ชาย กิตติคุณาภรณ์

3. Start-up guide for the technopreneur : financial planning, decision making, and negotiating from incubation to exit / David Shelters.

4. Start your own senior services business : adult day-care, relocation service, home-care, transportation service, concierge, travel service and more / Entrepreneur Press and Charlene Davis

5. Start your own seminar production business : your step-by-step guide to success

6. Entrepreneurship and small business : start-up, growht and maturity / Paul Burns

7. 101 businesses you can start on the Internet

คำค้น “หนี้สาธารณะ”

8. เอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการหนี้สาธารณะ / จัดทำโดย สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง ธนาคารแห่งประเทศไทย กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน

9. หนี้สาธารณะกับความยั่งยืนทางการคลังของประเทศไทย / ฉัตรชัย พุทธสินธุ์

คำค้น “Public debt”

10. Public debt and economic policy during the economic crisis / Sethaput Suthiwart-Narueput, Varan Pradittatsanee

 

Wiley Online

คำค้น “Start Up”

1. Lifecycle of a technology company : step-by-step legal background and practical guide from start-up to sale

2. Startup CEO: A Field Guide to Scaling Up Your business

3. PopUp Republic: How to start your Own Successful Pop‐Up Space, Shop, or Restaurant

คำค้น “Public debt”

4. Chipping Away at Public Debt: Sources of Failure and Keys to Success in Fiscal Adjustment

EBSCOhost

5. The Teenage Investor : How to Start Early, Invest Often, and Build Wealth

6. The Restaurant Start-up Guide : A 12-month Plan for Successfully Starting a Restaurant

Econlit

 

7. PUBLIC DEBT IN NEW EU MEMBER STATES - PANEL DATA ANALYSIS AND MANAGERIAL IMPLICATIONS.

8. IMPACT OF PUBLIC DEBT SUSTAINABILITY ON FISCAL POLICY IN CROATIA.

9. Role of Public Debt in Economic Growth of Sri Lanka: An ARDL Approach

10. PUBLIC DEBT AND ECONOMIC GROWTH: FURTHER EVIDENCE FOR THE EURO AREA.

Business Source Complete

11. START-UP ANALYSIS FOR MARKETING STRATEGY.

12. Start-up Of Small Manufacturing Ventures In Developing Countries.

13. SMOOTHING START--UP AND SHUT--DOWN COSTS IN SEQUENTIAL PRODUCTION.

14. Start-up training and rural industrial location.

15. Small company budgets: targets are key.

 

ฐานข้อมูลทางด้านเศรษฐศาสตร์
- Business Source Complete
- EconLit™ with Full Text
- World Scientific eBooks
- 2ebook Digital Library  ฐานข้อมูลหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ภาษาไทย
- ABI/INFORM


KULIB Talk No.20 “รางวัลชนะเลิศอาหารคาว หวาน จากมันสำปะหลังพันธุ์ห้านาที”
โดยนายอนันต์ รักดี ศิษย์เก่าคณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาวรรณคดีไทย KUรุ่น 71

libtalk20 2

      เมื่อต้นปีที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็ได้มีการจัดงานเกษตรแฟร์ประจำปี 2562 ซึ่งภายในงานก็จะมีการออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทางด้านเกษตรมากมาย นอกจากนี้ ภายในงานยังส่งเสริมแนวคิดการแปรรูปมันสำปะหลังสำหรับการบริโภคให้มีความหลากหลายมากขึ้นรวมถึงมีคุณค่าทางโภชนาการมีความสะอาดปลอดภัยอาจจะนำไปสู่ความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีผ่านความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งก็ได้มีการประกวดอาหารเป็นอาหารคาวหวานหรืออาหารว่างที่ทำจากมันสำปะหลังพันธุ์ห้านาที เป็นการจัดประกวดโดยภาควิชาพืชไร่นา และภาคคหกรรม คณะเกษตร ร่วมกับสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

     วันนี้ได้รับเกียรติจากผู้ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกอบอาหารครั้งนี้ โดยสามารถคว้ารางวัลที่ 1 ทั้งประเภทอาหารคาวและอาหารหวานจากเมนู “ญ็อกกี้ขี้เมาไก่” และเมนู “มันมิลเฟย” ขอต้อนรับคุณอนันต์ รักดี ศิษย์เก่าจาก KU 71 สาขาวิชาวรรณคดีไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์


ทราบข่าวการแข่งขันการประกวดทำอาหารจากที่ไหนแล้วก็ทำไมถึงสนใจเข้าร่วมการแข่งขัน


      ก่อนหน้านี้ได้ทำงานเป็นผู้ช่วยนักวิจัยโครงการพัฒนามันสำปะหลัง ของคณะเกษตร กับอาจารย์ปิยะ กิตติภาดากุล ออกจากงานมาได้ประมาณ 3-4 เดือน อาจารย์ก็ได้ส่งโปสเตอร์มาว่ามีการแข่งขันทำอาหารจากมันสำปะหลังนะสนใจไหม และผมก็เป็นคนสนใจทำอาหารอยู่แล้ว และอาจารย์ก็ทราบว่าเราสนใจการทำอาหาร อยากมาลองแข่งดูไหมจะได้ประสบการณ์
ก่อนหน้านี้คุณอี๊ฟเป็นเชฟมาก่อนไหม


      ก่อนหน้าที่จะมาทำงานเป็นผู้ช่วยนักวิจัย ขายอาหารขายของมาก่อน และมีโอกาสได้มาแข่งขันรายการมาสเตอร์เชฟ แล้วอาจารย์ก็เห็นแววว่าเราเคยไปช่วยเพื่อนตอนที่เรียน ป.โท ทำงานเก็บข้อมูลวิจัย อาจารย์เลยถามว่าคุณสนใจจะมาทำเต็มตัวไหม เราคิดว่างานผู้ช่วยนักวิจัยมันท้าทายเพราะว่ามันข้ามสายจากที่เราจบมาจากวรรณคดี ก็เลยรู้สึกว่ามันเป็นอะไรที่ใหม่และน่าจะท้าทายความรู้ความสามารถของเราพอสมควร ก็เลยได้เข้ามาเป็นผู้ช่วยนักวิจัยอยู่ประมาณปีหนึ่ง


อาจารย์ก็เลยมีโปรเจกต์มานำเสนอ


      ใช่ครับ พอหมดสัญญา 1 ปี ผมก็ออกมาทำฟรีแลนซ์ ทำในสิ่งที่เราอยากทำอีกหลาย ๆ อย่าง แล้วอาจารย์ก็ส่งโปสเตอร์มาว่างานเกษตรแฟร์ปีนี้นะมีแข่งทำอาหาร ผมเลยลองสมัครเข้ามาดู


สองเมนูที่ชนะเลิศ “ญ็อกกี้ขี้เมาไก่” และเมนู “มันมิลเฟย” ช่วยเราที่มาว่ามีความคิดสร้างสรรค์ในการทำเมนูนี้อย่างไร


      ตอนแรกเข้าใจว่าให้แข่ง 1 เมนู ก็เลยส่งใบสมัครมาแค่ 1 เมนูอาจารย์ก็บอกว่าสามารถที่จะส่งได้ทั้ง 2 ประเภท เพราะเราแข่งแยกกันทั้งคาวและหวาน ตอนที่เราสนใจที่จะเข้าร่วมเราก็เริ่มจากของหวานก่อนเพราะเดิมทีแล้วผมเป็นคนนครศรีธรรมราชจะมีขนมอย่างหนึ่งก็คือเราได้แรงบัลดาลใจจากขนมตัวนี้ เขาจะเรียกว่าขนมถาดหัวมัน ใช้มันสำปะหลังน่าจะเป็นพันธุ์ไม่แน่ใจหัวมันจะเป็นสีเหลือง เป็นขนมมันที่เราทานปกติคลุกกับมะพร้าวเป็นชิ้นสี่เหลี่ยมแต่ในคนนครเขาจะนิ่งในถาดกลมใหญ่ ๆ ด้านหน้าจะใส่เป็นกะทิคล้าย ๆ กับตะโก้ ด้านหลังก็จะเป็นมัน เราก็รู้สึกว่าที่นครมีขนมหลายอย่างมาก ๆ ที่ทำมาจากมันสำปะหลัง และตอนเด็ก ๆ เราก็เห็นแม่ทำขนมบ้าบิ่นจากมันสำปะหลัง ก็เลยตั้งต้นมาว่าเราจะเอาขนมทั้ง 2 อย่างนี้มาผสมกันเพื่อที่จะให้ได้ texture ความนิ่มและความกรอบ แต่ตอนที่เราเราเอาทั้งสองอย่างมาผสมกันแล้วมันก็อร่อยแต่ทานแล้วมันเลี่ยนทานได้ไม่กี่คำ ก็เลยเบรคไว้ก่อน แล้วมันก็มีขนมส่วนที่เหลือที่เราซ้อมทำใส่ไว้ในตู้เย็นจะทึ้งก็เสียดายก็ยังสามารถกินได้อีกหลายวัน แล้วตอนเช้าก็มานั่งคิดออกแบบจานว่าจะเสริฟอย่างไงดีจะจัดจานอย่างไงดี เราก็มานั่งหั่นจะทำเป็นวงกลม จะทำเป็นสี่เหลี่ยมพื้นผ้า หรือสี่เหลี่ยมจตุรัส พอหั่นไปหั่นมาเราก็ตัดเป็นชิ้น มีส่วนที่เป็นเส้นบาง ๆ ประมาณไม้บรรทัดก็นึกขึ้นมาถ้าเราได้เป็นแผ่นบาง ๆ แล้วเราก็จะเอาอะไรมาใส่ได้ ก็นึกถึง ‘มิลเฟย’ เป็นขนมของฝรั่งเศษจะซ้อนกันเป็นชั้น ๆ สลับกันเป็นคัสตาร์ดครีมผลไม้ ถ้าเป็นมิลเฟยเราก็คิดต่อเพราะหนึ่งเราไม่มีตู้อบ สองการทำแป้งพับมันใช้เวลานานก็เลยนึกถึงว่าถ้าเป็นขนมไทย ๆ เราจะทำเป็นอะไรดี โดยที่ประหยัดเวลาและไม่ต้องใช้เตาอบ ก็นึกถึงโรตีขึ้นมา ที่ใช้การทอดแทน ก็เลยทำแป้งโรตีเดิมเป็นคนทำโรตีเป็นอยู่แล้ว ลองมาปรับปรุงว่าจะทำอะไรต่อได้ ลองปรับสูตรแป้งโรตีให้มันคล้ายคลึงกับแป้งพับโดยที่เราไม่ต้องอบและใช้เวลาสักครึ่งชั่วโมงแล้วได้แบบเดียวกันกับแป้งพับ ลองทำดูปรากฎว่ามันเข้ากันและก็อร่อยแล้วคราวนี้ก็ตั้งโจทย์ขึ้นอีกถ้ามันมีแค่ 2 อย่างมันธรรมดาเกินไป แล้วเราก็รู้สึกว่าอยากทำให้มันว๊าว โดยทำขนมที่ทำมาจากมันสำปะหลังหรือขนมแบบไทย ๆ เนี่ยมันดูว๊าวดูแล้วเตะตาน่าสนใจ แล้วบังเอิญว่าช่วงนั้นเป็นช่วงเกษตรแฟร์มันก็จะมีสตอเบอรี่เยอะกับมะม่วงก็พึ่งออกแล้วถ้าเราทานกับผลไม้ละมันจะอร่อยไหม เราเลยลองเอาผลไม้ใส่เข้ามาก็จะมีมะม่วง สตอเบอรี่ และเพิ่มกีวี่ จะได้เป็น 3 สี เป็นสีเหลือง แดง เขียว คือเอาสีเข้ามาเล่นด้วย พอเพิ่มสีเข้าไปมันก็ดีขึ้น แล้วก็ลองไปค้นหาการจัดจานขนมหวานดูว่าอันไหนที่น่าสนใจพอเราค้นหามาก ๆ เราก็จะเห็นว่าของที่มันดูดีดูโมเดลมันก็จะมีของกระจุ๊กกระจิ๊กตกแต่งเยอะ ๆ ไปเห็นตัวหนึ่งที่มันเป็นคัมโบ้ เป็นคุ๊กกี้ตัวหนึ่งเป็นผง ๆ มีความกรอบของโรตี มีความนิ่มความสดชื่นของผลไม้ แล้วถ้าเราใส่คัมโบ้เข้าไปมันจะอร่อยไหม ตอนที่เราทำคัมโบ้ทดลองกับไมโครเวฟจะได้ไหม มันก็พอไปได้ ก็เลยใส่คัมโบ้เข้ามาเพิ่มถั่วต่างๆ ให้มีความกรุบกรอบให้มีหลายมิติ พอทำเสร็จก็ให้เพื่อนลองชิมดูว่ารสชาติเป็นอย่างไง ก็โอเครสชาติไปด้วยกันได้ดีกับมันสำปะหลัง อันนั้นก็จะเป็นที่มาของเมนูขนมหวาน“มันมิลเฟย”


พูดถึงเมนูคาวบ้าง “ญ็อกกี้ขี้เมาไก่” มันมีส่วนประกอบอะไรบ้าง

     โจทย์นี้ก็ยากเพราะเราก็ไม่ค่อยเห็นว่ามันสำปะหลังจะเข้ามาอยู่ในอาหารคาวอย่างไง ก็เลยโทรปรึกษาแม่ว่าเคยทำอาหารคาวจากมันสำปะหลังไหม แม่ก็บอกว่าเคยเห็นว่าเขาใส่ในแกง เราก็จะเห็นว่าแกงมัสมั่นก็จะใส่มันฝรั่งหรือมันเทศ ถ้าลองเอามันสำปะหลังมาใส่ในแกงมัสมั่นว่าจะเป็นอย่างไงตอนนั้นยังอยู่ในกระดาษพอคิดไปคิดมามันก็ดูธรรมดาไป เราก็ไปดูรายการทำอาหารแล้วนั่งคิดอยู่ 2-3 วัน ก่อนจะได้เมนูมา ก็นึกถึงญ๊อกกี้ เพราะว่าญ๊อกกี้เป็นอาหารตะวันตก ถ้าเราเอามันสำปะหลังมาทำให้มันผสมเข้ากันได้มันน่าจะว๊าวพอสมควร ด้วยความที่ญ๊อกกี้เป็นพลาสต้าอย่างหนึ่งทางฝั่งตะวันตกถ้าเราจะทำแบบในครัวไทยสำหรับคนไทยเราจะทำเป็นซอสอะไรดี ระหว่างขี้เมากับกะเพรา ถ้าเป็นขี้เมามันจะมีความเผ็ดร้อนอยู่มากกว่ากะเพรา ลองเป็นญ๊อกกี้ขี้เมาไก่ดู เริ่มทดลองทำ 2-3 วัน ใช้วิธีการทำญ๊อกกี้ทั่วไป คือต้มมันสำปะหลังผสมกับแป้งดูเพราะญ๊อกกี้ใช้มันฝรั่งต้มผสมกับแป้ง ด้วยโจทย์ที่ว่าเพิ่มคุณค่าทางอาหารก็เลยลองเอาผักชี เกลือ พริกไทย ปรุงรสเข้าไปในตัวญ๊อกกี้เพื่อให้เส้นมีรสชาติมากยิ่งขึ้น แล้วก็ปรุงรสแบบไทย ๆ เหตุผลที่เลือกรสชาติแบบไทย ๆ คือว่าตั้งอยู่บนพื้นฐานของการเอาไปต่อยอดของเกษตรกร ของครัวไทย ถ้าเราทำเป็นซอสแบบฝรั่งมันก็จะทำอย่างและอุปกรณ์ก็หายากและดูยุ่งยาก ก็เลยเลือกเป็นขี้เมาเพราะผมคิดว่าในครัวของทุก ๆ บ้านน่าจะมีอยู่แล้ว


คิดว่าอาหารที่เราทำมันมีจุดเด่นเอกลักษณ์ตรงไหนที่ทำให้คณะกรรมการถึงเลือกอาหารเราให้ได้รับรางวัล


      คิดว่าอย่างขนมหวาน “มันมิลเฟย” การที่เราเอาอาหารไทยมาผสมผสานกับเทคนิคแบบตะวันตก พอมันมีองค์ประกอบหลากหลายแล้วทานแล้วมันเข้ากันได้ดีก็คิดว่าน่าจะเป็นจุดนั้น ส่วนอาหารคาวด้วยความที่เราเลือกแบบไทย ๆ ตัวคอนเซป การเอาไปใช้งาน การผสมผสานระหว่างอาหารไทยกับอาหารฝรั่ง


มันสำปะหลังพันธุ์ห้านาทีหลาย ๆ ท่านคงไม่รู้ว่าเป็นมันประเภทไหนอย่างไง หรือมีจุดเด่นอย่างไงที่ราเอามาทำ อธิบายพันธุ์ห้านาที


      ก่อนมาเป็นผู้ช่วยนักวิจัย ผมรู้จักแต่มันกินอย่างเดียวคือมันสำปะหลังที่ใช้รับประทาน เอาไปทำขนมอะไรต่าง ๆ พอมาเป็นผู้ช่วยนักวิจัยแล้วเรารู้จักมันอีกหลายอย่าง มันที่อยู่ในระบบอุตสาหกรรมอย่างที่ดัง ๆ ก็ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ก็จะมี KU50 ระยอง1 เป็นชื่อพันธุ์ของมันสำปะหลัง หนึ่งในนั้นก็จะมีพันธุ์ห้านาที เท่าที่ทราบมาในพันธุ์ห้านาทีจะมีปริมาณไซยาไนด์ต่ำทานแล้วไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย เขาเลยนิยมนำมาทำอาหารโดยใช้หัวสดมาทำโดยไม่ต้องผ่านกระบวนการทางอุตสาหกรรมก็เลยเป็นที่แพร่หลาย ง่ายต่อการปรุง แล้วก็สุกง่ายตามชื่อที่ว่าห้านาที ใช้เวลาปรุงเร็วกว่าพันธุ์อื่น ๆ ส่วนพันธุ์ที่ส่งออกทางอุตสาหกรรมจะมีไซยาไนด์สูงพอผ่านกระบวนการทางอุตสาหกรรมก็จะมีการสกัดไซยาไนด์ออก มันก็จะอยู่ในผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น แป้งมันสำปะหลัง

อย่างที่ทราบว่าคุณอี๊ฟจบมาทางด้านวรรณคดีไทยแล้วทำไมถึงมาทำงานทางด้านอาหารได้อย่างไง


      ตอนที่อยู่ ป.2 เราไม่ได้รวยมากเป็นคนชนชั้นกลางแม่ทำงานกลับบ้านดึก แล้วผมมีพี่น้องทั้งหมด 4 คน แม่ก็มีเวรให้ 4 อย่าง คือ ซักผ้า ล้างจาน ทำกับข้าว และกรอกน้ำ พี่น้อง 4 คนก็จะเวียนกันทำ พอเราได้ลงมือทำทั้ง 4 อย่าง แต่ละคนก็จะรู้ว่าชอบอะไรไม่ชอบอะไร ผมนี้เป็นคนชอบทำอาหารเรารู้ว่าเราชอบทำอาหาร พอถึงเวรเราเราก็จะแลกกับพี่ชายพี่สาวเราก็จะทำอาหารอย่างเดียว บางวันก็จะไปล้างจานด้วย ด้วยจุดตรงนั้นทำให้เราสั่งสมประสบการณ์และวิธีการต่าง ๆ พอแม่เห็นแววว่าเราทำอาหารได้ ท่านก็จะสอนทำโน้นทำนี้ ทำพริกแกง เหมือนเข้าครัวกับคุณแม่ตั้งแต่เด็ก ถ้าจริงจังจริง ๆ ก็น่าจะประมาณ ป.3 เพราะว่าตอนนั้นมีงานลูกเสือที่โรงเรียนผมเอาแก๊สปิกนิกไปเข้าค่ายลูกเสือ พ่อก็ไปส่งแต่ครูเขาก็ไม่ให้ใช้มันดูอันตราย เขาก็ให้ใช้ฟืน


ทำไมเราไม่เรียนทางด้านอาหาร แล้วมาเรียนวรรณคดีไทยได้อย่างไร


     ตอนที่จบ ม.6 ผมก็อย่างเรียนเชฟ แต่ตอนนั้นเชฟต้องจบสายวิทย์ ผมเรียน ศิลป์-ภาษาจีน แม่ก็อยากให้เรียนสายที่จบมาเป็นข้าราชการ ผมก็เลยเลือกสิ่งที่ถนัดอันดับที่ 2 ก็คือภาษาไทย วรรณคดี มาได้ที่ภาควิชาวรรณคดีไทย คณะมนุษยศาสตร์ ตอนที่เรียนเราก็ยังทำอาหารอยู่ปกติ อย่างที่หอพักก็จะมีงานบุญ งานโฮม เราก็จะทำกับข้าว ก็ถือโอกาสนี้ฝึกฝีมืออยู่ตลอดเวลา


ก่อนที่จะมาประกวดงานที่เกษตรแฟร์คุณอิ๊ฟได้ประกวดหรือเข้าแข่งขันอะไรมาบ้างไหม


      ก็มีบ้างครับ รายการแรกที่ไปแข่งก็น่าจะเป็นแชมป์แกงไทยของซีพี ตอนนั้นเราคิดว่าระดับความอร่อยของเราอยู่ตรงไหน เพราะว่าการที่เราทานแล้วรู้สึกว่ามันอร่อย คนที่บ้านรู้สึกว่ามันอร่อย มันอร่อยอย่างไง เพราะฉนั้นแล้วพอมีโครงงานนี้เข้ามา ก็จะมีแกงให้เลือก 5 อย่างคือ แพนง มัสมั่น เขียวหวาน ฉู่ฉี่ และแกงกระหรี่ไก่ ก็เลยเลือกทำฉู่ฉี่ แม่ทำบ่อยแล้วรู้สึกว่ามันอร่อยมาก ก็เลยเข้าแข่งขันรายการนี้ก็ได้เข้ารอบ 20 คนสุดท้าย และได้สัมภาษณ์ 5 คนสุดท้าย ก็เลยรู้สึกว่าฝีมือเราก็ไม่ธรรมดานะ เพราะว่าก่อนหน้านี้เราไม่รู้ว่าความอร่อยอยู่ระดับไหน ระดับชาวบ้าน หรือคนทั่วไปกินแล้วอร่อย ก็เลยรู้ว่าตัวเองก็พอมีฝีมือนะ รสมือก็น่าจะใช้ได้อยู่ อีกรายการหนึ่งที่มาแข่งก็คือ มาสเตอร์เชฟไทยแลนด์ ก่อนหน้านี้ก็จะมีรายการนี้ในอเมริกา ออสเตรเลีย เราก็ดูรายการผ่านยูทูป พอมีรายการนี้ในไทยเราก็รู้สึกว่าแบบมันน่าตื่นเต้นมากสำหรับเรา อย่างคนที่ชอบร้องเพลงก็จะต้องไปรายการ เดอะสตาร์ เอเอฟ Got Talent พอรายการอาหารมา ในแวดวงอาหารและคนที่ชอบในการทำอาหารก็จะไปรายการนี้ ครั้งแรกที่ไปยังไม่ได้เข้ารอบ ก็เลยได้มาทำงานกับอาจารย์ปิยะ แล้วคราวนี้เพื่อนก็ชวนไปเก็บข้อมูลเป็นเพื่อนหน่อย ด้วยงานของเราไม่ได้เจาะจงมากเราขายอาหารที่บ้าน ก็ไปช่วยเพื่อน 10 วัน แล้วอาจารย์ก็ขาดคนพอดีเลยชวนเราทำงาน เราก็รู้สึกว่างานนี้มันท้าทายเราก็เลยเข้าร่วม พอ season 2 เราก็ไปสมัครมาสเตอร์เชฟอีก รอบที่ดีที่สุดคือ รอบ 100 คนสุดท้าย


แล้วตอนนี้ยังอยู่ในระหว่างแข่งอยู่ไหม


      ไม่ครับ จบไปแล้ว ตอนนี้ก็อยู่ใน season 3 เชฟเขาก็ถามว่าไปเรียนจัดจานจากที่ไหน ผมก็ตอบไปว่าจาก IG มันดูว่าเป็นไปได้หรอ ตั้งแต่ season แรกแล้วที่เขาถามผม ผมก็ตอบไปว่าเรียนจาก IG เพราะตอนนั้น IG กำลังบูมแล้วเขาก็จะลงรูปเยอะ เราก็ติดตามแต่เชฟอย่างเดียว เพื่อนคนอื่นถ้าไม่สนิทจริง ๆ ก็ไม่ติดตาม เรารู้สึกว่าเราให้พื้นที่ใน IG นี้สำหรับกับการเรียนทำอาหาร บางทีมันเห็นอะไรบางอย่างถ้าเราใส่ใจจริง ๆ มันก็จะเห็นว่าในจานเชฟเขามี gimmick เล็ก ๆ หรือตรงนี้ใช้เทคนิคแบบไหน เช่น แครอททำเป็นรูปร่างแบบนี้เสริฟในจานแล้วมันดูโมเดล บางทีเห็นแว๊บ ๆ ในวิดีโอเราก็ตื่นเต้นอันไหนที่เราไม่เคยรู้มาก่อน


ดูเหมือนว่าคุณอิ๊ฟก็มีประสบการณ์มาบ้าง


      มีมาบ้างครับแล้วก็เรียนจาก IG พอเราดูบ่อย ๆ มันก็จะเกิดเป็นสไตล์ของเราเอง เรารู้สึกว่าจานนี้ถ้าเราเอาเนื้อสัตว์มาวางไว้ตรงนี้ เอาผักมาวางตรงนี้ มันจะดีกว่าไหม หรือเราอยากลองทำแบบนี้ ดัดแปลงโน้นนี้นั้น เหมือนกับเราได้แรงบัลดาลใจมาจากเชฟอีกต่อหนึ่ง เอามาฝึกก็จะเป็นรูปแบบของเรา


ในฐานะที่เราเข้าประกวดหลายรายการมีเมนูโปรดอะไรบ้างที่เป็นของตัวเอง
ชอบทานบ่อย ๆ น่าจะเป็นแกงส้มใต้ ฝีมือแม่


แกงส้มกับแกงเหลืองเหมือนกันไหม


      อย่างภาคกลางเขาจะเรียกแกงเหลือง แต่ภาคใต้เรียกแกงส้ม แต่ว่าแกงส้มภาคกลางก็อีกแบบหนึ่งจะโขกเนื้อปลาผสมเข้าไปบางที่ก็ใส่กระชายเข้าไปด้วย แต่ภาคใต้จะไม่ใส่กระชาย ส่วนใหญ่เราจะแกงโดยใช้เนื้อปลาเป็นชิ้น ๆ ใส่ผักเข้าไป ผักที่ใช้ก็ตามฤดูกาล รสชาติก็จะจัดจ้านกว่า จะเข้มข้นกว่า ได้ทานกับไข่เจียวก็คือนิพพานแล้ว ทานได้ทุกมื้อ


ทำเองบ่อยไหม


      อย่างแกงส้มไม่ค่อยได้ทำเองเพราะว่าไม่ค่อยว่าง ก็จะมีเป็นมื้อพิเศษ อย่างเพื่อนนัดรวมตัวกัน ก็จะทำกับข้าวหลาย ๆ อย่างทานกัน


คิดว่าสิ่งที่อยากที่สุดในการทำอาหารคืออะไร


      ล้างจาน คือจริง ๆ เป็นคนไม่ชอบล้างจาน ก็เลยรู้สึกว่ามันขี้เกียจ ถ้ามองด้วยวิธีว่าทำอาหารอะไรที่ยากที่สุดหลายคนก็จะบ่นว่าการเตรียมส่วนประกอบ ผมมีความสุขมากในการเดินตลาด เดินได้เป็นวันในซุปเปอร์มาเก็ต ก็คงเป็นเรื่องของการเตรียมอย่างเช่น มันมิลเฟย มันก็จะมีองค์ประกอบประมาณ 5 อย่างได้ ก็จะมี มันนิ่ง แผ่นแป้งทอด ก็จะมีตรงหน้ากะทิ หน้ากะทิเราก็ใช้วิธีการตุ๋นการกวดเอาน้ำลองข้างล่างเพื่อที่จะให้น้ำครีมละเอียดไม่เป็นเม็ด ก็เพิ่มความยากเข้ามาอีก แล้วก็จะมีในส่วนของผลไม้ คัมโบ้ แล้วก็ถั่วต่าง ๆ เตรียมอย่างต่ำ ๆ ก็ 5 อย่าง ถึงจะมาเป็นองค์ประกอบได้ 1 จาน ขั้นตอนการทำมันมิลเฟยก็จะยุ่งยาก ตอนที่แข่งกรรมการก็ให้เวลา 2 ชั่วโมง ตอนที่เราฝึกเราก็จับเวลาแต่ไม่ได้เป๊ะ เราก็รู้สึกว่าประมาณชั่วโมงครึ่งก็น่าจะเสร็จ แต่พอทำจริง ๆ คือ 2 ชั่วโมงนี้น้อยไปมากสำหรับการทำ 3 จาน ทั้ง ๆ ที่กรรมการก็บอกเหลืออีก 10 นาที ก็ 10 นาที ยังไม่รวมองค์ประกอบเลย ก็ถือว่ายากอยู่เหมือนกัน สรุปก็คือสิ่งที่ยากในการทำที่สุดคือ ขั้นตอนการเตรียม และการล้างจาน


หลังจากที่เราเข้าประกวดแล้วได้รับรางวัลชนะเลิศแล้วเป้าหมายต่อไปของคุณอิ๊ฟคืออะไร


      ในระยะสั้นก็คือว่า ตอนนี้มีเพลนว่าจะเปิดร้านอาหารเล็ก ๆ เป็นร้านข้าวมันไก่ วิธีการเตรียมหรือว่าจำนวนคนในร้านน้อยกว่า ความรู้สึกเราคือ เราใช้คนน้อย ทรัพยากรบุคคลเรามีน้อย ประหยัดงบด้วย ตอนนี้กำลังดูที่อยู่


แสดงว่าเราก็มีเทคนิคทำข้าวมันไก่ที่อร่อย


      ก็คิดว่ามีสูตรเด็ดอยู่ครับ อย่างข้าวมันไก่มันดูเป็นอาหารที่เรียกว่าเราเจอได้บ่อยมาก อาหารจานด่วน ที่ทุกคนกินได้ ข้าวมันไก่มันมีแต่ข้าวกับไก่ แต่ด้วยความง่ายมันซ้อนความยากเข้าไปในเมนูอย่างไก่เราก็จะต้มไม่เปื่อยมากชุ่มช่ำกำลังดีถึงจะอร่อย ข้าวถ้าทำเองก็จะใช้แค่ข้าวหอมมะลิ อย่างที่เราเจอคือข้าวไม่เรียงตัวสวยมันดูไม่เป็นเม็ดมันดูแฉะ ฉะนั้นข้าวก็มีส่วนสำคัญ น้ำจิ่มก็มีส่วนสำคัญ ฉะนั้นแล้วเมนูที่ดูเหมือนง่ายแต่ที่จริงมันยาก เราก้รู้สึกว่าเรามีสูตรที่ดี วิธีการปรุงเราก็น่าจะสู้ร้านอื่นได้ คิดว่าน่าจะไปได้ดี

เป้าหมายสูงสุดที่อยากจะทำ


      อยากจะเป็น Celebrity Chef คือว่า เหมือนเป็นดารา เป็นเซเลบทางด้านอาหาร อย่างในปัจจุบันก็อย่างเชฟชุมพล ในรายการเชฟกระทะเหล็ก เชฟป้อมในรายการมาสเตอร์เชฟ มันไม่ใช่แค่การทำอาหารมันหมายรวมไปถึงว่ามีพื้นที่สื่อจะประชาสัมพันธ์หรือว่าถ่ายทอดความรู้ของเราให้กับบุคคลอื่นได้ คือความตั้งใจของอิ๊ฟก็คือว่าเราอยากที่จะนำเสนออาหารใต้ อาหารพื้นบ้านของเราให้มันแพร่หลายมากยิ่งขึ้น เข้าถึงได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เป็นอาหารที่ทุกคนนึกถึงเวลาจะทานประมาณนี้ครับ ถ้าเราได้เป็นเชฟที่มีชื่อเสียงและได้นำเสนออาหารใต้ก็คิดว่าเป็นความฝันสูงสุดในเรื่องของการทำอาหาร


อยากให้คุณอิ๊ฟฝากแนวคิดกับน้องรุ่นใหม่ที่บ้างคนกำลังหาแรงบัลดาลใจของตัวเองว่าฉันอยากจะทำอะไรต่อไป


      เรียนจบมาผมก็ทำอะไรที่ผมอยากจะทำก่อนประมาณสักปีหนึ่ง ก่อนหน้าจะขึ้นปีหนึ่งไปเที่ยวทะเลกับเพื่อนแล้วก็จมน้ำทะเล เรารู้สึกว่าชีวิตมันไม่แน่ไม่นอนมันมีเวลานิดเดียว พอเรามาเรียนในมหาวิทยาลัยก็เลยทำอะไรที่เราอยากทำถ้ามันไม่เป็นสิ่งที่เดือดร้อนคนอื่น การที่เราได้ทำอะไรที่เราอยากทำผมคิดว่าชีวิตนี้มันมีคุณค่านะ ถ้าเราเอามาตรฐานของสังคมมาใช้ การที่คนอื่นบอกคุณว่าคุณยังไม่ประสบความสำเร็จ แต่เราจะรู้ว่าการประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นให้ตัวของเราเป็นคนบอกเอง บางทีเพื่อนก็จะบอกว่าทำไมอิ๊ฟไปโน้นไปนี้ทำโน้นทำนี้สบายจังไม่ทำงานหรอแต่จริง ๆ เราทำ แต่เราเลือกที่จะทำในแบบของเรา บ้างคนก็จะมองว่าอายุขนาดนี้แล้วทำไมไม่มีอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลยแต่สิ่งที่เราได้ทำ ความสุขของเราที่เราได้ทำในสิ่งที่เราอยากทำผมว่ามันมีค่าแล้วมันให้คุณค่ากับชีวิตของเรามันไม่ได้ให้ความสุขแก่คนอื่น เพราะฉะนั้นการที่เราทำอะไรที่มันไม่เดือดร้อนสังคม คนอื่น และมันเป็นความสุขของเราจะทำให้เราไปข้างหน้าได้ สิ่งที่เราชอบทำมันจะเป็นตัวผลักดันเราไปข้างหน้า และมันจะเป็นตัวขับเคลื่อนให้เราประสบความสำเร็จ เพราะการที่เราอยู่กับสิ่งที่เรารักสักวันหนึ่งเราก็จะประสบความสำเร็จในแบบของเราครับ


      การที่เราจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นขอแค่น้อง ๆ ลองค้นคว้าหาวิธีการแล้วลงมือทำซึ่งจะสำเร็จหรือไม่สำเร็จตัวเราเองเท่านั้นที่จะรู้ อย่างคุณอิ๊ฟเองก็มีการใช้ทั้งประสบการณ์ในเรื่อง ๆ มาผนวกผสมผสานกันและก็มีการลงมือทำอย่างที่ตัวเองตั้งใจไว้ถึงได้ก้าวมาถึงจุดนี้ได้อย่างมีคุณภาพ

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

KULIB Talk ตอนที่ 6 บอล – ยอด จากผู้ผลิตรายการสู่รางวัลนักสำรวจ

“เมื่อเวลาเดินทาง เราก็จะได้สำรวจตัวเองไปด้วย แม้ว่าเราจะเดินทางไปไกลแค่ไหน แต่สุดท้ายเราก็มองเข้าไปในจิตใจของตัวเอง”

                                                                      Quote by คุณพิศาล แสงจันทร์ (คุณยอด)

          เมื่อวันที่ 26 กันยายน 2561 คุณทายาท เดชเสถียร (คุณบอล) ศิษย์เก่าคณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมวัสดุ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคุณพิศาล แสงจันทร์ (คุณยอด) ศิษย์เก่า คณะอุตสาหกรรมเกษตรภาควิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับ 2 ได้ให้เกียรติมาสัมภาษณ์รายการ KULIB Talk และมาช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการเดินทางและค้นหาความหมายของชีวิต โดยที่ทั้งคู่ได้เล่าเรื่องราวของจุดเริ่มต้นในการร่วมงานกันเกิดจากการทำงานชมรมค่าสร้างสรรค์เยาวชนจนเกิดความคิดอยากทำหนังสั้น โดยยืมอุปกรณ์เครื่องมือจากน้องๆคณะมนุษยศาสตร์ ขอยืมนักแสดงจากน้องๆสถาปัตย์ เรื่องแรกได้เรื่องมาจากหนังสือรวมเรื่องสั้นของรุ่นพี่ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล้องหาหยิบยืมเอา อุปกรณ์สมัยนั้นอยากได้ Dolly (กล้องค่อยๆ เลื่อนจากซ้ายไปขวาที่เห็นในทีวี) เราไม่มีราง Dolly ใช้รถซาเล้งของชมรมช่วยกันเข็น ตกหลุมก็ถ่ายกันใหม่ หนังสั้นเรื่องแรกเกิดจากเกษตร ช่วยกันทำจากความขาดแคลนที่มี และก็เป็นจุดเริ่มต้นในการส่งหนังสั้นเข้าประกวด ซึ่งในช่วงแรกเชื่อว่า การที่ได้รางวัล การได้เอาหนังไปประกวดเมืองนอก จะทำให้บริษัทค่ายหนังใหญ่ๆ มาจองตัว ก่อนเราจบ แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงไม่ได้ง่าย ไม่ได้สวยหรู ต้องหาทุนเอง จะตะเกียกตะกายทุกอย่างเอง ไม่มีใครมาสนับสนุนเราได้ง่ายๆ เพราะฉะนั้นจุดเริ่มต้นของรายการ คือหนังสารคดี “กว่าจะได้เดินทางไปเมืองนอก” ตอนนั้น ไทยพีบีเอส เกิดขึ้นมา (ใช้ชื่อว่าทีวีไทย) หนังสารคดีที่ตั้งใจไว้จะให้เป็นหนังสองชั่วโมงก็ยาวเกินสองชั่วโมง ตัดเป็นรายการส่งเข้าทีวีผ่านกระบวนสร้างสรรค์ของสถานี จนเกิดเป็น “หนังพาไป”

“ภาษา” จำเป็น แต่ไม่ได้เป็นอุปสรรค

          การไปต่างประเทศภาษาไม่จำเป็นต้องดีเลิศ ถ้าเราไม่ต้องการไปสืบข้อมูลที่มันลึกซึ้ง แค่ไม่ขึ้นเครื่องบินผิด รู้แค่ว่าอ่านได้ สื่อสารได้เท่านั้น สื่อสารได้ดีจากประสบการณ์ความจริงในโลกไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษสื่อสารกันทั้งหมดบางประเทศต่อให้พูดภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ภาษาสเปน เขาก็ฟังไม่รู้เรื่อง เขานึกว่าเราพูดภาษาหนึ่งในมณฑลเขาหรือแขนงเขาเท่านั้นเอง มันจำเป็นไหม ก็จำเป็น แต่ไม่ใช่อุปสรรคของการที่จะออกไปเดินทาง

 

จากผู้ผลิตรายการสู่รางวัลนักสำรวจNational Geographic Thailand Explorer Awards 2018

          รางวัลนี้เป็นรางวัลที่มอบให้บุคคลแขนงต่างๆด้านการสำรวจ หรือบุกเบิกอะไรใหม่ที่น่าสนใจ บางท่านเป็นอาจารย์เป็นผู้บุกเบิกเกี่ยวกับการขุดฟอสซิล ไดโนเสาร์ ในประเทศไทยมานาน  บางท่านเป็นช่างภาพสารคดีใต้น้ำ บุกเบิกในประเทศเรามานาน บางท่านเป็นอาจารย์วิจัยขั้วโลกเหนือ ขั้วโลกใต้ตอนนี้ ซึ่งก็ถือว่าในเรื่องนั้นๆ เป็นผู้บุกเบิกเส้นทางใหม่ๆ รวมทั้งคนที่ทำรายการโทรทัศน์ จะมี 4 รายการ นอกจากหนังพาไปก็มี คุณเรย์ แมคโดนัลด์ ผู้บุกเบิกรายการท่องเที่ยว ตั้งแต่เราในวัยเด็ก คุณวรรณสิงห์ ประเสริฐกุล รายการเถื่อนทราเวลตุ๊กตุ๊ก ทีทีไรเดอร์ และเขียน blog บุกเบิกอีกแนวทางหนึ่งเหมือนกัน ส่วนรายการหนังพาไปนั้นน่าจะเป็นการบุกเบิกวิธีการถ่ายทำแบบใหม่ถือกล้องตัวเดียว ไม่ต้องใช้พิธีกรหน้าตาดี ไม่ต้องไปอยู่หลังกล้อง เห็นแต่ภาพวิวสวยๆ ไม่มีใครมาพูดมีแต่เสียงพากย์ แต่เราก็เอาตัวเรามาอยู่หน้ากล้องได้ นี่คือวิธีการใหม่ๆ อาจจะเป็นโดยเรื่อง เพราะรายการท่องเที่ยวในยุคนั้นต้องไปให้ถึง ไปให้เห็น เห็นภาพสวยๆ บทดีๆ พอหนังพาไปประกาศไป คนดูจะงง ไปก็ไม่ถึง โดนโกงบ้าง บอกจะไปที่นี่ สุดท้ายดูจนจบก็ไปไม่ถึง เจอค่าเข้าแพงก็ไม่เข้า เรายืนยันจะที่จะเล่าแบบนี้เพราะมันสนุกกับการเล่าเรื่องแบบนี้คิดว่าอาจจะเป็นแบบนี้ ที่ทำให้คณะกรรมการเห็นคุณค่า“พอเริ่มเดินทางและเห็นคนอื่นๆ ออกเดินทางมานั้น สำรวจ ไม่ใช่แค่การสำรวจ พื้นที่หรือผู้คน แต่เมื่อเวลาเดินทาง เราก็จะได้สำรวจตัวเองไปด้วย แม้ว่าเราจะเดินทางไปไกลแค่ไหน แต่สุดท้ายเราก็มองเข้าไปในจิตใจของตัวเอง”

“หนังสือ”เล่มโปรด

เล่มแรก “ข้างหลังโปสการ์ด” เขียนโดยคุณหลาน เสรีไทย เป็นนามปากกา เป็นหนังสือเกี่ยวกับบันทึกการเดินทางแบ็คแพ็คเกอร์รุ่นแรกของไทย คล้ายกับหนังพาไปเวอร์ชั่นหนังสือ บุกเบิกการเดินทางในแบบหนึ่ง ที่หนังพาไปมีกลิ่นๆ เขาอยู่บ้าง เขาไปเที่ยว และมีการวิพากษ์วิจารณ์ ตั้งคำถาม เล่าเรื่องที่ปกตินักท่องเที่ยวจะไม่เล่าเช่น เกร็ดเล็กเกร็ดน้อยด้านมืดของคนที่เขาไปเจอ ประเทศที่เขาไปเจอ ทั้งด้านมืดในตัวเขาเอง ในการคลี่คลาย

อีกเล่ม คือ “มีชีวิต...เพื่ออิสรภาพ” เป็นหนังสือที่เขียนถึงผู้หญิงเกาหลีเหนือ ที่หนีออกจากเกาหลีเหนือ ผ่านจีน ตอนนี้ใช้ชีวิตอยู่ในเกาหลีใต้เรียบร้อย เขาหนีจากเกาหลีเหนือมาโดยการลักลอบข้ามแม่น้ำไปทางจีน พอเข้าไปจีนกลายเป็นตกเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ เขาหนีไปพร้อมกับคุณแม่ ตั้งแต่วัยเด็ก ตอนอายุ 13 พอเป็นเหยื่อค้ามนุษย์ เขาก็โดนเหยื่อค้ามนุษย์ข่มขืน หรือแม้กระทั่งแม่เขาเองก็ถูกข่มขืนต่อหน้าต่อตาเขา เพียงเพราะให้เขารอดไปเรื่อยๆ เขาก็จะเล่าชีวิตว่าเขาเจออะไรบ้าง แต่สิ่งที่น่าสนใจก็คือ คนที่มาจากโลกอย่างเกาหลีเหนือ ต้องปรับตัวในเกาหลีใต้อย่างไร ทำให้ค้นพบว่าเล่มนี้สนุกมาก และมันตั้งคำถามไปถึงตัวเราเองว่าเราเจออะไรกันมาบ้าง ประเทศเราดีขนาดไหน ประเทศเรามีบางส่วนไหมที่คล้ายกับเกาหลีเหนือตอนนี้

เล่มต่อไป ชื่อหนังสือ “จากเมืองนุนสุมคำสู่อัสสัมแดนไท” เป็นหนังสือเกี่ยวกับการเดินทางของอาจารย์ด้านมานุษยวิทยาของหลายคน เขียนเล่าประสบการณ์ ของนักมานุษยวิทยาหลายคน เดินทางไปสู่ดินแดนอัสสัมในอินเดีย ทำให้เห็นการเชื่อมโยงความเป็นไทย

 

ฝากข้อคิดเห็น ความสำเร็จ การค้นพบตัวเอง

คุณบอล

คำถามในชีวิตมันซ้อนกันอยู่ระหว่างสิ่งที่อยากทำ กับสิ่งที่อยากเป็น ดูเหมือนเป็นคำถามที่คล้ายกัน แต่เป็นคนละคำถาม ถ้าเราชัดเจนกับคำถามนี้ เพราะว่าคำตอบไม่เหมือนกัน บางทีเราได้เป็นแล้ว เราไม่รู้ว่าเป็นแล้วยังไงต่อ ต้องทำอะไรบ้างในระหว่างที่เราเป็นตำแหน่งนั้น แต่ถ้าเกิดว่าอยากทำค้นพบว่าคำตอบไปได้อีกไกล ยังมีเรื่องสนุกให้เราทำอีกเยอะ การอยากเป็นรู้สึกว่ามันไปได้ไม่ได้ไกลเท่าไร อยากเป็นกับอยากทำ

คุณยอด

โลกมีคนหลายแบบ แบบที่มีความฝันที่ชัดเจน หรือเป็นแบบมีความฝันยังไม่ชัดเจน ไม่รู้ว่าตัวเองต้องการจะทำอะไรเลย พยายามทำหลายๆ แบบ สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าตัวเอง ฝันอะไร ก็ลองทำให้หมด ถ้าอันไหนสนุกก็ทำมันเรื่อยๆ เพราะว่าไม่มีใครบอกได้ว่า สิ่งที่เราทำในวันนี้ จะไปอยู่ในอนาคตรูปแบบไหน มันอาจเป็นเส้น เป็นจุดจุดหนึ่งที่ต้องมองจากอนาคตมา จะเห็นเส้นทางที่เชื่อมกันระหว่างการที่เราได้ทำสิ่งเหล่านี้

แนะนำหนังสือที่น่าสนใจจากฐานข้อมูล National Geographic

1. Timeless Journeys: Travels to the World's Legendary Places

2. National Geographic Atlas of the World, Tenth Edition

3. Indian Nations of North America

4. National Geographic Almanac of World History

5. The Voyage of the [Beagle]

6. Tigers Forever: Saving the World's Most Endangered Big Cat

7. An Uncommon History of Common Courtesy

8. 1000 Events That Shaped the World

9. National Geographic Traveler: South Africa

10. Citizens of the Sea: Wondrous Creatures from the Census of Marine Life

Kulib Talk #10



สัมภาษณ์ : นางสาวพฤฒาภรณ์ เมาลานนท์ นิสิตปริญญาโท ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
พิธีกร      : นางสาวปาณิสรา ปานแก้ว นิสิตคณะเศรษฐศาสตร์ พิธีกร

         วันนี้เราได้รับเกียรติจากนิสิตระดับปริญญาโท ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ เป็นตัวแทนจากทีมSKUBA – Jr ซึ่งได้ไปรับรางวัลรองชนะเลิศระดับโลกกันเลยทีเดียว จากการแข่งขันในครั้งนี้ เป็นการแข่งขัน RoboCup@Home ในรุ่นRoboCup@Home Education Challengeในงาน World RoboCup 2018 ที่เมือง มอลทรีออล (Montreal) ประเทศแคนนาดา จัดขึ้นในระหว่างวันที่ 16-22มิถุนายน 2561 จัดโดย RoboCup Federation, FESTO, J.P. Morgan, Mathworks และ Softbank Robotics ซึ่งการแข่งขันในครั้งนี้มีการแข่งขันมากกว่า 3,000 คน จาก 50 ประเทศทั่วโลก ซึ่งสมาชิกในทีม SKUBA – Jrประกอบด้วย

  1. นางสาวพฤฒาภรณ์ เมาลานนท์ นิสิตปริญญาโท ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  2. นางสาวพัชรีพร จึงสุทธิวงษ์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  3. นางสาวแพรพิรุณ อุทัยสาง นิสิตระดับปริญญาตรี ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
  4. นางสาวเบญจรัตน์ ศรีเพ็ชรดานนท์ บัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  5. โดยมี อ.ดร.กาญจนพันธุ์ สุขวิชชัย ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา


ตอนนี้เราก็ได้อยู่กับหนึ่งสมาชิก เป็นตัวแทนสาวสวยจากทีม SKUBA – Jr ยินดีต้อนรับนางสาวพฤฒาภรณ์ เมาลานนท์หรือพี่ทรายค่ะ

แนะนำตัว


     ชื่อพฤฒาภรณ์ เมาลานนท์ ชื่อเล่น ทราย ตอนนี้เรียนอยู่ระดับปริญญาโท วิศวกรรมไฟฟ้า สาขา Information and Communication Technology forEmbedded system เป็นนิสิตปริญญาโทแล้ว อย่างที่เราได้กล่าวไปแล้วสักครู่ เป็นตัวแทนจากทีม SKUBA – Jr ได้ไปรับรางวัลระดับโลก ในการแข่งขันครั้งนี้สมาชิกในทีมมารวมตัวกันได้อย่างไร แต่ละคนมีหน้าที่อะไรบ้าง

     ในคณะวิศวกรรมจะมีlabเป็น lab เกี่ยวกับงานวิจัยแต่ละอย่าง อย่าง lab ที่พี่ไปอยู่จะเกี่ยวกับการทำหุ่นยนต์ วิจัยเกี่ยวกับหุ่นยนต์ คนที่สนใจในหุ่นยนต์จะเข้ามาร่วม lab นี้อยู่แล้ว รวมตัวไปแข่งคนที่อยู่ใน labด้วยกันไปแข่ง เพราะเป็นคนที่มีความสนใจด้านหุ่นยนต์เหมือนกันอยู่แล้วเห็นเป็นผู้หญิงตัวเล็กๆ อย่างนี้ สนใจทำหุ่นยนต์ได้อย่างไร

     เริ่มจากความคิดตั้งแต่เด็ก ม.ปลาย รู้สึกว่าคนที่เรียนวิศวกรรมเขาเก่งจัง เขาเหมือนสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ได้ พอได้มีโอกาสเข้ามาเรียน ก็อยากเป็นส่วนหนึ่งที่ได้ทำ สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ คิดว่าเทคโนโลยีที่น่าสนใจที่สุด หุ่นยนต์น่าสนใจที่สุด เพราะว่าเป็นเทรนในระดับโลกที่หุ่นยนต์มีบทบาทเข้ามาสำคัญในปัจจุบันและอนาคตก็น่าจะสำคัญมากขึ้น ก็เลยสนใจด้านนี้

ในการประดิษฐ์หุ่นยนต์แต่ละตัว จะต้องมีพื้นฐานหรือความรู้ในเรื่องใดบ้าง ที่ต้องศึกษาเป็นพิเศษ

     หุ่นยนต์แต่ละตัวจะมีฟังก์ชั่น หรือการทำงานที่ไม่เหมือนกัน แล้วแต่ว่าเราต้องการเอาไปทำเพื่อสิ่งใด เช่น หุ่นยนต์ทางด้านอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมด้านอะไร อย่างประกอบรถยนต์อุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ก็ต้องยกของหนักได้ รถก็หนักตำแหน่งล็อก เชื่อม เป็นหุ่นยนต์เพื่อการเชื่อมก็จะเชื่อมจะยกของไม่ได้ จะออกแบบเพื่อเชื่อมเหล็ก ยกของต้องแข็งแรงต้องมีแรงยกเยอะ ถ้าหุ่นยนต์แข่งฟุตบอล ก็ต้องเตะบอลได้ ร่วมกับทีมได้ อะไรได้ วิ่งเร็วไหม แข็งแรงในระดับหนึ่งก็พอ แต่ต้องเน้นความเร็วเป็นหลัก แต่ถ้าหุ่นยนต์รับใช้ภายในบ้าน ต้องเซอร์วิสมนุษย์ได้ต้องคุยกับมนุษย์ได้ เหมือนเป็นคนคนหนึ่งเหมือนกัน แล้วแต่ฟังก์ชั่นการทำงาน การใช้งาน ความรู้พื้นฐานที่เอามาใช้ก็ถอดมาจากการทำงานนั้น อย่างที่บอกไปว่าอยากจะยกของหนัก อะไรมันยกได้ ใช้วัสดุอะไร เหล็กยกเหล็กก็ได้ พลาสติกยกเหล็กไม่ได้แล้ว ใช้พื้นฐานของเราและต่อยอดไปเรื่อยๆ กลไกในการยกจะเป็นอะไรดีใช้ไฟฟ้าคุมมอเตอร์อีกทีหรือว่าใช้ระบบ Hydraulic มันเหมาะสมกับงานนั้นมากกว่ากัน (พิธีกร เป็นเรื่องจุดประสงค์ของการใช้ เราจะประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อที่จะไปใช้งานอย่างไร ดูว่าแต่ละกลไกใช้อะไรบ้างแล้วศึกษาในเรื่องนั้นๆ)

ในการแข่งขันครั้งนี้ ใครเป็นผู้ชักชวนส่งผลงานเข้าประกวด

     ถ้าในงานนี้นะคะ ที่ของ มอลทรีออล แคนาดา ที่ไปแข่งมา เป็นProfessorDr Jeffrey Tanค่ะ เป็นprofessor จาก University of Tokyoแล้วก็ของnankai universityเป็นคนชักชวนให้มาแข่ง เนื่องจากตอนปริญญาตรีก็เรียนที่นี่ เกษตรศาสตร์ วิศวกรรมไฟฟ้า เคยไปแข่ง RoboCupมาแล้ว japan open robocup worldตอนอยู่ปี 3 ก็รู้จัก professor ท่านนี้เห็นว่าทีม scuba มีความสามารถที่จะไปแข่งในลีกของ education ได้ เขาก็เลยชักชวนมาแข่งลีกนี้ไหม เขาสนับสนุนให้ใช้หุ่นยนต์ มีช่วยจัดอบรมที่ญี่ปุ่นให้ไปอบรมก่อนเกี่ยวกับหุ่นยนต์นี้เป็นอย่างไร ให้เรามีความพร้อมมาแข่งที่ผ่านมามอลทรีออล แคนาดา
หุ่นยนต์ที่นำเข้าแข่งขันชื่อรุ่นอะไร ว่ามีคุณสมบัติอะไรบ้าง
ในลีก @Homeรอบนี้ที่ไปแข่งใช้เป็นstandard platform หมายความว่าเป็นหุ่นยนต์มาตรฐาน ก็คือ หุ่นยนต์ turtlebot2 ความสามารถในการทำงานของเขาก็คือ เขาจะมีส่วนฐานมาให้ ส่วน sensorสร้างแผนที่มาให้ supportทางด้าน hardwareต่างๆเราไม่ต้องไปทำส่วนของล้อเอง ส่วนของdriverคือเขาทำสำเร็จรูปตรงนี้มาให้เราแล้ว เรามีหน้าที่เขียนสมองให้เขา เราได้ร่างกายเขามา มีหน้าที่เขียนสมองให้เขา ช่วยย่นระยะเวลาในการซ่อมบำรุง maintenanceอะไรเกี่ยวกับหุ่นยนต์ภายนอกนี้ คุณสมบัติหลักๆ สามารถเคลื่อนที่ได้ในมิติที่ค่อนข้างแคบ ไม่เหมือนรถยนต์ที่มีตีวง หักออกได้เลยทันที ไปเฉียงกี่องศาก็ได้โดยที่หน้าไม่จำเป็นต้องหัน จะวิ่งแบบนี้ได้ สามารถสร้างแผนที่ได้ เห็นรูปของห้อง เห็นกำแพงห้อง สามารถเห็นสิ่งของได้ในระดับที่ตัวsensor อยู่

ทำไมถึงมีแนวคิดที่จะประดิษฐ์หุ่นยนต์แม่บ้าน

     เป็นเทรนของโลกที่ประชากรผู้สูงอายุจะมีอัตราประชากรมากขึ้นในทุกปี เพราะว่าวัยทำงานลดน้อยลง คนรุ่นใหม่จะไม่นิยมมีลูกแล้ว ทำให้อัตราประชากรในอนาคต รุ่นพ่อแม่หรือรุ่นพวกเราจะกลายเป็นผู้สูงอายุ จะมีวัยทำงานมาดูแลพวกเขาน้อยลง หมายความว่าประชากรผู้สูงอายุเหล่านี้ต้องการใครสักคน อะไรสักอย่างมาดูแล หุ่นยนต์จะตอบโจทย์ได้ในกรณีที่ลูกหลานไปทำงาน ไม่มีเวลาดูแล หุ่นยนต์จะดูแลคร่าวๆ ได้ เช่น อยู่ในบ้านช่วยเตือนว่า กินยารึยัง กินข้าวด้วยนะ ถ้าล้มจะได้แจ้งเตือนญาติลูกหลาน หรือว่าแจ้งรถพยาบาลได้เป็นพื้นฐานเหล่านี้ ที่เราไม่อยู่ตรงนั้น ไม่ได้ดูแล ณ ตอนนั้น หุ่นยนต์ก็จะดูแลให้เรา ณ ตอนนั้นให้เราได้ (พิธีกร ถือว่าเป็นนวัตกรรมที่น่าสนใจมากๆ เลย)
 


 
สำหรับเจ้าตัวหุ่นยนต์แม่บ้านมีหลักการทำงานอย่างไรบ้าง

     อย่างที่บอกตอนแรกการที่ให้หุ่นยนต์ทำยังไงเราต้องดูว่าเราต้องการให้มันทำงานอะไรได้ ในการแข่งขัน หุ่นยนต์ต้องสื่อสารกับมนุษย์ได้ เหมือนเราสามารถใช้เขาให้ไปทำความสะอาดได้ ไปหยิบจับของส่งของให้เราได้ หรือพูดคุยกับเราได้ เพราะฉะนั้นหุ่นยนต์รับใช้ภายในบ้าน จะไม่เหมือนกับหุ่นยนต์อื่นที่บอกมา หุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรม ทำโปรแกรมไว้ ทำหน้าที่ก็ทำ ทำไป หุ่นยนต์รับใช้ในบ้านต้องเหมือนคนในระดับหนึ่ง ต้องสื่อสารกับมนุษย์ได้ และวิธีการสื่อสารกับมนุษย์คือการพูดคุย อย่างที่เราพูดกันอยู่ เพราะฉะนั้นหุ่นยนต์ต้องฟังเราได้ และตอบเราได้เหมือนกัน เป็นขั้นแรกในการทำงานของหุ่นยนต์นี้ ต้องมีไมโครโฟน ต้องมีระบบประมวลผล ตอนแข่งในระดับโลกเป็นภาษาอังกฤษในการรับฟัง คำสั่งgo to the kitchen andbring me the bottleเขาก็ต้องแปลได้ว่าสิ่งที่พูดมา พูดอะไรออกมา ต้องแปล kitchen เป็นอะไร เป็นสถานที่ สถานที่ก็ต้อง merge กับ mapเหมือนแผนที่ในหัวของเรา ต้องรู้ว่าห้องครัวในบ้านเราอยู่ตรงไหน ต้องรู้ว่าขวดน้ำหน้าตาเป็นอย่างไร แล้วก็หา พอเจอแล้วจะbring มาให้เจ้าของอย่างไร ก็ต้องมีแขนไปคีบขวดน้ำนั้นได้ ต้องจำตำแหน่งที่เจ้าของสั่งได้ว่าให้เอากลับมาตรงไหน สมมุติกลับมาให้ที่เดิมแล้ว สมมุติอยู่ในห้องนั่งเล่น เจ้าของไม่อยู่ เดินไปไหน จะรอหรือหาเจ้าของ ถ้าหุ่นยนต์จะหาเจ้าของสิ่งต่อมาที่จะต้องทำได้คือ รู้จักหน้าเจ้าของ มองหน้าแล้วยื่นให้ ก็คือหน้าที่ฟังก์ชั่นเหมือนมนุษย์เลย ถอดแบบมาว่าอยากให้เขาทำงานยังไง ค่อยๆ ถอดส่วนประกอบออกมาเรื่อยๆ มนุษย์มีหูก็ติดไมโครโฟนแทน ถ้าอยากให้หุ่นยนต์พูด รับทราบ เดี๋ยวจะไปเอามาให้ ก็ต้องมีคำสั่งถูกต้องใช่ไหม ต้องมีลำโพงบอก พูดสื่อสารกับเราต่อได้ มีกล้องเพื่อมอง วัตถุมองหน้าเราได้ ค่อยๆ ถอดมามีแขนเพื่อหยิบจับของได้ ฟังก์ชั่นการทำงานคร่าวๆ จะเป็นประมาณอย่างที่เล่า เป็นเรื่องราวเราสั่งเขาทำมาหาเรา (พิธีกร กระบวนการทำงานยาวนานมาก จะต้องถอดทีละส่วน ไม่ว่าจะเป็นการมองเห็น การหยิบจับ)

อยากให้เล่าบรรยากาศวันที่ไปแข่งขันเป็นอย่างไรบ้าง

     ก่อนอื่นไปแข่ง บินไปแคนาดา ไกล พอไปถึงก็ต้องเตรียมตัวเข้าสนามแข่ง วันแข่ง 16-22 ตามตาราง เขาจะมีเวลาให้ผู้แข่งขันเข้าไปในสนามก่อน เราต้องไปถึงก่อน วันที่ 12, 13แล้ว เพราะว่าสนามจะเปิด 3 วันก่อนการแข่งขันเข้าไปset up สถานที่ หุ่นยนต์ หรือโต๊ะทำงานของเรา สถานที่ทำงานเราอยู่ตรงไหน 3 วันก่อนค่อยเริ่มแข่ง คล้ายๆเตรียมตัวนักกีฬา ไปถึงก่อนรีบจัดการลองเช็คดูว่า ที่เตรียมมาที่ไทย พอไปถึงที่นั่นสิ่งแวดล้อมเปลี่ยน เช่น อุณหภูมิหนาวกว่าที่นี่ มีปัญหากับsensorหรือcomputerเรารึเปล่า ก็ต้องเช็คว่ามีปัญหาไหม เคยไปแข่งครั้งหนึ่ง มันหนาวเกินไปทำให้มีปัญหา ตอนที่เคยออกกลางแจ้งแล้วร้อนเกินไป หุ่นยนต์ก็มีปัญหา เราก็ต้องลอง test ดูว่าสิ่งที่เตรียมมาใช้ได้จริงรึเปล่า ถ้าไม่ได้เราต้องแก้ไข ภายใน 3 วันนั้นให้สมบูรณ์ที่สุด เริ่มแข่งขันเขาก็จะบอกมาเป็นกฎ มาให้เราดาวน์โหลดเป็นเล่มในเว็บ ให้ทำอะไรในแต่ละวัน วันนี้ทำอะไรบ้าง ภารกิจทำอะไรบ้าง ให้ทำอะไรบ้าง เขาจะมาอธิบายหน้างานอีกที สถานที่จริง อันนี้เรียกห้องครัวนะ เพื่อไม่ให้เราผิดพลาดได้ พอเริ่มแข่งตอนที่ไปถึงค่อนข้างเครียด มีจาก 50 ประเทศ 3,000 กว่าทีม คือแบบ 3,000 คน มีหลายลีก football ลีก industrial ลีก @home ลีก rescueกู้ภัย ทุกคนจะเครียดกับงานตัวเอง บรรยากาศค่อนข้างกดดัน ทุกคนตั้งใจมาที่นี่อยากจะแข่ง อยากจะได้รางวัลอยู่แล้ว ก็ค่อนข้างกดดัน พอเห็นทำได้เราก็จะรู้สึกดีใจ พอเห็นว่าทีมอื่นเขาทำได้ดีกว่า อย่างเช่น วิธีเดียวกันเราทำซับซ้อนมาก สมมุติน่าจะเข้าใจง่ายสุด เช่น หยิบของ ท่าหยิบมนุษย์เราควรจะหยิบแค่ง่ายๆ หุ่นเราหยิบแบบท่ายาก อีกทีมเขาทำง่ายจัง หยิบได้เหมือนกัน Successวิธีเขาง่ายจังเลย ดูว่าเขาทำอย่างไรได้ความรู้ด้วย คุยกับเขาด้วยก็ได้ แลกเปลี่ยนความรู้ เพราะว่าถือว่าลีกนี้เป็น @Home Education เพื่อการศึกษา ทุกคนก็จะแชร์องค์ความรู้กันว่าเราได้สิ่งนี้ เราทำอย่างนี้มา หลังแข่งไปแล้วเราถึงไปถามเขาไม่ใช่ว่าแข่งอยู่มันจะเหมือนโกง ทำอย่างนี้ได้อย่างไรเขาก็จะสอน ผู้เข้าแข่งขันทุกคนใจดีมากเป็นเด็กนักศึกษาด้วยกัน ทุกคนก็เน้นนำความรู้เป็นหลัก ในการแชร์แลกเปลี่ยนความรู้กัน อย่างปีที่แล้วเราไปแข่ง ปีนี้เรามาเราอาจจะได้วิธีจากปีที่แล้วมาต่อยอด ข้อผิดพลาดจากปีที่แล้วมาต่อยอด ทำให้เกิดการพัฒนาที่ดีขึ้นสำหรับทุกคน ไม่ใช่แค่ว่าองค์ความรู้ของทีมเราจะอยู่กับทีมเราทีมเขาอยู่ทีมเขา ค่อนข้างมีบรรยากาศที่ดี ชอบตรงนี้มาก ทุกคนแชร์กันมันไม่ดูแบบเครียดมาก เครียดด้วยบรรยากาศกดดันเอง อยากเอาชนะ พอวันสุดท้ายแข่งเสร็จก็จะเป็นงานประกาศรางวัล หลังจากประกาศรางวัลเป็นงานเลี้ยง เรียกว่า เบ็นเค็ส งานเย็น งานเลี้ยงมีโอกาสได้พูดคุยกับทีมอื่น มีโอกาสสังสรรค์กันในวงการ ค่อนข้างสนุกนะคะ แต่จะเครียดตอนเตรียมตัวก่อนจะไปมากกว่า อยู่ที่ไทยทำงานกันหนักอยู่ (พิธีกร เป็นประสบการณ์ดี เป็นความรู้สึกที่เราประทับใจที่เราไปแข่งขัน)
ทราบมาว่าเรียนมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์มาตั้งแต่ปริญญาตรีเลย จนปริญญาโทก็เลือกเรียนที่นี่อยู่ ในฐานะที่เราเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คิดว่านวัตกรรมนี้สามารถให้อะไร มาช่วยอะไรประเทศของเราได้บ้าง

     อย่างที่บอกที่อธิบายมาตั้งแต่แรก หุ่นยนต์ไม่ใช่ทำสิ่งนี้เพื่อสิ่งนี้ เราเอาความรู้นั้นมาใช้เราไม่จำเป็นต้องอยู่กับความรู้นี้ เราก็ถอดความรู้มาใช้ได้ เช่น เรื่องจากใบหน้าคน เราต้องรู้จักใบหน้าเจ้าของ เจ้าของบ้านคือใคร คนแปลกหน้าคือคนนี้อยู่ในบ้านเรา ก็แจ้งเตือน แค่ถอดส่วนนี้ออกจากหุ่นยนต์ แล้วไปติดกับกล้องวงจรปิดได้ ทำให้ securityในตึกเราสูงมากขึ้น แทนที่จะต้องให้ยามมาดูกล้องวงจรปิดอีกทีซึ่งมีเยอะมาก เราทำให้กล้องวงจรปิดรู้จักเลยว่าเป็นคนที่เข้าตึกนี้ได้จริงๆ รึเปล่าจะบอกไปเลยแค่ตีกรอบคนที่ไม่ควรจะเข้า ยามจะได้ focus กับคนนี้เป็นพิเศษว่าใครเนี่ย เข้ามาได้อย่างไร ทำอะไรอยู่ เดินไปไหนนี่ เอาเทคโนโลยีนี้มาใช้ได้เราจะมีระบบความปลอดภัยที่ดีขึ้น หรือว่าเป็นเรื่องอื่นที่ญี่ปุ่นหุ่นยนต์มีบทบาทสำคัญมากในชีวิตประจำวัน อย่างเช่นร้านสะดวกซื้อ เขาไม่ใช้มนุษย์ในการเก็บเงินแล้ว ใช้หุ่นยนต์ในการเก็บเงิน เพราะว่าแม่นยำกว่า ลดเรื่องการโกหกของพนักงาน หรือว่าคนอาจจะเหนื่อย เข้าห้องน้ำ บางทีไม่อยู่ หุ่นยนต์พร้อมตลอด เพื่อทำให้ชีวิตประจำวันเราดีขึ้น พัฒนาเศรษฐกิจเราได้ เช่น อาจจะเอาเรื่องเกี่ยวกับการหยิบจับของ พัฒนาให้หุ่นแขนกลอุตสาหกรรมเราผลิตงานได้ดีขึ้น สามารถนำเทคโนโลยีพวกนี้ทั้งหมด แต่ละชิ้นส่วนกับไปจับไปmergeกับสิ่งของอื่นๆ เพื่อให้พัฒนารอบๆ เราได้อยู่แล้ว เพราะว่าประเทศของเราพัฒนาเติบโตอยู่ในทางด้านนี้ ถ้าเราเอาเทคโนโลยีมาใช้ เชื่อว่าประเทศเราน่าจะเติบโตได้เร็วมากขึ้นยิ่งกว่าเดิม (พิธีกร ถือเป็นการนำเทคโนโลยีมาใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ)

ผลงานการแข่งขันในรุ่นต่อๆไป สนใจจะเข้าร่วมแข่งขันต่อไปไหมคะ

     ก็คือว่าที่รวมตัวกันได้เป็นคนที่สนใจหุ่นยนต์มาเข้าlabscuba นี้ scuba เป็นชื่อทีมในlapส่วนชื่อ lab ที่คณะวิศวกรรม จะชื่อว่าrobot Citizensชุมชนของหุ่นยนต์ จะมีรุ่นน้องอยู่ใน lab ด้วย ตอนนี้ก็มีรุ่นน้องหลายคน กำลังจะไปRoboCup Japanopen ตอนเดือนพฤษภาคมที่จะถึงนี้ก็มีทีมของรุ่นน้องไปแข่ง ตอนนี้พี่เรียนปริญญาโทปีสองแล้ว พี่อยากจะเร่งทำงานวิจัยของพี่มากกว่า ถ่ายทอดความรู้ให้น้องต่อ ต่อยอดกับรุ่นน้องไปเรื่อยๆ ไปช่วยดูหน้างาน แต่ไม่ได้เป็นคนเข้าแข่งขันหลักแล้ว อาจจะแนะนำประสบการณ์ได้ว่า เจอปัญหาอย่างนี้ ควรจะแก้ยังไง เพื่อบอกเพื่อต่อยอดให้รุ่นน้อง ถ่ายทอดกับรุ่นน้องสู่รุ่นไปเรื่อยให้มีคนรับช่วงต่อ ตอนนี้ส่งไม้แล้ว ไม่ไหวแล้ว ต้องขอทำงานตัวเองบ้างแล้ว (พิธีกร เป็นการถ่ายทอดความรู้ให้กับน้องๆ รุ่นต่อไปมาสานต่อ)
ตอนนี้เรานั่งอยู่ในบรรยากาศของห้องสมุดเคยใช้บริการใดบ้างของห้องสมุด
     ตอนอยู่ ป.ตรี เข้ามาบ่อยมาดูหนังสือ ติวหนังสือกัน ที่นี่ชอบเกี่ยวกับมีคอมพิวเตอร์ใช้งานได้ ห้องประชุมช่วยสอนlectureได้ค่อนข้างได้ใช้งาน สิ่งที่ใช้งานบ่อยที่สุดคือ ฐานข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ของสำนักหอสมุด ของวิศวกรรมเราจะหาผลงานวิจัยของระดับโลก ต้องมี idเข้า เพราะฉะนั้นจะเข้าใช้ไม่ได้ ใช้ id ของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ผ่านสำนักหอสมุดในการหาข้อมูลบทความตีพิมพ์ทางวิชาการ ในเว็บ ieeeของคณะวิศวกรรม จะใช้ส่วนนี้บ่อยมากเพื่อดูว่าเขาทำงานวิจัยอะไรบ้าง เอามาใช้ได้ไหม search หา เหมือนคล้ายๆ อ่านหนังสือ  แต่อ่านใน e-book มากกว่า (พิธีกร ถือเป็นความสะดวกสบายอย่างหนึ่งในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ ได้)

ชอบอ่านหนังสือเรื่องไหนบ้าง หรือมีเล่มไหนเป็นเล่มโปรดของเราบ้าง

     ที่พูดมาเหมือนเป็นสายวิชาการ จริงๆ ถ้าเลือกอ่านได้เลือกอ่านนิยายมากกว่าค่ะ คือแบบว่าถ้าอ่านหนังสืออ่านเรียน อ่าน text เพื่อทำงานก็ต้องอ่าน ถ้าเพื่อการบันเทิงก็อ่านนิยาย อ่านการ์ตูน ถ้านิยายที่ชื่นชอบเป็นพิเศษ แฮร์รี่ พอตเตอร์กับ เพอร์ซีย์ แจ็คสัน ดูแปลกดีอันนี้จะดูสายวิทย์ วิศวะเลย ดูวิทย์วิทย์ทำไมถึงชอบแฟนซีขนาดนี้ มันก็ถ่วงดุลกัน ฝึกจินตนาการชอบเกี่ยวกับเวทมนต์ ความแฟนซีจะชอบแนวนี้มากเป็นพิเศษ (พิธีกร ถือเป็นอีกมุมมองหนึ่ง เราจะได้อ่านหนังสือหลากหลายแนว)
ในการแข่งขันเราได้ประสบการณ์ในเรื่องใดบ้าง

     อย่างที่บอก รับรู้ว่าทำไมคนอื่นเขาถึงใช้วิธีอย่างนี้ในการทำknowledgeของคนอื่นเขาคืออะไรในการทำวิธีเดียวกัน เราสามารถได้แลกเปลี่ยนความรู้ในตอนนั้นได้ ได้รับรู้ว่าประเทศอื่นเขาพัฒนาเจริญกว่าเราขนาดไหน เราควรจะมีเทคโนโลยีอะไรแบบนี้บ้าง ของเขาเห็นเป็นปกติแล้ว เราเห็น wowเรื่องใหม่จังเราช้าไปแล้วส่วนนี้ เราน่าจะทำให้เหมือนเขาได้ ด้วยความที่เป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยมีโอกาสได้ไปดูงานต่างประเทศ ได้แข่งขันระหว่างประเทศ ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ตรงนี้ก็ช่วยนำมาถ่ายทอดมาพัฒนางานวิจัยของเรา จะนำส่วนตรงนี้มาใช้ (พิธีกร ได้ทั้งความรู้และประสบการณ์ใหม่ๆ)
ทำไมถึงสนใจในการทำหุ่นยนต์

     ประมาณว่าคิดว่าหุ่นยนต์มันมีความสำคัญมากในอนาคต เรียนด้านนี้อยู่แล้วก็อยากจะช่วยพัฒนาอยากรู้ว่าทำยังไง ทำให้ดีขึ้นกว่าที่มีได้ไหม มีองค์ความรู้อะไรบ้าง ตอนแรกอยากจะลองดูในระดับหนึ่งเหมือนลองของว่ามันใช้อะไร ยากแค่ไหน กลายเป็นว่าสนุกดี มันรู้แล้วมันไม่มีทางพอ พัฒนาต่อยอดไปเรื่อยๆทำไปทำมามันเพลิน สนุก เหมือนวาดรูปมีวิธีนี้ด้วยเหรอ เปลี่ยนวิธีวาดคล้ายๆ กันทุกอย่างมันมีสิ่งที่ต่อยอดไปได้ เราทำแล้วรู้สึกสนุก อย่างของพี่รู้สึกว่าทำหุ่นยนต์แล้วสนุก เห็นมันฉลาดขึ้น ภูมิใจ
 
 
ในอนาคตอยากประกอบอาชีพอะไร หรือทำอะไรเป็นพิเศษ

         ก็เรียนวิศวกรรมมาก็คงต้องประกอบอาชีพวิศวกรรมค่ะ แต่ว่าทำอะไรเป็นพิเศษไหม อยากจะเอางานพวกนี้ เทคโนโลยีมาให้มันใช้ได้จริงในชีวิตประจำวันของเรา ไม่ใช่มีอะไรอยู่ก็ใช้ไปเถอะ อยากนำพวกนี้มาใช้ได้ ไม่รู้ว่าบริษัทเขาจะโอเคด้วยรึเปล่า ก็ต้องดูกันไป
ในฐานะที่เราเป็นตัวแทนที่ดีของเยาวชน มีอะไรจะฝากบอกกับเยาวชนรุ่นใหม่บ้างคะ
         สำหรับพี่ว่าน้องๆ ทุกคนไม่จำเป็นต้องมาทำหุ่นยนต์เหมือนพี่ ต้องทำอะไรเหมือนพี่ น้องต้องหาสิ่งที่น้องชอบ น้องอยากจะเป็นอะไรจริงๆ หาตัวเองให้ได้จริงๆ เอาตรงๆ พี่เข้าใจว่าสังคมบ้านเรา พ่อแม่มีผลกับเรามาก ประมาณว่าเป็นหมอสิลูก เป็นวิศวะสิลูก เป็นอันนี้สิลูก ถ้าน้องอยากเรียนศิลปะ ถ้าเป็นสิ่งที่น้องเป็นจริงๆ ชอบจริงๆ น้องไปเป็นสิ่งที่น้องชอบเถอะ ค้นหาตัวเองให้เจอ เราชอบสิ่งไหนเป็นตัวตนของเราจริงๆ เราจะทำสิ่งนั้นได้ดี เราจะสนุกกับมัน แล้วจะทำได้ดีด้วย มีแต่ได้กับได้ ไม่มีการบังคับ ค้นหาตัวเองให้เจอ และนำสิ่งนั้นมาเป็นแรงบันดาลใจ แรงผลักดันให้เราให้ทำสิ่งใหม่ๆ สิ่งต่างๆแปลกขึ้นหรือดีขึ้น หรือมีความสุขขึ้น ไม่ใช่ว่าด้านวิทยาศาสตร์เท่านั้น ด้านศิลปกรรมก็ได้ วาดรูปทำให้ดีเป็นผลงาน อย่างพี่ก็ชอบวาดรูป ถ้าเครียดๆ ก็ชอบวาดรูป ช่วยรู้สึกจรรโลงใจมากขึ้น เป็นคนจินตนาการสูงก็เขียนนิยาย เพื่อแบ่งปันจินตนาการของตัวเองให้กับคนอื่นได้ อย่างพี่ก็ชอบจินตนาการแฟนตาซี มันคือสิ่งที่น้องเป็น บางทีทำให้คนอื่นมีชีวิตที่ดีขึ้น มีความสุขมากขึ้นได้ จากตัวตนของน้องได้ (พิธีกร ค้นหาในทางที่ตัวเองชอบแล้วพัฒนาในสิ่งที่เราชอบ มันอาจจะทำให้คนอื่นได้รับประโยชน์จากสิ่งที่เราชอบด้วย)

ระยะเวลาในการประดิษฐ์คิดค้นหุ่นยนต์ TurtleBotนานไหมกว่าจะออกมาใช้งานได้แบบนี้

     หุ่นยนต์ TurtleBotเป็นหุ่นยนต์standard platform มี hardwareมาให้แล้ว ซื้อ hardware มา การจะทำคือการเขียนสมองให้กับเขา เพราะฉะนั้นนานไหม เตรียมตัวค่อนข้างนานประมาณ 2 ปีกว่าเลยค่ะ เกือบจะจบปี 3 จนถึงปัจจุบันนี้ ก็เกือบ 3 ปี ตอนแรกเพิ่งได้มาไม่รู้จักว่ามันคืออะไร เขาก็จัดอบรมเรียนที่มหาวิทยาลัยKanagawaไปเรียนที่นั่นเกี่ยวกับหุ่นยนต์ TurtleBotระบบที่มันใช้โปรแกรมที่มันใช้พื้นฐาน มันคืออะไรเขาก็จะสอนให้ พอสอนให้เราก็เอากลับมาลองทำ ลองทำ ไปแข่งครั้งแรก ประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งก็ยังมีอะไรมาแก้ไข อย่างนี้ไปเรื่อยๆ ตอนนี้ส่งไม้ต่อให้กับรุ่นน้อง มีไม้มาจากรุ่นพี่อีกทีเหมือนกัน นานหลายปี ไม่ใช่แค่คนคนเดียว ความรู้ถ่ายทอดประสบการณ์รุ่น ต่อรุ่น ต่อรุ่นไปเรื่อยๆ ก็อาจจะต่อไปได้อีกนานก็ได้ แล้วแต่ว่ารุ่นน้องจะทำต่อไหม หรือรับจากเรามาต่อรึเปล่า (พิธีกร ค่อยๆ พัฒนาแก้ไขไปเรื่อยๆ ใช้ระยะเวลานานเหมือนกันและจะส่งต่อไปเรื่อยๆ)ในอนาคตมีโอกาสจะพัฒนาหุ่นยนต์ให้มีรูปลักษณ์เหมือนคนจริงไหม
        
     คือก่อนหน้า TurtleBotทำมาแล้ว คือหุ่นยนต์openplatformคือทำอะไรก็ได้ ชื่อหุ่นยนต์คุณลำไย เป็นหุ่นยนต์ของที่lab พี่เหมือนกัน ทำก่อนหน้านี้ หน้าตาคล้ายคน มีสองแขน ใส่ชุดเหมือนแม่บ้าน มีกระโปรงมีหน้าตาจะค่อนข้างทำให้เหมือนคน เพราะว่าจะได้ดูเป็นมิตร คล้ายๆ friendlyเป็นการใช้เกี่ยวข้องกับมนุษย์ไม่ควรจะเป็นเหมือนเครื่องจักรมากเกินไป ถ้าทำให้มันเหมือนคนได้ก็จะดูเป็นมิตรกับมัน เข้าถึงกับมันมากกว่า

ในอนาคตมีโอกาสคิดค้นหุ่นยนต์พิเศษ หรือทำงานแบบต่างๆ แบบไหนได้บ้างไหม

     มีโอกาสอย่าง labพี่ robot Citizensไม่ได้บอกว่าเข้ามาต้องทำหุ่นยนต์รับใช้ภายในบ้านอย่างเดียว ตอนนี้ที่ labมีหุ่นยนต์เยอะมาก น้องคนไหนสนใจทำหุ่นยนต์ด้านอะไรมีเครื่องไม้เครื่องมือ และsupport ในการทำได้เยอะ ถ้าผลงานวิจัยของรุ่นพี่ทั้งหมดที่รวมกันมาและไม่นับหุ่นยนต์ที่ใช้แข่งคือ หุ่นยนต์เตะฟุตบอลกับหุ่นยนต์รับใช้ในบ้าน มีหุ่นยนต์ใต้น้ำเป็นอัตโนมัติใต้น้ำเหมือนกัน พี่เขาจะสนใจทำหุ่นยนต์ดำน้ำเขาก็ทำคนเดียว หรือจะรวมกันใน lab ทำด้วยกันก็ได้ มีหุ่นยนต์ทรงตัวบนลูกบอลคือ มีลูกบาสอยู่ หุ่นยนต์วางลงไปข้างบนแล้วก็วิ่งบนลูกบาส เขาก็ไปพัฒนาต่อยอดเรื่อยๆ เช่น อาจารย์ทำหุ่นยนต์ทรงตัวบนลูกบอล เอาลูกบอลวางไว้ หุ่นยนต์วางบนลูกบอล ลูกบอลวางบนหัวหุ่นยนต์อีกที วางสองชั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับการทรงตัว มีหุ่นยนต์ไต่กำแพง งานนี้ทำเองเป็นproject ตอนปี 4 หุ่นยนต์ไต่กำแพง ใช้เป็นระบบลม เพราะลมอากาศมีทุกที่ ไต่ได้ทุกพื้นผิวไม่ว่าจะไม้หรือเหล็ก ถ้ากระจกก็สุญญากาศ สุญญากาศใช้กับไม้หรือซีเมนต์ไม่ได้ ใช้แรงแม่เหล็ก แม่เหล็กต้องใช้กับเหล็กอย่างเดียว ใช้ไม้กับอย่างอื่นๆ ไม่ได้ เลยอยากหาหุ่นยนต์ไต่กำแพงที่ทำได้กับทุกระบบ ยังมีหุ่นยนต์นี่นั้นอีกเยอะมาก ถ้าเกิดในการจะทำหุ่นยนต์อย่างอื่นๆ ไหมมีโอกาสก็คือว่าน้องคนไหนที่สนใจอยากจะมาทำ เข้ามาที่ labสร้างหุ่นยนต์แบบใหม่ได้เลย ไม่ได้จำกัด labไม่ได้จำกัด จะต้องทำเพียงเท่านี้เท่านั้น ยินดีมากยิ่งมีหุ่นยนต์แบบใหม่ยิ่งได้ความรู้มากขึ้น (พิธีกร เป็นในแบบทีเราสนใจ)
 
 
แรงบันดาลใจในการสร้างหุ่นยนต์แต่ละตัว

     การที่งานด้านวิศวกรรมเราต้องเห็นว่ามันมีปัญหาอะไรก่อน เราถึงจะสร้างสิ่งอะไรบางอย่างมาแก้ปัญหาของเรา เช่น อยากได้ความสะดวกสบายมากขึ้น เช่นประกอบรถยนต์ คนมันยกไม่ได้ เราจะทำอย่างไรดี ให้ใช้คน 20 คน ในการยกประตูอันหนึ่งในการไปประกอบมันเปลืองหรืออะไรมากขึ้น ทำได้เร็วขึ้นสร้างหุ่นยนต์ขึ้นมา เพราะฉะนั้นแรงบันดาลใจในการสร้างหุ่นยนต์คือเราเห็นปัญหาเราอยากจะแก้ไขปัญหาในจุดนี้ เราค่อยสร้างสิ่งประดิษฐ์นั้นขึ้นมา อย่างพี่ตอนปี 4สร้างหุ่นยนต์ไต่กำแพงด้วยระบบลม เพราะว่าพี่เห็นว่าปัญหาของหุ่นยนต์ไต่กำแพงมันเฉพาะเจาะจงกับเนื้อของวัสดุกับกำแพงมากเกินไป สุญญากาศต้องกระจก หรือพื้นเรียบเท่านั้น พื้นซีเมนต์หรือไม้ที่ขรุขระไม่ได้เลย หรือว่าเหล็กต้องแม่เหล็กเท่านั้น มันไม่มีหุ่นยนต์ที่ปีนได้ทุกพื้นผิวหรือ ก็สร้างขึ้นมา เพราะฉะนั้นแรงบันดาลใจ คือ เห็นสิ่งนี้น่าจะมีสิ่งที่แก้ไขได้ หรือว่ามันทำให้ดีกว่านี้ได้เอามาเป็นแรงบันดาลใจในการทำสิ่งต่างๆ ไม่เฉพาะกับหุ่นยนต์หรือเรื่องอะไรก็ตาม
หุ่นยนต์ที่สร้างใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมได้ไหม

     ได้ค่ะ ถ้าหุ่นยนต์แบบนี้จะมีหน้าตาฐานแบบนี้ ใช้ได้จริงแล้วตอนนี้ ที่ห้องเก็บstock ของAmazonที่เขาบอกว่าเป็นหุ่นยนต์ส่งของ เก็บ stock ของ หยิบจาก shelf มา หุ่นยนต์ตอนนี้ใช้ในอุตสาหกรรมเยอะแล้ว แต่ว่าเราจะยังไม่เห็นมาก เพราะว่าเราอาจไม่ได้เรียนสายนี้ ไม่ได้เกี่ยวข้องกับทางนี้โดยตรง อย่างที่เห็นใช้ได้มาเยอะแล้ว อย่างแขนกลอุตสาหกรรมใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมเยอะ หลากหลายมาก หุ่นยนต์ทอผ้าก็มีไม่ได้ใช้คนทอผ้าอย่างเดียว ใช้หุ่นยนต์ทอผ้า ใช้หุ่นยนต์ในการตรวจสอบว่าผ้าถูกต้องรึเปล่า แล้วใช้ในการดูประกอบรถยนต์ เชื่อมเหล็ก เราเห็นภาพคนเชื่อมตามตึก แต่ในโรงงานจริงเป็นหุ่นยนต์หมดแล้ว ถ้ารับใช้ภายในบ้าน ตอนนี้เราเห็นชัดๆ เลย หุ่นยนต์ดูดฝุ่น มันเข้ามาแล้ว เราเรียกหุ่นยนต์ มันคือหุ่นยนต์แล้ว อันนี้มันคล้ายกันเราเริ่มมีตัวให้หุ่นยนต์ดูดฝุ่นแล้ว ฐานก็ดูดฝุ่นได้ ตัวก็ส่งของ หยิบจับ หรือเช็ดบนตู้ได้แล้ว เริ่มพัฒนาต่อยอดเข้าใกล้ชีวิตเรามากขึ้นกว่าเดิม
 
ในการที่หุ่นยนต์เริ่มเข้ามามีบทบาท รวมไปถึงสามารถทำอะไรได้หลายๆอย่าง การที่เป็นแบบนี้เราควรที่จะกลัวไหม ว่าหุ่นยนต์เข้ามาแทนที่ในเรื่องหรือสิ่งที่มนุษย์สามารถทำได้

     เป็นคำถามที่ทุกคนต้องถามจริงๆ ในมุมมองของพี่ เราน่าจะปรับตัวมากกว่ากลัว เราไม่ควรจะกลัวสิ่งใหม่ๆ เพราะว่าสิ่งใหม่ๆ มันมาอยู่แล้ว คนที่กลัวสิ่งใหม่ๆ คือคนที่ไม่อยากจะเปิดรับสิ่งใหม่หรือว่าประมาณว่ากลัวตัวเองอยู่ในโลกเก่า เรียกว่าโลกเก่าแล้วกัน ไม่อยากจะขึ้นมาโลกใหม่เลย ใช้ชีวิตได้ในโลกของตัวเองอยู่เท่านั้น ไม่อยากจะปรับตัวเองในการใช้ชีวิต มนุษย์เราปรับตัวในการใช้ชีวิตมาหลายยุคหลายสมัย นี่ก็เป็นอีกยุคหนึ่งที่ทุกคนควรจะปรับตัวมากกว่าที่จะกลัวและต่อต้านมัน เพราะว่าอย่างที่บอกว่าในตอนนี้ ประชากรลดน้อยลงในวัยทำงาน แต่ว่าเราต้องการแรงงานเท่าเดิม เราไม่มีคนจะมาจ้างแล้ว หุ่นยนต์มาแก้ปัญหาตรงนี้ ไม่ได้มาแย่งงานของเรา แต่ถ้าคนทั่วไปมีความสามารถที่ต่ำกว่าหุ่นยนต์ ใช่หุ่นยนต์จะมาแย่งงานคนที่มีความสามารถน้อยกว่าหุ่นยนต์แน่นอน แต่แทนที่เราจะเป็นอย่างนั้น เราพัฒนาตัวเองให้เราคุมมันดีกว่าไหม ไม่ใช่ว่าให้มันมาคุมเรา เราควรจะปรับตัว อย่างยุคหนึ่งที่ หลักๆ เลย ที่ปรับตัวมาแล้วคือเรื่องโทรศัพท์มือถือ ถามว่าทุกวันนี้เราใช้ไหม ใช้ ขาดไปวันหนึ่งเหมือนขาดอะไรไป หายไป ใจมันโหว่งๆ คนอื่นกดได้ ทำไมเรากดไม่ได้ แต่ว่ามียุคหนึ่งเขาต่อต้านกันมากโทรศัพท์มือถือ เรียนวิศวกรรมมา เขาจะเรียนประวัติศาสตร์เกี่ยวกับโทรคมมาคม เป็นยุคที่นักวิชาการหรือระดับคล้ายๆ ดร.แนวหน้าเขาต่อต้านกันสูงมาก เขาบอกว่าโทรศัพท์มือถือเป็นแค่เหมือนของเล่นใหม่ คนเห่อ แล้วเดี๋ยวก็เลิกเห่อ เป็นอย่างไรผ่านมา 50 ปี โทรศัพท์มีแต่บูมๆ ขึ้นเรื่อยๆ ตอนนั้นใช้อะไร ถ้าไม่ใช้โทรศัพท์ใช้รหัสmorseหรือโทรเลข ถามว่ามันพัฒนาจากจุดนั้นไหม ใช่ เราทุกคนก็ปรับตัวได้ มันก็เหมือนกัน Generationต่อไป เราก็น่าจะมีคนต่อต้าน สุดท้ายมันก็มาจริงๆ บอกเลยที่confirmมันมาแน่หุ่นยนต์ เราควรปรับตัวมากกว่า เราควรจะรู้ว่าในอนาคตเราจะเจออะไร เราเตรียมพร้อมก่อน เราก็จะพร้อมมากกว่าคนอื่นด้วย มันจะดีกว่าสำหรับพวกเรามากกว่า ที่จะปรับตัวไม่ใช่กลัวการเปลี่ยนแปลง ในความคิดเห็นส่วนตัวของพี่ทราย คิดว่ามนุษย์เราต้องปรับตัวอะไรไหม ถ้าสมมุติมีหุ่นยนต์เข้ามาแทนที่ก็ต้องปรับตัว เช่น ในเรื่องโทรศัพท์ก่อนที่จะเป็นโทรศัพท์มือถือ เราต่อต้านโทรศัพท์ครั้งแรก พอเปลี่ยนจากโทรสารเป็นโทรศัพท์บ้านก่อน มันจะมีสิ่งที่เรียกว่าชุมสายโทรศัพท์ โทรเข้าไปเหมือนcall centerในเขต ติดต่อบ้านเลขที่นี้ เขาจะดึงสายจากบ้านเราไปเสียบที่สายบ้านเลขที่นั้นแล้วกดต่อสายไปอีกที นั่นใช้มือคนในการทำ แล้วสุดท้ายตอนนี้ไม่มีอาชีพนี้อีกแล้ว หมายความว่าสุดท้าย บางอาชีพจะหายไป อันนี้จริงเพราะว่าเทคโนโลยีหรืออะไรบางอย่างมันเข้ามาแทนที่ เราควรปรับตัว คนที่สามารถสร้างระบบนั้นมาก่อน อย่างเช่นคนเสียบชุมสาย คนที่พัฒนาระบบนี้มา ก็คือทำให้อาชีพนี้หายไปอันนี้ก็ต้องยอมรับ มันสะดวกสบายกว่า แทนที่จะมารอคนชุมสายคนเดียวมาเสียบ เราก็ถือสายโทรศัพท์รอ3-4นาที ตอนนี้มันทีเดียวไปเลย มันก็สะดวกสบายกว่า เราก็น่าจะปรับตัวเตรียมตัวรู้แนวทางของโลกในอนาคต ว่าสิ่งไหนมันจะคงอยู่เหมือนเดิมหรือว่าตรงไหนมันกำลังจะตายลงไปเรื่อยๆ หรือสิ่งไหนกำลังจะเติบโต แนะนำก็คือ ให้ไปอยู่ในสิ่งที่เติบโตดีกว่า สิ่งที่กำลังจะตายลงไป เราไปอยู่คือโดนแย่งงานแน่ๆ เราไม่ควรจะไปอยู่ในสิ่งนั้นอยู่แล้ว อย่างคนประกอบรถยนต์ตอนนี้ไม่มีแล้ว มีแต่คนคุมเครื่องจักร เราไปเป็นคนคุมหุ่นยนต์ดีไหมไม่ใช่ให้หุ่นยนต์มาคุมเรา หรือว่าหนักที่สุดคือเป็นคนขับหุ่นยนต์อะไรอย่างนี้ ยังต้องมีคนสร้างหุ่นยนต์อยู่ เป็นคนสร้างหุ่นยนต์ดีกว่าไหม หรือว่าคิดค้นสิ่งใหม่ๆ หรือว่าเป็นอาชีพที่อยู่ร่วมกับมัน ไม่ใช่อาชีพที่โดนมันแย่ง อาจจะต้องปรับตัวจุดนี้หน่อย
สุดท้ายอยากให้พี่ทรายแนะนำนิสิต น้องๆ รุ่นต่อๆ ไปในการส่งผลงานเข้าประกวดอย่างไรให้ประสบความสำเร็จแบบนี้

     ถ้าเกี่ยวกับเรื่องการแข่งหรือการประกวดอยากจะส่งผลงานหรืออะไรแล้วจะได้รางวัล ขั้นแรกเลยทุกอย่างคือจะทำอะไร จะมีใบมาหรืออะไร จะมีคะแนนแต่ละอย่างคืออะไร คิดง่ายๆ สำหรับพี่ทำให้ได้เต็มทุกข้อ เหมือนทำข้อสอบ ถ้ามันถูกทุกข้อ เต็มทุกข้อ อย่างไรก็ที่หนึ่ง หรือยังไงก็แชมป์เราก็ทำเตรียมตัวเพื่อสำหรับสิ่งนั้น ไม่ใช่ว่าได้อันนี้ก็ดีแล้ว ไปหวังว่าคนอื่นจะทำสิ่งนี้ไม่ได้ ไม่ได้เราควรจะทำให้ได้ทุกสิ่ง ให้ได้มากที่สุดที่เราจะทำได้ ไม่ใช่ว่าคนอื่นทำไม่ได้หรอกข้อนี้ แล้วไปถึงทำได้ ทำยังไงล่ะ แพ้สิ เราทำให้ได้ทุกอย่างก่อนดีกว่า ทำให้ได้เยอะที่สุด ถ้ามันเต็ม เดี๋ยวก็ชนะเอง แต่ในความเป็นจริงเต็มไม่ได้หรอก ก็มีหักๆ คะแนน ก็จะยังอยู่ใน rangeที่ค่อนข้างสูงอยู่จะต้องเตรียมตัวมากหน่อยในระดับหนึ่ง พี่เน้นการเตรียมตัว พวกพี่ใช้เวลา 3 ปีในการเตรียมตัวไปแข่งครั้งนี้ เพราะฉะนั้นเวลาและความตั้งใจในการทำสิ่งต่างๆ คือสิ่งสำคัญkeywordเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสมของการจะลงไปแข่ง ทำอะไรคือต้องมีความพร้อม ไม่ใช่เร่งให้พร้อมตอนนี้เป็นไปไม่ได้ ต้องอดทนหน่อยให้ตัวเราพร้อมจริงๆ แล้วเดี๋ยวเราจะสำเร็จเอง ยิ่งถ้าเกิดเราอยากจะสำเร็จเร็ว เราวิ่งเร็ว สุดท้ายมันล้ม เราเจ็บมาก อันนี้ยืนยัน จะเจ็บมาก คล้ายๆ กัน นักกีฬาวิ่ง วิ่งทุกวัน ค่อยๆ เพิ่มระยะ เพิ่มความเร็ว เพิ่มระยะ เพิ่มความเร็ว เพิ่มระยะ เพิ่มความเร็วแล้วค่อยลงแข่ง ไม่ใช่ไม่เคยซ้อมเลยแล้วไปลงแข่ง มันล้มเหลวอยู่แล้ว การเตรียมตัวสำคัญมาก ให้เตรียมตัวจนเราคิดว่าเราพร้อมแล้วจริงๆ ที่จะไปเอาแชมป์มา อย่างพี่ก็พลาดสามคะแนน คือทีมที่หนึ่งได้ 93 คะแนน พี่ได้ 90 คะแนน เป็นสามคะแนนที่เจ็บใจจริงๆ มันนิดเดียวเอง คือต้องยอมรับหมายความว่าเขาเตรียมตัวพร้อมกว่าเรา อันนี้เรายังเตรียมความพร้อมไม่พอ หวังว่ารุ่นน้องจะเตรียมตัวพร้อมกว่าพี่ ในการจะเอาแชมป์มาแทนพี่
นี่คือสาวสวยคนเก่งของเรา วันนี้ต้องขอบคุณพี่ทรายมากๆ เลย ที่มาร่วมแชร์ประสบการณ์ดีๆ รวมไปถึงคำแนะนำดีๆ และมาสร้างแรงบันดาลใจให้กับน้องๆ ด้วยนะคะ

ทรัพยากรสารสนเทศของสำนักหอสมุดที่เกี่ยวข้อง

ชื่อเรื่อง

  1. สู่โลกการสร้างหุ่นยนต์ / ทีมงานสมาร์ทเลิร์นนิ่ง
  2. หุ่นยนต์ในเมืองไทย / สุเจน กรรพฤทธิ์
  3. THE Microcontroller: A PARADIGM FOR A ROBOT BUILDING BLOCK.
  4. คัมภีร์การใช้งานหุ่นยนต์ (Robot) / เดชฤทธิ์ มณีธรรม
  5. การควบคุมแขนหุ่นยนต์ / อำนาจ ภู่สิทธิศักดิ์
  6. Robot C Programming for beginner การเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์สำหรับผู้เริ่มต้น / ทีมงานสมาร์ทเลิร์นนิ่ง
  7. Robot companions : MentorBots and beyond
  8. Robot control : the task function approach / Claude Samson, Michel Le Borgne and Bernard Espiau
  9. Robot brains : circuits and systems for conscious machines / Pentti O. Haikonen
  10. Robot dynamics and control / Mark W. Spong, M. Vidyasagar
  11. วิศวกรรมหุ่นยนต์ / สถาพร ลักษณะเจริญ
  12. Robot modeling and control / Mark W. Spong, Seth Hutchinson, M. Vidyasagar
  13. Robot motion : planning and control / edited by Michael Brady ... [et al.]
  14. เปิดโลกหุ่นยนต์--สำหรับนักประดิษฐ์รุ่นใหม่ / โดย KatsuhitoKiida ; แปลโดย อรรณพ เรืองวิเศษ และกฤษดา วิศวธีรานนท์ ; บรรณาธิการโดย กฤษดา วิศวธีรานนท์
  15. หุ่นยนต์ ดาวเด่นยุคใหม่ / เจน วราหะ

 

KULIB Talk No.20 รางวัลระดับนานาชาติ Outstanding Award จาก Citizen Innovation ประเทศสิงคโปร์ ในงานวันนักประดิษฐ์ประจำปี 2562 ทีมนิสิตวิศวกรรมการอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ กำแพงแสน


      วันนี้เราเดินทางมาที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ซึ่งเป็นหนึ่งในวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ซึ่งกว้างขวางร่มรื่นและมีความสวยงาม ที่เรานั่งอยู่ตรงนี้คือสำนักหอสมุดกำแพงแสน วันนี้เราได้รับเกียรติจากน้อง ๆ ที่ไปสร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัย และประเทศไทย ในการเข้าร่วมแข่งขันและได้รับรางวัลระดับนานานชาติ Outstanding Award จากองค์กร Citizen Innovation ประเทศสิงคโปร์ ในงานวันนักประดิษฐ์ประจำปี 2562 ซึ่งจัดไปเมื่อวันที่ 2 - 6 กุมภาพันธ์ 2562 ที่ผ่านมา ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ในชื่อผลงานกระบวนการฆ่าเชื้อในอาหารเหลว ในสภาวะอุณหภูมิต่ำโดยการทำลายผนังเซลล์เชื้อโรคด้วย pulsed electric field และสลายสายพันธะ DNA ของเชื้อโรคด้วยรังสี UVC เข้มข้น ซึ่งรางวัลนี้เป็นรางวัลนักคิดสิ่งระดิษฐ์รุ่นใหม่ประจำปี 2562 ระดับอุดมศึกษา กลุ่มอาหารและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ

libtalk20 1

     ขอต้องรับน้อง ๆ กลุ่มนิสิตวิศวกรรมการอาหาร คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสนทั้ง 7 ท่านคือ นายภาณุวัฒน์ รอดคลองตัน (โจ) นายภาณุเดช นาคอ่วมค้า(แบงค์) นายวรพล โป๊ะแสง (พีท) นางสาวภัทรพร พุทธพรหม (แฟนต้า) นางสาวคณิศร ทรัพย์มาก (หยก) นางสาวธีริศรา มิคาระเศรษฐ์ (ปิ๊ง) นายคุณวุฒิ ขวาอุ่นหล้า (คุณ) ชั้นปีที่ 3 ภาควิชาวิศวกรรมการอาหาร
ช่วยบอกเล่าความเป็นมา ที่มารวมตัวกันเป็นทีม 7 คน และส่งผลงานเข้าประกวดได้อย่างไร


      เริ่มจากเราผู้หญิง 3 คน ก่อนคะ สนใจประกวด และเห็นว่าโครงงานที่เราคิดมันควรมีผู้ชายอยู่ด้วยเลยชักชวนผู้ชายในสาขามาร่วมทีม ที่ต้องมีผู้ชายด้วยเพราะต้องมีงานใช้แรงงานด้วยค่ะ
รางวัลของน้อง ๆ ที่ไปนำเสนอในงานวันนักประดิษฐ์ โดดเด่นและได้รับความสนใจจากองค์กร Citizen Innovation จากประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นองค์กรที่พัฒนาเอกชนหรือกลุ่มคนที่มีนวัตกรรมที่ประดิษฐ์คิดค้นสิ่งใหม่ รวมถึงการให้ความรู้เชิงเทคนิคสร้างแรงบันดาลใจให้แก่ผู้ประกอบการ สำหรับผลักดันที่จะทำผลิตภัณฑ์ นวัตกรรมใหม่ ๆ เปิดสู่ตลาดโลก ซึ่งเขามอบรางวัล Outstanding Award ให้กับผลงานของเรา อยากให้น้อง ๆ เล่าถึงโอกาสในครั้งนี้ว่าพวกเราได้มีโอกาสได้เข้าไปร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ได้อย่างไร มีขั้นตอนที่จะเข้าร่วมแข่งขันอย่างไรบ้าง


      อย่างแรกต้องขอบคุณ อาจารย์วรพจน์ ศตเดชากุล ที่แนะนำงานนักประดิษฐ์ให้ เราได้ส่งผลงานได้เข้าแข่งขัน ขั้นตอนในการเข้าร่วมแข่งขันคือเราส่งแนวคิดเข้าแข่งขัน เมื่อผ่านคัดเลือกก็สามารถนำผลงานเข้าไปโชว์ในงานนักประดิษฐ์ได้


เล่าให้ฟังนิดหนึ่งว่าบรรยากาศในการแข่งขัน การที่เรานำผลงานไปนำเสนอเป็นอย่างไรบ้าง คนเยอะแค่ไหน เราตื่นเต้นไหมในการนำเสนอผลงาน

      สำหรับรรยากาศในงานคือเขาจะมีบูทสำหรับจัดงาน คือจะมีระดับอุดมศึกษา มัธยมศึกษา อาชีวศึกษา และก็มีบูทของงานวิจัยของอาจารย์ที่ได้รับรางวัลดีเด่น และก็มีบูทสำหรับรางวัลที่เข้าร่วมแข่งขันทั้งชาวต่างชาติ และคนไทยที่ได้ไปแข่งในระดับนานาชาติ มาให้เราเข้าไปปรึกษาหาความรู้ได้ และบรรยากาศการแข่งขันสำหรับผมนะครับได้เดินงานเยอะมากบูทไม่ค่อยอยู่ก็จะเห็นว่าแต่ละบูทเขาพรีเซนต์อย่างไร เราก็เอามาปรับปรุงตัวเราว่าควรจะพรีเซนต์อย่างไรบ้างที่จะได้ขึ้นรับรางวัล

ผลงานที่ชื่อว่า “กระบวนการฆ่าเชื้อในอาหารเหลว ในสภาวะอุณหภูมิต่ำโดยการทำลายผนังเซลล์เชื้อโรคด้วย pulsed electric field และสลายสายพันธะ DNA ของเชื้อโรคด้วยรังสี UVC เข้มข้น” ช่วยอธิบายว่าโดยปกติกระบวนการทำลายเชื้อโรคในอาหารมีกี่แบบ แบบไหนบ้าง

      กระบวนการทำลายเชื้อโรคในอาหารหลัก ๆ จะแบ่งเป็น 3 อย่างก็คือ 1. พาสเจอร์ไรส์ (Pasteurization) 2. Sterilization 3. UHT ซึ่งแต่ละแบบก็จะมีอุณหภูมิ ระยะเวลาที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ปัจจัยจะขึ้นอยู่กับอาหารของเราเป็นชนิดไหน หรือว่าภาชนะบรรจุอาหารของเราเป็นชนิดไหนด้วยครับ

ประเด็นสำคัญที่ผลงานของน้อง ๆ ทำให้ได้รับรางวัลก็คือ การรักษาคุณค่าทางอาหารของอาหารและประหยัดพลังงานในการฆ่าเชื้อ อันนี้คือจุดเด่นเป็นปัจจัยหลักของผลงานเราเลย น้อง ๆ มีแนวคิดการสร้างผลงานนี้มาจากไหน

     สำหรับแนวคิดเริ่มต้นคือ ได้มาจากอาจารย์ที่ปรึกษาคือ อาจารย์วรพจน์ ศตเดชากุล อาจารย์แนะนำให้พวกผมไปอ่านงานวิจัยของอาจารย์พานิช อินต๊ะ และได้พาพวกผมทั้ง 7 คน ไปศึกษาดูงานจริงและหลังจากศึกษาดูงานก็มาประชุมกันกับอาจารย์ที่ปรึกษาว่าเราจะต่อยอดอย่างไรให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น


ได้ไปศึกษาดูงานที่ไหน

      มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา

ได้มีการนำเอาเทคโนโลยีการฆ่าเชื้อในระดับพาสเจอร์ไรส์ด้วยวิธี pulsed สนามไฟฟ้ามาใช้ร่วมกับแสงอัลตราไวโอเลตและคลื่นอัลตร้าโซนิค ผลที่เราคาดว่าจะเกิดจากผลงานแนวคิดของเราคืออะไร ลองอธิบายเป็นแผนงาน ขั้นตอนองค์ประกอบว่ามีความเป็นมาอย่างไรบ้าง


      งานวิจัยที่นำไปแข่ง เป็นการนำเสนอแนวคิด ถ้านำไปสร้างจริงและสามารถใช้ได้จริง คาดว่าจะสามารถรักษาคุณค่าทางอาหารและช่วยลดพลังงานได้มากขึ้น ขั้นตอนแผนงานที่เราทำคือ เราเริ่มจากการศึกษาดูงานจากอาจารย์ท่านอื่นหรือว่าบุคคลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับผลงานของเราและเราก็นำมาปรับใช้ประยุกต์กับงานของเราให้มีประโยชน์ เมื่อเรามีความรู้มากเพียงพอก็จะนำไปสร้างออกแบบเครื่องให้มีประสิทธิภาพเหมือนที่เราคิดไว้ หลังจากนั้นเราก็จะทำการทดลอง เก็บผล สรุปผล


พิธีกร: ก็จะมีขั้นตอนในหลาย ๆ ขั้นแรกเริ่มก็จะเริ่มจากการศึกษาก่อน และดูว่าแนวคิดไหนที่เราจะสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ ออกแบบ ทดลอง จนออกมาเป็นแนวคิดที่เรามองว่าสมบูรณ์แบบที่สุดแล้ว และนำแนวคิดไปเสนอมีการแบ่งหน้าที่การทำงานอย่างไร


      เริ่มแรกเราก็ถามว่าใครอยากทำตรงไหน หรือสมัครใจ หรือชอบด้านไหนเป็นพิเศษเราก็จะให้คนนั้นได้ทำตรงนั้นก่อน ถ้ามีคนไหนทำไม่ได้ไม่เข้าใจเราก็จะลงไปช่วยกัน ส่วนงานตรงอื่น ๆ ที่เหลือเราก็จะเลือกว่าคนนี้มีประสิทธิภาพในด้านนี้หรือว่าเข้าใจในด้านนี้เราก็จะให้คนนั้นได้ทำตรงนั้นด้วยครับ

พิธีกร: ถามความสมัครใจก่อน ถือที่ว่าเราชอบอะไรก็จะทำได้ดี หลังจากนั้นเราก็มาดูว่าเพื่อนในกลุ่มเราใครมีความสามารถทางด้านไหนที่เฉพาะเราก็จะใช้คนให้ถูกกับงาน ทำให้งานสำเร็จออกมา เป็นผลงานที่น่าภาคภูมิใจ


 ได้รับบทเรียนอะไรบ้างจากการทำผลงานในครั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำงานร่วมกัน หรือจะเป็นเรื่องความรู้ที่ได้จากผลงานในครั้งนี้


      เนื่องจากที่เราเป็นมือใหม่ เราก็จะมีปัญหาตั้งแต่ การหาข้อมูลถูกต้องไหม ลงมือทำถูกต้องไหม อย่างตอนที่เราสร้างเครื่องด้วยกันมันก็จะมีบางอย่างเสียบาง พังบาง ช็อตบาง ไม่เป็นไปตามที่เราคิด เราก็ได้ช่วยกันแก้ปัญหา ณ ตอนที่เราทำงานตอนนั้น


มีจุดไหนบ้างที่เราวางแผนไว้อย่างดีเลยแต่ว่ามันไม่เป็นไปตามแผน เกิดปัญหาระหว่างงานขึ้น แล้วเรามีการแก้ปัญหาอย่างไร


      ที่วางแผนไว้ตั้งแต่ต้นคือ เราจะใช้อัลตร้าโซนิคด้วยแต่ทีนี้ ปัญหาที่เราเจอตั้งแต่ข้างต้นเลยคือ เครื่องควบคุมมันเกิดความเสียหาย เราลองเปลี่ยนเครื่องใหม่มาแล้วก็ยังเสียหายอยู่ จริง ๆ เราอยากส่งเป็นตัวที่เราทำสำเร็จไปเลยไปแข่ง พอเราต้องแก้ปัญหาเราช่วยกันคิดว่าเราควรทำไงดี เราก็ส่งเป็นตัวต้นแบบไป ไปบอกเขาว่างานของเราเกิดปัญหาจริง ๆ เราจึงสร้างตัวต้นแบบ เพื่อช่วยให้เราพรีเซนต์ได้ดียิ่งขึ้น แบบว่าช่วยในการพรีเซนต์


พิธีกร: เครื่องจริงที่ตั้งใจไว้มีปัญหา ก็เลยสร้างต้นแบบนั้นแปลว่าเราต้องทำงานเยอะขึ้นอีก เพราะเราต้องสร้างต้นแบบเพื่อการอธิบาย นำเสนอที่มันชัดเจน เนื่องจากว่ามันไม่ใช่ของจริง


Project นี้รายละเอียดค่อนข้างเยอะ เรามีการศึกษาหาข้อมูลจากแหล่งไหนบ้าง เพื่อที่จะนำมาใช้อ้างอิงทำงานในครั้งนี้


      เราศึกษาหาข้อมูลจาก internet จากห้องสมุดจากฐานข้อมูล databases และได้ไปดูงานที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา


ผลงานในครั้งนี้ถือว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง เรามองไว้ว่าเราอยากจะต่อยอดผลงานนี้ต่อไปอย่างไรบ้าง
      ผลงานนี้เราก็มาทำต่อยอด ก็คือเราจะมาทำเป็น project ของผม (พีท) แบงค์ และโจ ซึ่ง project อันนี้เราต้องเข้าไปคุยกับอาจารย์ก่อนว่าเราสามารถทำได้ไหม เราก็เข้าไปคุยแนวโน้มก่อนว่าถ้าทำได้จริงแล้วผลจะออกมาเป็นอย่างไร อาจารย์ก็ได้พิจารณาแล้วว่า ความเป็นไปได้มันมี ก็ให้ทำเป็น project ต่อได้


จากที่เล่ามาเราผ่านทั้งการคิด วางแผน เก็บวิเคราะห์ข้อมูล เป็นประสบการณ์มากมาย อยากจะให้เราบอกนิดหนึ่งว่าประสบการณ์สูงสุดที่ตัวเราได้จากการส่งผลงานเข้าประกวดในครั้งนี้คืออะไรบ้าง ในแนวคิดของแต่ละคน

  • นายภาณุวัฒน์ รอดคลองตัน: การทำงานเป็นทีม ทำอย่างไรให้มีประสิทธิภาพ การจัดการด้านเวลา การ manage คนให้ถูกกับงานเพื่อที่จะทำให้งานสำเร็จไปได้ด้วยดีครับ
  • นายภาณุเดช นาคอ่วมค้า: สำหรับตัวผมคือ การใส่ใจรายละเอียด การให้เวลากับงาน เพราะงานพวกผมเป็นงานด้านอาหารก็ต้องใส่ใจรายละเอียดให้มากขึ้นครับ
  • นายวรพล โป๊ะแสง: สำหรับผมคือ ก่อนอื่นเลยเราต้องวงแผนให้ดีและก็มีหน้าที่ของแต่ละคนชัดเจน ถ้าเราทำงานกันเป็นกลุ่มหรือว่าช่วยเหลือกันอย่างนี้ครับและก็ต้องดูความเป็นไปได้ของงานนี้ ใครมีหน้าที่ตรงไหนที่ทำได้ดีมากกว่ากัน ใครเหมาะกับงานอันไหน และต้องดูรายละเอียดด้วยว่า รายละเอียดมันมากน้อยแค่ไหน เราต้องใส่ใจกับรายละเอียดนั้นให้มากขึ้นกว่าเดิมครับ
  • นางสาวภัทรพร พุทธพรหม: ได้ไปแลกเปลี่ยนข้อมูลกับคนในกลุ่มที่ส่งประกวดกลุ่มเดียวกันหรือต่างกลุ่ม แบบว่าได้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับอาหาร เกี่ยวกับด้านสุขภาพค่ะ
  • นางสาวคณิศร ทรัพย์มาก: ได้การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าค่ะ
  • นางสาวธีริศรา มิคาระเศรษฐ์: ได้ความรู้เกี่ยวกับการนำเสนอเป็นภาษาอังกฤษกับชาวต่างชาติค่ะ
  • นายคุณวุฒิ ขวาอุ่นหล้า: ได้เห็นผลงานการวิจัยที่เขาประสบความสำเร็จที่เรายังไม่ได้เคยเห็นจากที่ไหนมาก่อนในวันงานครับ


พิธีกร : เป็นประสบการณ์ที่ทุกคนได้รับ โดยหลัก ๆ ก็คือ เราต้องวางแผนให้ดี บริหารคนให้ถูกกับงาน บริหารเวลา ใส่ใจรายละเอียดรวมถึงประสบการณ์ที่คล้าย ๆ กับการทำงานจริง ได้นำเสนอผลงานจริง ได้แก้ปัญหาเมื่อเกิดปัญหาหน้างาน ได้เห็นประสบการณ์จากคนอื่นว่าเขาทำอย่างไรบ้างนำมาพัฒนาตัวเราต่อได้ เป็นประสบการณ์ที่มีค่ามาก
คำถามสุดท้าย เป้าหมายของแต่ละคนที่มองและตั้งใจไว้คืออะไร

  • นายคุณวุฒิ ขวาอุ่นหล้า: เป้าหมายที่จะทำต่อจากเรียนจบ ก็อาจจะทำงานหาประสบการณ์เราเรียนมา 4 ปี เราสามารถทำงานเลยได้ไหม เพียงพอสำหรับทำงานจริงเลยไหม เราค่อยไปดูอีกทีว่าเราจะเรียนต่อในสายไหน ถ้าเรียนต่อคงเป็นสายอาหารก็ต้องมาเรียนปรับปรุงนวัตกรรมอาหารให้มันดียิ่งขึ้นครับ
  • นางสาวธีริศรา มิคาระเศรษฐ์: ก็อยากทำงานในบริษัทใหญ่ ๆ ที่เกี่ยวกับสายงานที่เราเรียน
  • นางสาวคณิศร ทรัพย์มาก: ก็จะหาประสบการณ์จากการทำงานก่อน จากนั้นก็จะเรียนต่อค่ะ
  • นางสาวภัทรพร พุทธพรหม: อยากหาทุนไปศึกษาต่อต่างประเทศ
  • นายวรพล โป๊ะแสง: สำหรับผมก็วางแผนเรียนต่อในระดับปริญญาโทถ้าจบปริญญาโทก็จะเรียนต่อไปด้วยครับ ในเรื่องของการทำงานก็อยากจะทำเป็นธุรกิจส่วนตัวช่วยที่บ้าน วางแผนขยายธุรกิจให้มีขนาดใหญ่ขึ้นด้วยครับ
  • นายภาณุเดช นาคอ่วมค้า: สำหรับผมก็คงทำงานในด้านที่เรียนจบเพื่อนำไปพัฒนานวัตกรรมใหม่ ๆ ครับ
  • นายภาณุวัฒน์ รอดคลองตัน: สำหรับผม หลังจากเรียนจบก็อยากจะทำงานก่อนเพื่อเก็บประสบการณ์ อาจจะมาเรียนต่อและศึกษาความรู้ด้านอาหารและนำไปใช้ประโยชน์ให้มากกว่านี้ครับ

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

 

 

 

 

สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่รายการ kulibtalkของสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  และ kulibtalk ในวันนี้ ถือเป็นตอนพิเศษกว่าตอนอื่นๆ โดยในวันนี้เราจะนำเสนอเรื่องราว และแรงบันดาลใจเกี่ยวกับทรัพยากรป่าไม้ของประเทศของเรา ซึ่งในปัจจุบันนี้จะมีความเติบโตอย่างรวดเร็วรวมถึงตึกรามบ้านช่องและถนนหนทางต่างๆ ซึ่งในเมืองใหญ่เหล่านี้เอง สิ่งที่จะทำให้มีความชุ่มชื้นหัวใจขึ้นมาได้นั่นก็คือต้นไม้ใหญ่ที่แทรกตัวอยู่ในป่าคอนกรีตแห่งนี้นั่นเอง และในวันนี้หลายท่านอาจจะคิดว่าต้นไม้ใหญ่ในเมืองสร้างปัญหาให้กับวิถีชีวิตของคนเมือง ในเรื่องของการเดินทาง หรือว่าการเดินตามท้องถนนต่างๆ หลายท่านเองอาจจะยังไม่ทราบว่ามีอาชีพหนึ่งที่ทำหน้าที่คอยดูแลรักษาและตัดแต่งกิ่งไม้ใหญ่เหล่านี้ ซึ่งอาชีพเหล่านี้ที่เราเรียกกันว่า รุกขกร

และในวันนี้รายการ kulib talk ของเราก็ได้รับเกียรติจากอาจารย์ประจำคณะวนศาสตร์ ภาควิชาวนวัฒนวิทยา ซึ่งจะมาให้ความรู้เกี่ยวกับรุกขกรและต้นไม้ในเมืองในวันนี้ ขอต้อนรับ อาจารย์พรเทพ เหมือนพงษ์

อาจารย์ สวัสดีครับ

ยินดีต้อนรับสู่รายการ kulib talk ในบรรยากาศที่ร่มรื่นในสวนพฤกษศาสตร์ที่อยู่บริเวณด้านหน้าสำนักหอสมุดของเรานั่นเอง และในวันนี้อาจารย์จะมาเป็นผู้ที่จะมาให้ความรู้เกี่ยวกับอาชีพรุกขกร และเกี่ยวกับเรื่องของต้นไม้ในเมือง มาเริ่มประเด็นแรกกันเลยนะครับ

ประเด็นแรก อยากถามอาจารย์ว่าต้นไม้ในเมืองมีความสำคัญ หรือมีประโยชน์กับชีวิตคนเมืองอย่างไรบ้าง

ง่ายๆ เลยครับ ที่เรานั่งกันอยู่นี้สังเกตเห็นว่าตรงนี้อากาศค่อนข้างเย็น เมื่อเทียบกับเราขยับไปด้านนอก ซึ่งเป็นถนน แดดร้อนมาก จะสังเกตร้อนมาก ทุกคนต่างพยายามที่จะเขยิบเข้ามานั่งหลบแดดกันอยู่ในที่ใต้ต้นไม้ตรงนี้ นี่เองเป็นความต้องการพื้นฐานง่ายๆ ของมนุษย์ เราคงไม่อยากร้อน ไม่อยากเหนื่อย ไม่อยากเครียด ต้นไม้มีส่วนช่วยให้คนเมืองมีชีวิตที่ดีขึ้น ง่ายๆ เลย เราทำงานทุกวัน คนเมืองส่วนใหญ่จะทำงานกับคอมพิวเตอร์อยู่ในออฟฟิศ โอกาสที่จะได้สัมผัสต้นไม้ธรรมชาติเหมือนคนต่างจังหวัดค่อนข้างยาก เราเครียด เราทำงานทุกวัน ลองง่ายๆ แค่เราลองเปิดหน้าต่างและหันออกไปดูต้นไม้สัก 3 นาที 5 นาที ความเครียดของเราจะผ่อนคลายลงเยอะ ซึ่งมีการวิจัยมากมายที่ออกมารองรับแล้วว่ามันเป็นสิ่งที่ทำให้คนเมืองรู้สึกผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น ซึ่งความเครียดที่ลดน้อยลงทำให้ปัญหาสุขภาพ สุขภาพจิตต่างๆ ของคนเมืองก็น้อยลงด้วย คือใกล้ตัวมนุษย์ที่สุด นอกจากนี้ถ้ามองในภาพกว้างขึ้น เมืองใหญ่หรือเมืองที่มีประชากรหนาแน่นมากๆ เราขาดพื้นที่สีเขียวไม่ได้ เราคงจะให้เมืองมีแต่ตึกมีแต่รางรถไฟฟ้ามีแต่สิ่งก่อสร้างสูงใหญ่ไม่ได้ เมืองต้องมีพื้นที่สีเขียวหรือที่เรียกว่า UrbanGreen Spaceด้วย พื้นที่สีเขียวเปรียบเสมือนอัญมณีของเมือง ถ้าเราเคยไปในเมืองใหญ่ๆ ในต่างประเทศหลายๆ เมือง นอกจากตึกรามบ้านช่องที่สวยงาม เขายังมีพื้นที่สีเขียวที่สวยงามด้วย

พิธีกร ผมเคยเห็นวิวที่นิวยอร์ค เขาก็มีเป็นโซนเมือง มี Central Park ที่เป็นสวน อันนั้นเป็นตัวอย่างที่เคยเห็นมา

ใช่ครับ แต่ว่าปัญหาตอนนี้ในบ้านเรา โฟกัสเฉพาะเมืองใหญ่ ยกตัวอย่างเช่น กรุงเทพฯ เลยแล้วกัน ตอนนี้พื้นที่สีเขียวเราถ้าเทียบต่อหัวประชากรต้องถือว่ากรุงเทพฯ เราค่อนข้างมีพื้นที่สีเขียวน้อยมาก น้อยมาก ถ้ารวมประชากรกับประชากรแฝงกรุงเทพฯ น่าจะมีใกล้ๆ 10 ล้านคน แต่พื้นที่สีเขียวต่อหัว คำนวณออกมาได้แล้วยังไงก็ไม่เกิน 5 ตารางเมตรต่อหัว ต่อหัวประชากร ซึ่งมาตรฐานขององค์กรอนามัยโลก เขาให้ standardหรือมาตรฐานไว้ที่ 9 ตารางเมตรต่อหัวประชากร แต่จริงๆ แล้วในเมืองใหญ่ๆ หรือเมืองที่พัฒนาหรือเจริญแล้ว อาจจะมีถึง 3-40 ตารางเมตรต่อหัวประชากร ง่ายๆ เช่น สิงคโปร์ มี 5-60 ตารางเมตรต่อหัวประชากร

พิธีกร สิงคโปร์ ประเทศเล็กๆ ตามจริงตัวสิงคโปร์ประชากรค่อนข้างหนาแน่นเหมือนกัน

แต่ว่าใครเคยไปสิงคโปร์ลงเครื่องบินปั๊บเจอพื้นที่สีเขียวเลยเขาให้ความสำคัญกับต้นไม้และพื้นที่สีเขียว ซึ่งมีการดูแลที่ดีมาก นอกจากพื้นที่ต่อหัวที่เยอะแล้ว คุณภาพของพื้นที่สีเขียวเขายังดีด้วย เนื่องจากมีการดูแลอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ แต่ในประเทศไทยนอกจากพื้นที่จะน้อยแล้ว คุณภาพก็ยังจะไม่ค่อยดีอีกด้วย

พิธีกร เป็นต้นไม้ใหญ่ที่อยู่ภายนอกตึก

ใช่ครับ

พิธีกร ถ้าหากว่าเขานับรวมพื้นที่สีเขียวที่เป็นต้นไม้ภายในตึก รวมกันด้วยไหมครับ

พื้นที่สีเขียวในตึก พูดถึงต้นไม้ในตึกก่อน ถ้าเป็นต้นไม้ในตึกส่วนใหญ่จะเป็นต้นไม้ที่ปลูกเพื่อประดับมากกว่าที่จะให้คำจำกัดความว่าเป็นพื้นที่สีเขียวจริงๆ มันควรจะเป็นกลุ่มของต้นไม้ที่ขึ้นอยู่ด้วยกัน ซึ่งน้อยตึกมากที่จะมีการปลูกต้นไม้เยอะขนาดนั้น

พิธีกร อย่างที่กล่าวมา อาจารย์ยกตัวอย่างเช่นในกรุงเทพฯของเราเองที่มีข้อมูลประมาณว่า 5 ตารางเมตรต่อหัว

ไม่เกินนั้น

พิธีกร อาจารย์พอจะทราบข้อมูลไหมว่าอย่างกรุงเทพฯ เอง เขามีแนวทางพัฒนาที่จะเพิ่มจำนวนตรงนี้อย่างไรบ้างก็กรุงเทพฯ เขา set เป้าหมายไว้แล้ว ตั้งเป้าหมายไว้ว่าเราจะไปให้ถึง 9 ตารางเมตรตามมาตรฐานขององค์กรอนามัยโลกให้ได้ ตอนนี้ก็มีการเร่งในการที่จะปลูกต้นไม้ตามถนนหนทางข้างทางต่างๆ แต่ต้องเรียนอย่างนี้ว่าด้วยข้อจำกัดของกรุงเทพฯ เมืองเราขยายไปไม่ได้มากไปกว่านี้อีกแล้ว ด้วยพื้นที่กรุงเทพฯ มีประมาณสัก 1 ล้านไร่ ซึ่งผมว่าแทบจะทุกตารางเมตรมีความเป็นเจ้าของคน การจะพัฒนาพื้นที่สีเขียวจริงๆ มันควรจะเป็นพื้นที่ของรัฐ ซึ่งตอนนี้ผมว่าส่วนใหญ่ก็เต็มไปด้วยการใช้ประโยชน์พื้นที่ของรัฐอยู่แล้ว การจะเปลี่ยนอะไรสักอย่างมาเป็นพื้นที่สีเขียวในข้อจำกัดที่เรามีอยู่ค่อนข้างยากทีเดียว สิ่งหนึ่งที่เราควรจะมุ่งเน้นกรุงเทพฯ คือการดูแลคุณภาพของสิ่งที่เรามีอยู่ให้ดีขึ้นกว่านี้

พิธีกร ถามนอกประเด็นในส่วนของสวนสาธารณะต่างๆ ในกรุงเทพฯ เท่าที่ผมเห็นก็จะมีสวนรถไฟ สวนเบณจ สวนลุม สวนอะไรต่างๆ อาจารย์คิดว่าสวนไหนค่อนข้างดูแล้วมีพื้นที่สีเขียวค่อนข้างมาก

พื้นที่สีเขียวหลักๆ ของเราในกรุงเทพฯ ถ้าใหญ่จริงๆ ไม่เกิน 10 สวน เช่นที่กล่าวมา สวนเบญจสิริ สวนลุม สวนรถไฟ สวนสิริกิติ์ ไกลไปหน่อย สวนหลวง ร.9 เหล่านี้ก็เป็นพื้นที่ใหญ่ๆ แต่ว่าเราจะมีพื้นที่สีเขียวเล็กๆ ที่กระจายอยู่ตามเขตนั้นเขตนี้ที่ซึ่งไม่ใหญ่มาก อย่างเกษตรเราเองก็มีพื้นที่สีเขียวหลายจุด เช่นตรงนี้เองก็ยังนับว่าเป็นพื้นที่สีเขียวได้ ถึงจะมีขนาดเล็กๆ ก็ตาม

พิธีกร อย่างตอนนี้ก็มีพื้นที่เล็กๆ อยู่ด้านหน้าหอสมุด และมีสวน 100 ปี ที่อยู่ด้านหลังหอสมุด ส่วนนั้นก็ค่อนข้างเป็นต้นไม้ใหญ่ รู้สึกจะมีสวนที่เพิ่งเปิดไป ที่อยู่ตรงอาคารที่พักบุคลากร อันนี้ก็จะเป็นประโยชน์หลักๆ ของต้นไม้ใหญ่ในเมืองอย่างที่อาจารย์ได้กล่าวมา

พอมีต้นไม้ใหญ่ในเมืองจะมีเรื่องของระบบการจัดการต่างๆ และได้ทราบมาว่ามีอาชีพหนึ่งที่เป็นอาชีพที่คอยดูแลรักษาต้นไม้ใหญ่ในเมือง และคอยตัดแต่งกิ่งต้นไม้ด้วยที่เรียกว่ารุกขกร อยากจะเรียนถามอาจารย์ว่ารุกขกรจริงๆ อาชีพคืออะไร

คำว่า รุกขกร เป็นคำใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นได้ไม่กี่ปีมานี้ ที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งศาสตราจารย์เดชา บุญค้ำ อยู่ที่จุฬาฯท่านได้เป็นผู้บัญญัติศัพท์คำนี้ขึ้นมาจากศัพท์ภาษาอังกฤษว่า arboristหรือ arboristcultureซึ่งก็คือวิชารุกขกรรม คนที่ทำงานรุกขกรรมเราเรียกว่า รุกขกร รุกขซึ่งแปลว่าต้นไม้นี่ล่ะ รุกขกรทำหน้าที่ในการที่จะตั้งแต่เริ่มเลือกต้นไม้มาปลูกเลย ดูแลรักษาตลอดช่วงชีวิตเขา จนถึงสุดท้ายเมื่อต้นไม้ตาย รุกขกรก็เป็นผู้มาเอาต้นไม้ต้นนั้นออกจากพื้นที่ด้วย ตอนนี้วิชาชีพนี้เป็นวิชาชีพที่เพิ่งเกิดใหม่สำหรับเมืองไทย รุกขกรที่ทำเป็นอาชีพจริงๆ และมีองค์ความรู้ที่เราสามารถจะเรียกว่า รุกขกรจริงๆ บ้านเรามีค่อนข้างจำกัดมาก ผมให้ว่าไม่เกิน 100 คนที่ทำงานอยู่ในประเทศนี้

พิธีกร เมื่อกี้อาจารย์บอกว่าว่ารุกขกร แปลว่าต้นไม้ ตามความเข้าใจผมคิดว่า วน

วนแปลว่า ป่า รุกขคือรายต้น 1 ต้น คือ รุกข

พิธีกร นั่นก็คือคำจัดความของรุกขกร ซึ่งในประเทศนี้อาจารย์ได้กล่าวไว้คือ ไม่เกิน 100 คน

ไม่มีการทำบัญชีที่ชัดเจน ผมให้ตัวเลขที่ไม่เกิน 100 คน หลักสิบแล้วกัน ซึ่งตอนนี้เรามีการจัดตั้งสมาคมรุกขกรรมไทย และเรากำลังเริ่มทำรายการของผู้ที่ปฏิบัติงานด้านรุกขกรรมในประเทศไทยว่ามีใครบ้าง รายละเอียดเป็นอย่างไร ในอนาคตต่อไปเดี๋ยมผมเล่าต่อ

ก่อนที่เราจะเข้าเรื่องของอาชีพรุกขกร เราก็อยากจะทราบว่าถ้าหากมีน้องๆ นักเรียนที่จะเข้าต่อในมหาวิทยาลัยมีความใฝ่ฝัน อาชีพใหม่อาชีพรุกขกรน่าสนใจน่าทำอยากจะทราบว่าต้องเรียนในสาขา คณะอะไรหรือว่าภาควิชาอะไร อาจารย์แนะนำอย่างไรบ้าง

สำหรับวิชาชีพรุกขกร องค์ความรู้ที่ต้องมีแน่ๆ คือด้านต้นไม้ สำหรับในต่างประเทศคนที่ทำงานรุกขกรต้องจบทางด้านป่าไม้ ซึ่งของเราคือวนศาสตร์ ทางด้านพืชสวน หรือด้านอื่นที่เกี่ยวข้องกับต้นไม้

พิธีกร พืชไร่ก็ได้ไหมครับ

พืชไร่อาจจะยังไม่ใช่ต้นไม้ พฤกษศาสตร์ เป็นต้น ซึ่งเกี่ยวข้องกับต้นไม้สามารถจะ apply เข้ามาอาชีพรุกขกรรมหรือรุกขกรได้ แต่สำหรับในบ้านเราจริงๆ ตอนนี้ยังไม่มีที่ไหน หรือมหาวิทยาลัยไหนที่เปิดสาขานี้ตรงๆ ในต่างประเทศมีจบปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอกก็มีสาขารุกขกร รุกขกรรมเลย แต่บ้านเรายังไม่มี ที่ใกล้เคียงชัดเจนที่สุดตอนนี้ก็น่าจะเป็นของวนศาสตร์เราซึ่งมีการเรียนการสอนที่เกี่ยวกับต้นไม้โดยตรงตลอด 4 ปีอยู่แล้ว และมีการนำองค์ความรู้นั้นมาประยุกต์ใช้กับงานรุกขกรรม

พิธีกร ถ้าหากว่าศึกษาในคณะวนศาสตร์ เราจำเป็นต้องเลือกภาควิชาที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะเลยไหมครับ

สำหรับการเรียนวนศาสตร์ตอนนี้ในปี1 และปี2 เราจะเรียนเหมือนกันหมดเป็นพื้นฐานวนศาสตร์ ด้านป่าไม้ ด้านต้นไม้ทั้งหมดเพื่อปูพื้นฐานให้แน่น หลังจากนั้นปี 3 จะเริ่มเลือกสาขาที่เราสนใจรุกขกรรมคนที่อยากเป็นรุกขกร เราก็มีวิชาที่เปิดสอนอยู่ในภาควิชาของเราคือวนวัฒน์วิทยา สามารถจะเลือกเรียนในปี 3 และปี 4 ได้

พิธีกร เราก็จะรู้แล้วว่าถ้าหากเราสนใจจะเรียนรุกขกร เราสามารถศึกษาทางด้านสาขาไหนได้บ้าง

อาจารย์มีคำแนะนำสำหรับคุณสมบัติของผู้เรียน เขาจะต้องมีพื้นฐานด้านใดเป็นพิเศษรึเปล่าที่สามารถมาเรียนรุกขกรได้

สำคัญที่สุดคือการรักต้นไม้ รักธรรมชาติ ชอบทำงานอยู่นอกออฟฟิศ ไม่ชอบอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ นั่งทำงานกับโต๊ะมากๆ นานๆ บุคลิกอย่างนี้จะเหมาะกับทำงานเกี่ยวกับต้นไม้มากกว่า ที่จะชอบกับการทำงานกับคอมพิวเตอร์หรืออะไร งานของเราส่วนใหญ่งานจะทำอยู่นอกออฟฟิศ อยู่กับต้นไม้ อย่างตรงนี้คือออฟฟิศของเรา บางคนถ้าอยากทำงานบนต้นไม้เลย ขึ้นไปตัดแต่ง ดูแลต้นไม้ รักษาโรค ดูโรค ดูแมลง ดูต่างๆ ก็ต้องเป็นคนที่ค่อนข้างจะมีความกล้า เพราะบางครั้งต้องปีนต้นไม้ขึ้นไปทำงานด้วย มีร่างกายสุขภาพที่แข็งแรง ค่อนข้างสำคัญทีเดียว ใจรักต้องมาก่อน

ในส่วนของวิชารุกขกรรมนอกจากในการเรียนรู้เกี่ยวกับต้นไม้ เขาจะต้องมีการสอนต้นไม้ใหญ่ที่อยู่เมือง กับต้นไม้ป่าด้วย

เรามีวิชาเฉพาะเลยที่เรียกว่าต้นไม้ในเมือง ซึ่งต้นไม้ในเมืองต่างจากต้นไม้ในป่าการดูแลรักษาอะไรต่างกัน ต้นไม้ชนิดเดียวกัน ถ้ามีต้นประดู่อยู่ตรงนี้กับต้นประดู่ที่อยู่ในป่า ต้นประดู่ชนิดเดียวกันแต่การที่เขาอยู่คนละที่ต้นไม้ตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมต่างกัน ต้นไม้ในเมืองแดดร้อน พื้นถนนก็ร้อน รถราวิ่ง มลพิษมากมาย โทรม ป่วย และตายง่าย นั่นคือที่เราต้องดูแลรักษาเป็นพิเศษกว่าต้นไม้ในป่า คนที่ดูแลก็ต้องเข้าใจว่าต้นไม้เป็นอะไร ต้องเข้าใจต้นไม้ด้วย คุยกับต้นไม้รู้เรื่อง ทำนองนั้น

พิธีกร มีหลักอะไรพิเศษไหมว่าถ้าในเมืองควรจะเป็นต้นไม้ประเภทนี้ที่เหมาะกับการปลูกในเมืองมากกว่าที่ปลูกธรรมดาทั่วไป

การเลือกต้นไม้ในเมืองมีหลักในการเลือกหลายเรื่องด้วยกัน หลักๆ เลยคือเรื่องของความปลอดภัยต้นไม้บางชนิดที่มีขนาดใหญ่มากๆ หรือมีกิ่งที่เปราะหักง่าย อะไรพวกนี้ การนำมาปลูกในเมืองต้องระวัง ถ้านำมาปลูกต้องมีการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่อง ความสวยงาม กลิ่น หรือรูปทรงที่เราเอามาใช้บางต้นพุ่มหนา พุ่มเตี้ย บดบังทัศนียภาพในการขับรถพวกนี้คนที่จะมาเลือกต้นไม้ในเมืองหรือรุกขกรต้องเข้าใจธรรมชาติของต้นไม้เหล่านั้น ว่าถ้ามาปลูกแล้วจะเป็นอย่างไร ทุกวันนี้เรานำมาปลูกและแก้ปัญหาตามหลังไปเรื่อยๆ ซึ่งมันไม่มีวันจบ

พิธีกร ต้องดูปัจจัยหลายอย่างในการเลือกต้นไม้นำมาปลูก ไม่ใช่ชนิดอย่างเดียว ดูสภาพแวดล้อมด้วย

นั่นคือสาเหตุที่ต้องเรียนวนศาสตร์

ทำไมต้องเน้นต้นไม้ใหญ่่เป็นหลัก รุกขกรจะดูเป็นต้นไม้ใหญ่อย่างเดียวหรือต้นไม้เล็กๆ

ต้นไม้เล็กๆ ถ้าหมายถึงไม้พุ่มหรือไม้ประดับเราจะให้คนที่เรียนด้านนั้นเฉพาะ เช่น พืชสวน อะไรพวกนี้เขาดูแลไปดีกว่า เราก็แยกมาดูต้นไม้ใหญ่ ซึ่งปัจจุบันคนที่ทำงานจริงๆ น้อย เราก็เลยอยากจะกำหนดขอบเขตงานให้มันชัดเจนว่าเราคือคนที่ดูแลต้นไม้ใหญ่เท่านั้น

มาพูดถึงการตัดแต่งกิ่งต้นไม้ใหญ่บ้างว่าวิธีการของรุกขกร มีวิธีการดูอย่างไร ว่าต้นไม้โตขนาดนี้ควรจะต้องตัดกิ่ง  ตกแต่งกิ่งได้ มีวิธีการตกแต่งกิ่ง พอตัดแต่งเสร็จแล้ว และมีการเยียวยาหรือสมานแผลอย่างไร

ต้องเรียนอย่างนี้ก่อนว่าต้นไม้ในเมืองสาเหตุส่วนใหญ่ของการเกิดความเสียหายหรืออุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจากการตัดแต่งกิ่งที่ผิดวิธี การตัดแต่งกิ่งที่ผิดวิธีเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ต้นไม้ผุ โครงสร้างมันอ่อนแอ ตรงนี้เองพอเกิดหน้าฝน ลมพายุรุนแรง มันก็จะหัก สร้างอุบัติเหตุให้เกิดขึ้นกับผู้ที่สัญจรไปมา หรือเราที่นั่งใต้ต้นไม้

พิธีกร สาเหตุหนึ่งที่เจอมากในมหาวิทยาลัยคือมีพายุ ลมแรงๆ ต้นไม้จะโค่นลง

จากการตัดแต่งที่ผิดวิธีแล้ว เมื่อกี้ที่บอกว่าระบบรากนะครับ ต้นไม้จริงๆ รากของต้นไม้ไม่ได้อยู่ลึกมาก เขาอยู่ที่ระดับผิวดินไม่เกินสัก 1 เมตร ส่วนใหญ่จะอยู่สัก 3-50 เซนติเมตร ประมาณนี้ ต้นไม้ที่มีรากอยู่บนผิวดินการเปลี่ยนแปลงสภาพของพื้นผิวตรงนั้นมีผลโดยตรงกับราก เช่น ต้นไม้เคยขึ้นอยู่ดีๆ เราเอาปูนซีเมนต์มาเททับ เป็นทางเท้า เป็นที่วางเก้าอี้เป็นอะไรอย่างนี้ รากได้รับผลกระทบทันที พอรากเสียหาย ฝนตก ลมแรง ก็เกิดเหตุอย่างที่ว่า คือ ล้ม นั่นคือสาเหตุหลัก

พิธีกร ในเรื่องของการตัดแต่ง

การตัดแต่ง ก่อนที่เราจะตัดแต่งเราเคยเห็นไหมครับว่า เมื่อก่อนจะมี ไม่ต้องก่อนหรอก เดี๋ยวนี้ก็มี จะมีการตัดแต่งที่เขาเรียกว่า กุดหัว ภาษาชาวบ้านเรียกว่า กุดหัว คือตัดเหลือแต่ต้น ไม่มีใบ ไม่มีกิ่ง ไม่มีอะไรเลย ในกรุงเทพฯ เจอบ่อย การตัดแบบนี้ผมต้องบอกก่อนเลยว่า เป็นการตัดที่ผิดวิธีมากๆ การตัดแบบนั้นไม่ทำให้ต้นไม้เจริญเติบโตได้อีกแล้ว เพราะต้นไม้ไม่สามารถจะสร้างใบได้อีก ในเกษตรเองลองสังเกตดูหลายจุดจะตัดแบบนี้ นั่นคือการตัดโดยคนที่ไม่มีความรู้ ตัดเพื่อให้เตี้ยอย่างเดียวและก็หมดปัญหาใบไม่ร่วงซะ สุดท้ายต้นไม้ส่วนใหญ่พวกนี้ตาย รุกขกรจะตัดต้นไม้สักกิ่งต้องมีหลักคิดว่าจะตัดต้นนั้นตรงนั้นเพื่ออะไร จะแก้ปัญหาอะไร ตัดแล้วปัญหาหมดไหม ถ้าตัดแล้วจะมีปัญหาอะไรตามมา ต้องประเมินสภาพต้นไม้ก่อน เช่น ตรงนี้ต้นไม้มีขึ้นอยู่กี่ต้น ร่มเงาพอไหม ปัญหามีต้นไหนบ้างที่อาจจะสร้างอุบัติเหตุให้คน นิสิตที่นั่งอ่านหนังสือ เราแก้เป็นเรื่องๆ ไป โดยใช้หลักวิชาการเข้าไป เราไม่มาถึงตัดให้หัวกุดไปเลย จะได้หมดปัญหาใบร่วง ไม่ต้องตัดบ่อยคือเราจะไม่ทำแบบนั้นเด็ดขาด บางครั้งบางคนคิดว่า ทำไมตัดแค่นี้เอง ตัดน้อยจัง ทำไมไม่ตัดเยอะๆ ล่ะ ใบจะได้ไม่ร่วง ตรงนี้เองต้องอธิบายทำความเข้าใจกับคนในสังคมอีกเยอะ 

อุปกรณ์การตัดเขาต้องมีอุปกรณ์เยอะแยะมากมาย ต้องมีเชือกโหนอะไรไหมครับ

อย่างที่สอนนิสิตอยู่ตอนนี้ อุปกรณ์เรามีตั้งแต่ขึ้นบนต้นไม้ มีเชือก มีอุปกรณ์การปีนต่างๆ มีเลื่อย มีเลื่อยยนต์ ซึ่งหลักสำคัญที่สุดคือความปลอดภัย วิชาชีพรุกขกรหรือการปีนขึ้นไปตัดต้นไม้ เคยมีการจัดอันดับว่าเป็น1 ใน 10ของอาชีพอันตรายที่สุดในโลก มีการบาดเจ็บและเสียชีวิตต่อหัวสูงมากกว่าการขับรถบรรทุกอีก หมายถึงปีๆ หนึ่งมีคนบาดเจ็บเพราะอาชีพนี้เยอะ ในประเทศไทยเองก็เถอะคนที่ปีนตัดต้นไม้แล้วตายเป็นข่าวอยู่บ่อยๆ แต่ส่วนใหญ่พวกนี้จะขึ้นไปตัดแต่งโดยไม่มีความรู้อะไร ใช้ประสบการณ์กับความกล้าอย่างเดียวแล้วขึ้นไปเลย พอพลาดปั๊บ อุบัติเหตุเสียชีวิตทันที 

พอพูดถึงอุบัติเหตนึกถึงเรื่องสายไฟฟ้า ที่เห็นต้นไม้อยู่ใกล้ๆ สายไฟ เขาก็ต้องประสานกับทางการไฟฟ้า

นี่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ประสบอุบติเหตุกันบ่อยๆ คือเรื่องไฟฟ้า เพราะว่าต้นไม้บ้านเรามันอยู่ร่วมกับสายไฟฟ้า บ้านเรายังมีต้นไม้ที่เกี่ยวพัน ลัดเลาะอยู่กับไฟฟ้าอยู่การตัดแต่งอันตรายมาก ในต่างประเทศมีรุกขกรที่ทำงานเฉพาะกับสายไฟฟ้าเลยเป็นศาสตร์อีกด้านหนึ่งเลย ต้องเรียนเฉพาะทางมากๆ บ้านเราแก้ปัญหาด้วยการตัดไฟก่อน ถ้าตัดไม่ได้ก็ขึ้นไปแบบนั้นนี่เป็นสาเหตุว่าพอไฟรั่วขึ้นมาช็อตเสียชีวิต มีบ่อยๆ อันตรายมากๆ จริงๆ การทำงานกับไฟฟ้าต้องประสานการไฟฟ้าอย่างใกล้ชิด ซึ่งเขายินดีตัดให้เราอยู่แล้ว

พิธีกร แจ้งไปที่การไฟฟ้าได้เลย

แจ้งได้เลย

ในส่วนของรุกขกรมีหน่วยงานที่ที่สามารถแจ้งว่าเราต้องการจะตัดตกแต่งกิ่ง

ตอนนี้ถ้าเป็นหน่วยงานของรัฐก็มีกรมป่าไม้ กรมป่าไม้ซึ่งมีรุกขกรของเขาอยู่ ซึ่งเป็นศิษย์เก่าจากวนศาสตร์นี่ล่ะ แล้วก็มีคณะวนศาสตร์ ที่เหลือจะเป็นรุกขกรที่เป็นเอกชน ซึ่งคนที่ทำงานเป็นรุกขกร เขามีการรับงานไปตัดแต่ง ไปประเมินหน้างานให้ตามปกติ ลองเข้า googleและ search รุกขกร

ในการตัดกิ่งอาจารย์มีวิธีตัด เขาตัดต้นโค่นเลยไหม หรือว่าเว้นอะไร อย่างไรบ้าง

อย่างที่เรียนไว้ว่า การตัดแต่งกิ่งต้องรู้ก่อนว่าเราจะตัดเพื่ออะไรอันดับแรก ถ้าเรารู้ว่าเราตัดเพื่ออะไร step ต่อไปถึงจะรู้ว่าเราจะตัดอย่างไร แต่หลักการทั่วๆ ไป เราไม่ควรตัดมากกว่า 2 ใน 3 ของกิ่งทั้งหมด สมมุติมีกิ่งอยู่ 30 เมตร สมมุตินะครับ เราก็ไม่ควรตัดมากกว่า 20 เมตร เหลือไว้ 10 เมตร ทำไมต้องเหลือไว้อย่างนั้น เพราะว่าใบเป็นส่วนสำคัญในการผลิตอาหาร ถ้าไม่มีใบต้นไม้อยู่ไม่ได้ หลายๆ ต้นในเกษตรตัดจนเหลือกิ่งไว้ 2 3 กิ่ง มันสร้างอาหารในการดำรงชีวิตไม่พอ สุดท้ายต้นไม้ไม่ไหวไม่ได้กิน มันก็ต้องตาย ธรรมดา 

พอตัดแต่งกิ่ง เราต้องเยียวยาสมานแผลต้นไม้อะไรอย่างไรบ้าง

การตัดแต่งกิ่งถ้าเป็นรุกขกรจริงๆ จะต้องรู้เลยว่าต้องตัดตรงไหน ต้นไม้มีกลไกในการเยียวยาตนเอง ถ้าตัดถูกจุด ต้นไม้สามารถจะมีการสร้างเนื้อไม้มาปิดแผลตัวเองได้ เหมือนคนเวลาเป็นแผลจะสามารถปิดแผลเองได้ ปัญหาคือคนที่ตัดส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าจะตัดส่วนไหน ต้นไม้จะสะสมพลังงานไว้ตำแหน่งที่เราควรจะตัดให้เหลือไว้ ส่วนใหญ่เราจะตัดทิ้ง

พิธีกร พอตัดทิ้งก็ไม่เจริญเติบโต ก็ตายได้

มันคือบริเวณใกล้ๆ โคนของกิ่ง ถ้าเราตัดชิดต้น ไอ้ส่วนนี้จะถูกตัดทิ้งไป คนที่ตัดเป็นจะเหลือส่วนนี้ไว้ เพื่อให้ต้นไม้สมานบาดแผลได้ เราเรียกว่า คอกิ่ง

ในความคิดเห็นของอาจารย์สถานการณ์ของต้นไม้ใหญ่ในเมืองตอนนี้ของบ้านเราเป็นอย่างไรบ้าง

ต้นไม้ใหญ่ในบ้านเราตอนนี้ ในกรุงเทพฯ แล้วกัน ถ้าบ้านเรามันดูกว้างไปนิดหนึ่ง ในกรุงเทพฯ ต้นไม้ส่วนใหญ่ปัญหาคือสุขภาพแย่ แย่ถึงแย่ที่สุด ง่ายๆ เลยถ้าเราเดินดูรอบม.เกษตรต้นไม้ส่วนใหญ่ไม่มีต้นไหนสมบูรณ์เลย มันต้องมีผุ มีโรค มีแมลงอะไรสักอย่างบนต้นไม้ แม้แต่ข้างนอกถ้าขยายกรุงเทพมหานคร ผมชอบเดินดูต้นไม้ เสาร์ อาทิตย์ผมไปสวนสาธารณะทุกวัน น้อยมากที่เราจะเจอต้นไม้ที่สมบูรณ์ ไม่มีอะไรที่เป็นปัญหาเลย สิ่งที่กำลังเกิดขึ้นกับบ้านเราคืออะไร ปัญหาพวกนี้เป็นเหมือนระเบิดเวลาที่มันฝังเอาไว้ เราไม่รู้เลยว่าที่เรานั่งอยู่ตรงนี้ สัมภาษณ์อยู่ตรงนี้ อาจจะมีกิ่งไม้สักกิ่งหล่นใส่หัวเราเสียชีวิตก็ได้ มันคือความเสี่ยงที่เกิดขึ้นกับทุกคนที่อาศัยอยู่ในเมืองใหญ่ เรายังไม่มีการจัดการที่ถูกวิธีและเข้มข้นเพียงพอ เรายังมองว่าปัญหาของต้นไม้เป็นปัญหาเล็กๆ เป็นลำดับท้ายๆ ที่คนจะให้ความสำคัญ จนวันหนึ่งถ้ามันล้มใส่ใครคนหนึ่งเสียชีวิต นั่นล่ะมันจะเป็นประเด็นอีกครั้ง และจะเงียบหายไป จนใครสักคนเสียชิวิตอีกคนหนึ่งอย่างนี้ เป็นอย่างนี้ แทนที่เราจะเริ่มดูแลตั้งแต่วันนี้ ซึ่งวนศาสตร์เองเราก็ทำงานร่วมกับหลายหน่วยงาน กรมป่าไม้ กทม. เอง ในการที่จะช่วยทำให้ในส่วนนี้พัฒนาได้ดียิ่งขึ้น

ในส่วนของการดูแลรักษาอาจารย์บอกว่ายังไม่ค่อยสมบูรณ์ยังมีโรคมีแมลงต่างๆ  ในส่วนเรื่องการตัดแต่งกิ่งในกรุงเทพฯ หรือในตัวมหาวิทยาลัยของเราเอง อาจารย์มีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง

การตัดแต่งกิ่งที่ผ่านมาในอดีต ส่วนใหญ่จะเป็นการตัดแต่งที่ผิดวิธีคือเราใช้การตัดเพื่อให้ปัญหามันหมดไป เช่นถ้าใบร่วงก็ตัดให้มันไม่มีใบ ถ้ามันสูงก็ตัดให้มันเตี้ย ตรงนี้นี่ล่ะทำให้ต้นไม้นอกจากสุขภาพไม่ดีแล้ว มันยังมีความทรรศนะอุจาด คือมีไม่สวยงามอีกต่างหาก เร็วๆ นี้จนถึงปัจจุบันเราก็เริ่มมีศาสตร์ด้านรุกขกรรมเข้ามา คนที่ดูแลต้นไม้เอง กทม. เอง หรือแม้แต่มหาวิทยาลัยของเราซึ่งก็โดยกองยาน วันศุกร์นี้ผมก็จะไปอบรมให้เจ้าหน้าที่ในการดูแลต้นไม้ตัดแต่งกิ่งของมหาวิทยาลัยเกษตรของเรา อย่าง กทม. เองสองปีมาแล้วต่อเนื่องกันผมได้ออกไปร่วมอบรมให้เจ้าหน้าที่ชุดเขียวๆ ที่อยู่ริมถนนว่าการดูแลต้นไม้ใหญ่ การตัดแต่งกิ่งที่ถูกวิธีทำอย่างไร ตอนนี้มันกำลังขยายออกไปก็กำลังเริ่มต้นกันอยู่ช่วยๆ กัน

พิธีกร ตอนนี้ก็ถือว่าเริ่มต้นไปเริ่มมีการวางแผน เริ่มต้นให้ความรู้กับบุคคลที่เกี่ยวข้องในการดูแลต้นไม้ รุกขกรต่างๆ ใช่ไหมครับอาจารย์  อันนี้จะเป็นเรื่องราวทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับรุกขกร และต้นไม้ใหญ่ในเมือง ซึ่งอาจารย์ก็ให้ความรู้มากมายในเรื่องของทั้งสถิติต่างๆ ที่เราเองก็เพิ่งรู้ เพิ่งทราบในรายการวันนี้เองว่าเขามีการวางสถิติพื้นที่สีเขียว เมื่อเทียบกับปริมาณพื้นที่ต่อหัวประชากร ในประเทศเราเองถือว่ายังต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานมากอยู่เหมือนกันและมีการวางแผนกันเรียบร้อย วันนี้เองเราก็ได้ความรู้ค่อนข้างเยอะ ในเรื่องของถ้าหากว่าเรามีนักศึกษา นักเรียน ที่อยากเป็นรุกขกร สามารถเรียนทางด้านศาสตร์ไหนบ้าง เช่น คณะวนศาสตร์ก็มี หรือจะเป็นคณะพฤกศาสตร์ หรือพืชสวนที่สามารถที่จะเป็นรุกขกรตรงนี้ได้ และได้ประโยชน์อย่างมากในเรื่องของขั้นตอนต่างๆ การตกแต่งกิ่งว่าเราต้องดูอย่างไรอย่างที่อาจารย์บอกเราต้องเน้นวัตถุประสงค์ก่อนว่าเราจะตัดเพื่ออะไร เราจะต้องเน้นในเรื่องหลักของความปลอดภัยเป็นสำคัญ ในช่วงของท้ายรายการได้ข้อมูลค่อนข้างมากพอสมควร

อยากจะให้อาจารย์ฝากกับท่านผู้ชมนะครับว่า อยากจะฝากผู้ชมในเรื่องของการดูแลต้นไม้ใหญ่ทัศนคติต่างๆ หรือการเตรียมตัวที่เราอยากจะทำเกี่ยวกับอาชีพรุกขกร

สุดท้ายอยากจะฝากว่า บ้านเราตอนนี้ยังต้องการคนที่จะมาทำวิชาชีพด้านรุกขกรอีกมาก ตลาดแรงงานต้องการคนที่ทำงานด้านนี้อีกเยอะ เพราะเรามีจำนวนน้อยจริงๆ อยากจะเชิญชวนผู้ที่สนใจหรือน้องๆ ที่สนใจจะศึกษาด้านนี้ คณะวนศาสตร์เองเราก็ได้เปิดสอน ซึ่งอนาคตผมเชื่อว่าเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพฯ ถ้าขาดรุกขกรไปแล้ว เราคงมีต้นไม้ มีพื้นที่สีเขียวที่สมบูรณ์ไปไม่ได้ ก็ฝากให้ผู้ที่สนใจยินดีที่ให้คำปรึกษาและให้ความรู้ติดต่อได้ที่คณะวนศาสตร์

นี่ก็เป็นข้อฝากของอาจาร์ยในเรื่องของการดูแลต้นไม้ใหญ่ หรือการที่จะเข้ามาสู่การเป็นอาชีพรุกขกรต่างๆ สำหรับในวันนี้เองต้องขอขอบพระคุณ อาจารย์พรเทพ เหมือนพงษ์ มากๆ ที่ในวันนี้ได้นำความรู้ของอาจารย์มาเผยแพร่กับชาว KUlibTalk ของเราซึ่งได้ข้อมูลที่สำคัญเป็นอย่างมากในรื่องการดูแลต้นไม้ใหญ่เอย วัตถุประสงค์ใหญ่ๆ ของรุกขกรว่ามีอาชีพนี้ไปเพื่ออะไร และดูแลต้นไม้อย่างไรบ้าง ขั้นตอนที่อาจารย์ได้กล่าวมาค่อนข้างละเอียดพอสมควร และสำหรับในวันนี้เองก็ขอจบรายการเพียงเท่านี้ สำหรับท่านผู้ชมที่อยากจะติดตามข่าวสารในครั้งหน้าจะเป็นใครที่มานั่งให้ความรู้ดีๆ เหมือนในวันนี้สามารถติดตามใน facebookของสำนักหอสมุดได้ หรือจะใช้ช่องทางไลน์โดยจะสามารถแอดที่ไลน์@kulibraryเพียงเท่านี้ท่านสามารถจะติดตามของรายการ KUlibTalk ได้นะครับ ในวันนี้ขอขอบคุณทุกท่านที่ติดตามชมรายการ ขอบคุณนะครับผม สวัสดีครับ

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

1.       Nature abhors a vacuum: deciphering the vegetative reaction of the mango tree to pruning.

2.       Effects of top pruning on seed setting of aged mother trees in orchard of Pinus sylvestris var. mongolica.

3.       Quantifying pruning impacts on olive tree architecture and annual canopy growth by using UAV-based 3D modelling.

4.       Effect of pruning season and tool on knot occlusion and stem discolouration in Betula pendula - situation five years after pruning.

5.       Effect of different pruning intensity on the canopy light distribution and yield and quality in Castaneahenryi.

6.       Knot soundness and occlusion time after artificial pruning of oak.

7.       Mechanical pruning of apple trees as an alternative to manual pruning.

8.       effect of chemical thinning, gibberellic acid and pruning on growth and production of nectarine (Prunus persica (L.) Batsch var. nucipersica) cv. May fire.

9.       The engineering of light distribution enhancement through pruning management towards the production of cocoa tree (Theobroma cacao L.) in Soppeng Regency, South Sulawesi of Indonesia.

10.    Responses of shoot growth, return flowering, and fruit yield to post-pruning practices and growth regulator application in olive trees.

 

KULIB TALK | Special | รู้จักสารอาหาร เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ต้านโรค

“ในช่วงนี้คนไทยเริ่มใส่ใจในการดูแลสุขภาพอนามัยและสุขภาพของตนเองอย่างเคร่งครัด เพื่อรับมือกับโรคโควิด-19 วิธีง่ายๆที่ควรปฏิบัติคือการกินอาหารให้ครบ5หมู่ กินผักผลไม้ให้มากขึ้นหรือทานอาหารเสริมเพื่อช่วยให้ภูมิคุ้มกันร่างกายแข็งแรงยิ่งขึ้น วันนี้รายการ ku libtalk special ได้เชิญผู้เชี่ยวชาญด้านการโภชนาการและสุขภาพ ดร.ดาลัด ศิริวัน ซึ่งท่านเป็นรองผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนจากสถาบันค้นคว้าและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาให้ความรู้กับเราในวันนี้ค่ะ “

คำถาม : ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราเป็นอย่างไร ?

ดร.ดาลัด ศิริวัน :  ค่ะ…สำหรับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายนะคะจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทนะคะ ระบบแรกเลยเนี่ยเป็นระบบภูมิคุ้มกันที่เรียกว่าภูมิคุ้มกันแบบที่เราได้รับมาตั้งแต่กำเนิดหรือว่าชื่อภาษาอังกฤษก็คือ innate immunity นะคะ ภูมิคุ้มกันชั้นพวกนี้ค่ะจะเป็นภูมิคุ้มกันแบบที่ไม่จำเพาะเจาะจง….หมายความว่าในการตอบสนองต่อเชื้อโรคนะคะจะไม่เจาะจงต่อชนิดของเชื้อโรคและก็จะมีการตอบสนองอย่างรวดเร็วและก็ตอบสนองเหมือนเดิมทุกครั้งนะคะเมื่อเชื้อโรคเข้ามา….ตัวอย่างนะคะก็เช่นประเภทผิวหนังนะคะ…เยื่อบุทางเดินหายใจต่างๆแล้วก็ในส่วนสุดท้ายก็จะเป็นเม็ดเลือดขาวค่ะชนิดต่างๆ…โดยเฉพาะเม็ดเลือดขาวที่เราเรียกว่า NK cell หรือว่าเซลล์เพชฌฆาตเนี่ยจะทำหน้าที่กำจัดเชื้อไวรัสกำจัดเซลล์ที่ติดไวรัสหรือว่าเซลล์มะเร็งค่ะ…แล้วก็ระบบที่ 2 คือเราเรียกว่าระบบภูมิคุ้มกันที่ได้รับมาภายหลังหรือว่าภูมิคุ้มกันแบบจำเพาะเจาะจงนะคะชื่อภาษาอังกฤษก็คือ adaptive immunity นะคะภูมิคุ้มกันชนิดนี้ที่เราเคยได้ยินกันว่าอาจจะมีการสร้างแอนติบอดี้นและก็จะมีความพิเศษคือมีความจำเพราะฉะนั้นเวลาที่เชื้อโรคเข้ามาในครั้งแรกเขาอาจจะทำงานได้ไม่ดีนักแต่ในครั้งที่ 2 จะมีการจดจำชนิดของเชื้อโรคแล้วเนี่ยก็จะทำงานแบบจำเพาะเจาะจงมากขึ้นค่ะ

คำถาม : กลไกการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกาย เป็นอย่างไร

ดร.ดาลัด ศิริวัน : สำหรับในเรื่องของกลไกในการทำงาน…ยกตัวอย่างถ้ามีสิ่งแปลกปลอมเข้ามาสู่ร่างกายนะคะ…สมมุติว่าเราได้รับเชื้อโรคผ่านระบบทางเดินหายใจ ในตัวที่จะทำงานอันดับแรกคือเยื่อบุผิวหนัง เยื่อบุ เมือกต่างๆ ร่างกายจะทำงานคือทำให้เราเกิดไอ จาม เพื่อที่จะทำการกำจัดเชื้อโรคออกไป ถ้าร่างกายกำจัดเชื้อโรคไม่ได้ก็จะมีตัวเข้ามาช่วยคือเซลล์เม็ดเลือดขาวของเรานะคะ ก็ในระบบแรกของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่จะเข้ามาก็คือเป็นภูมิคุ้มกันที่เราได้รับมาตั้งแต่กำเนิดนะคะ ในส่วนของ innate immunity คือเจ้าตัว macrophage…. ก็จะเข้ามาจับกินไวรัสก่อน ในกรณีที่ไวรัสยังไม่เข้ามาทำลายเซลล์ของเรานะคะ…. ทีนี้ถ้าไวรัสเข้ามาสู่เซลล์เราแล้วเนี่ยตัวที่มีบทบาทที่เป็นพระเอกเลยก็คือตัว Natural killer cell หรือ NK cell ที่เมื่อกี้อาจารย์บอกนะคะ….หลังจากนั้นเนี่ยถ้าเซลล์นี้กำจัดไวรัสไปได้หมดก็..ภูมิคุ้มกันชนิดที่2อาจจะไม่ได้ถูกกระตุ้นนะคะ แต่ในหลายๆกรณีเค้าพบว่าจะต้องมีการทำงานร่วมกันก็คือ..ตัว NK cell เนี่ยค่ะ…ก็จะมีการทำงานร่วมกันกับภูมิคุ้มกันชนิดที่2 หรือที่เราเรียกว่า Adaptive immunity โดยที่ตัวไวรัสจะไปกระตุ้นให้เซลล์มีการสร้างแอนติบอดี้ขึ้นมา…เราจะเห็นว่าคนที่ติดเชื้อไวรัสแล้วเนี่ย เค้าก็จะมีภูมิคุ้มกันหลังจากที่..ร่างกายทำความรู้จักกับเชื้อโรคแล้วเนี่ยค่ะ ก็จะเป็นลักษณะประมาณนี้....เป็นกลไกลนะคะ…จริงๆในการทำงานถึงแม้ว่าระบบภูมิคุ้มกันจะแยกเป็นสองส่วนแต่ว่าการทำงานเค้าจะทำงานลักษณะของการสอดประสานกัน....ฉะนั้นมันจะไม่ได้มีการแยกขาดจากกันอย่างเด่นชัด ทั้งนี้ก็เพื่อประสิทธิภาพสูงสุดในการกำจัดเชื้อโรคที่จะเข้าสู่ร่างกายค่ะ….

คำถาม : อะไรบ้าง…ที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายของเรา…

ดร.ดาลัด ศิริวัน :  สำหรับในส่วนของอาหารนะคะ…ก็มีบทบาทสำคัญอย่างมากเลยนะคะต่อภูมิคุ้มกันเป็นลักษณะที่ว่า…..เป็นการเสริมสร้างจากภายในสู่ภายนอกนะคะโดยอาหารที่จะมีบทบาทสำคัญก็จะแบ่งหลักๆเนี่ยเป็น 2 กลุ่มก็คือกลุ่มที่เราเรียกว่าเป็นกลุ่มสารอาหารกับกลุ่มที่ไม่ใช่สารอาหารนะคะ….เป็น Non-nutrient แต่ว่ามีความสำคัญเหมือนกัน….เพราะฉะนั้นอาจารย์ก็จะอธิบายถึงกลุ่มที่เป็นสารอาหารก่อน....ในกลุ่มของสารอาหารก็จะแบ่งเป็น Macro-Nutrient คือสารอาหารหลักก็อย่างเช่นคาร์โบไฮเดรตนะคะเราจะทราบกันดีอยู่แล้วว่าทุกเซลล์ในร่างกายเนี่ยต้องการพลังงานเซลล์เม็ดเลือดขาวก็เช่นกันนะคะในกลุ่มของคาร์โบไฮเดรตก็อย่างเช่นข้าวแป้งนะคะ….ในกรณีนี้ก็อาจจะแนะนำว่าให้เราทานเป็นพวกข้าวซ้อมมือเพื่อที่จะให้ได้วิตามินมาด้วยนอกจากพลังงานอย่างเดียวนะคะ…..ส่วนที่ 2 ก็เป็นโปรตีนค่ะซึ่งก็จะพบในเนื้อสัตว์ซึ่งก็จะมีบทบาทในการที่จะทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวแข็งแรงเหมือนกันค่ะ…ในส่วนอีกส่วนหนึ่งก็เป็นสารอาหารหลักเหมือนกันแต่ว่าร่างกายต้องการปริมาณน้อยคือเขาก็เลยเรียกว่าเป็นกลุ่ม Micro-nutrient นะคะเช่นวิตามินและเกลือแร่ต่างๆวิตามินที่สำคัญนะคะในการที่สร้างเสริมภูมิคุ้มกันก็อย่างเช่นวิตามินเอวิตามินดีนะคะแล้วก็วิตามินอีและวิตามินซีค่ะส่วนแร่ธาตุก็จะเป็นแร่ธาตุพวกธาตุเหล็กและสังกะสีนะคะสำหรับกลุ่มที่เป็น Non-nutrient เนี่ยก็จะเป็นกลุ่มของสารสำคัญในพืชผักผลไม้ที่เราจะเห็นว่าเป็นสารให้สีหรือว่าสารที่ป้องกันแมลงให้พืชผักผลไม้ซึ่งบางอันนี้จะส่งผลให้ผักผลไม้ชนิดนั้นมีรสค่อนข้างฝาดนิดนึงนะคะ….สารพวกนี้เขาเรียกว่าสารพฤกษเคมีหรือว่าไฟโตนิวเทรียนท์นะคะ….ก็จะพบเยอะเลยในพวกพืชผักสมุนไพรไทยค่ะ….อีกส่วนนึงอันนี้เราเรียกว่าสารโพลีแซคคาไรด์นะคะอย่างเช่นเบต้ากลูแคนนะคะก็จะพบในพวกเห็ดนะคะพบมากในเห็ดค่ะ….แล้วก็สำหรับส่วนสุดท้ายเลยเนี่ยก็จะเป็นพวกกลุ่มจุลินทรีย์ค่ะที่เราเรียกว่าโปรไบโอติกก็จะพบในพวกโยเกิร์ตเป็นส่วนใหญ่ค่ะ…..

คำถาม : ทานอาหารตามกรุ๊ปเลือด จะช่วยเริ่งสุขภาพหรือช่วยเริมภูมิคุ้มกัน?

ดร.ดาลัด ศิริวัน :  ในส่วนของอาหารตามกรุ๊ปเลือดนะคะต้องเรียนตามตรงว่าถ้าดูจากงานวิจัยแล้วเนี่ยยังไม่ได้มีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์มารองรับว่ามีส่วนที่ช่วยในการเสริมภูมิต้านทาน…แต่ทีนี้ว่าที่ได้รับความนิยมอาจจะเป็นเรื่องของการลดน้ำหนักเพราะว่าอาหารตามกรุ๊ปเลือดจะค่อนข้างมีความไม่ค่อยหลากหลายเท่าไหร่จะค่อนข้างจำเพาะ…..ยกตัวอย่างเช่นกรุ๊ปเลือดโอเขาก็จะเน้นว่าให้กรุ๊ปเลือดโอเน้นทานโปรตีนเยอะๆคือผักผลไม้อาจจะไม่ต้องรับประทานมากเพราะฉะนั้นก็จะเป็นการค่อนข้างจำกัดความหลากหลายค่ะที่จะได้รับเพราะฉะนั้นในส่วนนี้แน่นอนว่าก็ไม่ค่อยส่งเสริมในเรื่องของภูมิต้านทานเท่าไหร่ค่ะ….

คำถาม : อาหารที่มีฤทธิ์ร้อน ฤทธิ์เย็น มีส่วนช่วยในเรื่องสุขภาพ ?

ดร.ดาลัด ศิริวัน :  สำหรับอีกส่วนหนึ่งในเรื่องของอาหารที่มีฤทธิ์ร้อนฤทธิ์เย็นนะคะ…จริงๆแนวความคิดนี้มาจาก….เขาเรียกว่าการแพทย์พื้นบ้านนะคะหรือเป็นพวก Traditional Medicine นะคะก็จะมีแนวความคิดเริ่มมาจากการแพทย์แผนจีนและก็มีแพทย์แผนไทยด้วยนะคะโดยที่หลักเกณฑ์ก็คืออาหารที่ให้ฤทธิ์ร้อนเนี่ยก็จะเป็นอาหารที่มีพลังงานสูงแล้วเราทานเข้าไปก็รู้สึกเผ็ดร้อนใช่ไหมคะ....ส่วนอาหารที่มีฤทธิ์เย็นก็คือทานเข้าไปแล้วรู้สึกเย็นมีน้ำเยอะ......ที่นี้ในมุมมองของนักโภชนาการและในมุมมองของนักวิทยาศาสตร์นะคะเราเราสนใจว่าองค์ประกอบหรือสารอาหารที่อยู่ในตัวอาหารมากกว่านะคะว่าตรงส่วนนี้มันจะมีผลในการป้องกันและรักษาโรคได้.....ที่นี้ก็มีงานวิจัยนะคะลองวิจัยดูว่าองค์ประกอบอะไรหรือความแตกต่างนะคะระหว่างอาหารที่มีฤทธิ์ร้อนหรือฤทธิ์เย็น……ก็เขาก็พบว่าอาหารที่มีฤทธิ์ร้อนนี่ค่ะมีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบบางอย่างที่ไม่เหมือนกับอาหารฤทธิ์เย็น ยกตัวอย่างเช่นอาหารที่มีฤทธิ์ร้อนเนี่ยจะเป็นอาหารที่ให้พลังงานสูงอย่างเป็นพวกแป้ง…แต่ข้อดีก็มีนะคะอาหารที่มีฤทธิ์ร้อนเนี่ยมักจะมีสารพฤกษเคมีสูงแล้วก็จะมีวิตามินเอวิตามินซีและวิตามินอีสูงนะคะส่วนอาหารที่มีฤทธิ์เย็นเนี่ยจะมีองค์ประกอบของน้ำเป็นหลักและก็มีวิตามินบี 6 บี 12 นะคะทั้งนี้ทั้งนั้นจริงๆก็มีประโยชน์ทั้ง 2 แบบนะคะเพียงแต่ว่าเป็นหลักการของการแพทย์พื้นบ้านนะคะที่นี้ในส่วนตัวถ้าอาจารย์จะแนะนำก็อยากให้ทานให้มีลักษณะสมดุลแล้วก็หลากหลายเพราะว่าจริงๆอาหารทั้งสองอย่างเนี่ยคุณค่าทางโภชนาการก็ก็จะแตกต่างกันอย่างที่อาจารย์บอกไปตอนแรกว่าระบบภูมิคุ้มกันค่อนข้างต้องการสารอาหารหลายตัวนะคะเพราะฉะนั้นถ้าเราทานเสริมกันให้มีความหลากหลายก็จะช่วยช่วยร่างกายได้มากกว่าค่ะ…..

คำถาม : อาหารกลุ่มไหนบ้าง ที่ช่วยลดโอกาสในการติดโควิด-19

ดร.ดาลัด ศิริวัน :  อาหารนะคะที่ทานแล้วจะเสริมสร้างภูมิต้านทานอ่ะค่ะ….ก็จะแนะนำในกลุ่มของที่จะเป็นเกี่ยวกับพวกวิตามินและแร่ธาตุก่อนนะคะแล้วก็จะบอกว่าพบในอาหารชนิดไหนบ้าง….อย่างตัวที่สำคัญตัวแรกนะคะก็เป็นกลุ่มของตัววิตามินเอ เพราะว่า วิตามินเอเนี่ยก็มีการเสริมสร้างเยื่อบุผิวหนังเยื่อบุทางเดินหายใจของเรานะคะ…เพื่อที่ให้แข็งแรงและก็เชื้อโรคก็จะได้ไม่สามารถผ่านเข้ามาได้ง่ายๆนะคะ….สำหรับอาหารที่มีวิตามินเอเยอะก็ผักผลไม้ที่เป็นสีส้มนะคะอย่างในบ้านเราอย่างมะละกอก็หาได้ง่ายหรือว่าจะเป็นตัวแครอทเองนะคะหรือว่าจะเป็นอาหารที่มีตัวแคโรทีนอยด์คือตัวแคโรทีนอยด์เนี่ยสามารถเปลี่ยนเป็นวิตามินเอได้เช่นกันก็จะมีในผักพวกผักใบเขียวสีเข้มนะคะโดยเฉพาะอย่างถ้าเป็นผักพื้นบ้านบ้านเราก็ยิ่งมีเยอะนะคะแต่ทีนี้ผักพื้นบ้านเด็กๆอาจจะทานยาก อาจจะมีรสขมนิดนึงไงก็สามารถทานผักใบเขียวได้ทุกชนิดนะคะก็มีวิตามินเอสูงเหมือนกัน……อันที่ 2 อันนี้น่าจะได้ยินอยู่บ่อยๆอยู่แล้ว....วิตามินซีนะคะวิตามินซีก็จะมีในผักผลไม้ตระกูลส้มนะคะก็จะมีสูงเลยค่ะแล้วก็อีกส่วนนึงก็คือเป็นวิตามิน e คือจริงๆแล้วการทำงานวิตามินซีกับอีนี้เขาจะมาคู่กันถ้าเราทานให้ได้ทั้งซีและอีก็จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพค่ะ ……วิตามินอีก็จะมีมากในพวกผลไม้พวกอะโวคาโดหรือว่ามีในน้ำมันน้ำมันพืชต่างๆเนี่ยค่ะแล้วก็ถั่วเมล็ดแห้งต่างๆนะคะแล้วก็อีกตัวนึงคือวิตามินดีเพราะหลายๆท่านอาจจะมองข้ามไป…..อย่างเมืองไทยเป็นเมืองร้อนเราสามารถได้รับวิตามินดีแสงแดดเลยนะคะ….แต่ทุกวันนี้เราก็ไม่ค่อยไปตากแดดกันเท่าไหร่เนาะ….ก็คือหลักจริงๆถ้าสมมุติเราไม่อยากได้รับจากอาหารเนี่ยจริงๆตอนเช้าอะค่ะแดดช่วงอ่อนๆตอนเช้าเนี่ยได้รับสัก 15-20 นาทีเนี่ยก็จะเพียงพอต่อความต้องการของร่างกายนะคะ……ทีนี้ถ้าบางคนอาจจะไม่สะดวกไปออกกำลังกายกลางแจ้งช่วงนี้.....ก็วิตามินดีก็จะมีมากในเห็ดแล้วก็ผลิตภัณฑ์พวกนมอ่ะค่ะก็จะมีนะคะส่วนอีกอย่างนึงก็อยากให้ทานผักและผลไม้ให้ได้วันละ 400 ถึง 500 กรัมเพราะว่าองค์การอนามัยโลกก็แนะนำว่าควรที่จะทานในปริมาณนี้เพราะว่าจะช่วยให้เราได้วิตามินและแร่ธาตุต่างๆครบถ้วนแล้วก็สามารถที่จะเสริมภูมิต้านทานของร่างกายได้ค่ะ

คำถาม : นอกจากอาหาร เราควรกินวิตามินหรืออาหารเสริมอีกไหม

ดร.ดาลัด ศิริวัน :  สำหรับในส่วนของ…หลายๆท่านอาจจสงสัยว่าตนเองได้รับสารอาหารเพียงพอหรือเปล่านะคะ…คือถ้าเราทานอาหารให้ครบทุกหมวดหมู่นะคะ 5หมู่ตามที่ได้กล่าวเอาไว้ รวมถึงทานผักผลไม้ให้ได้วันละ500กรัม…ก็ให้เชื่อมั่นค่ะว่าเราสามารถที่จะได้รับสารอาหารครบถ้วน…แต่ทีนี้ถ้าบางคนอาจจะไม่ค่อยชอบทานผักผลไม้หรืออาจจะมีภาวะขาดสารอาหาร…ตัวอย่างเช่นในภาวะของผู้ป่วยหรือว่าคนชรานะคะ…ก็สามารถรับประทานวิตามินเสริมได้…โดยวิตามินเสริมที่อาจารย์แนะนำก็จะเป็นพวกวิตามินรวมนะคะ…เพราะว่าวิตามินรวมจะมีวิตามินครบทุกอย่าง..และก็จะมีปริมาณที่พอเหมาะสมไม่มากเกินไป..ถ้าเราซื้อวิตามินแยกมาทานส่วนมากมันจะเข้มข้นเกินไปค่ะ ถ้าทานไปนานๆก็อาจจะสะสมและเป็นอันตรายต่อร่างกายได้ค่ะ….

คำถาม : ในภาวะเช่นนี้ เราควรปฏิบัติตัวอย่างไร เพื่อให้เรามีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง

ดร.ดาลัด ศิริวัน : สำหรับองค์ประกอบนะคะที่จะช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันของร่างกายนอกจากอาหารแล้ว…ก็จะมีวิธีที่เราจะปฏิบัติตัวเบื้องต้นนะคะดังนี้…ข้อแรกเลยค่ะเรื่องการนอนค่ะเป็นเรื่องสำคัญเลย…จากงานวิจัยพบว่าถ้าเราพักผ่อนเพียงพอ..ระบบภูมิคุ้มกันไม่ว่าจะเป็นที่มีมาแต่กำเนิดหรือภูมิคุ้มกันที่เราได้รับภายหลัง..สามารถที่จะมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น…ก็แนะนำให้นอนวันละ 8 – 9 ชั่วโมงนะคะ…  ข้อสองก็คือเรื่องของการออกกำลังกาย การมีกิจวัตรประจำวันที่มีการ activeอยู่ตลอดเวลา ก็คือออกกำลังกายอย่างน้อยให้ได้5วัน และก็วันละ 30 นาทีนะคะ ก็จะช่วยเพิ่มภูมิคุมกันได้เหมือนกันค่ะ…แล้วก็ข้อสามให้เราหลีกเลี่ยงพฤติกรรมบางอย่างเช่นการสูบบุหรี่ หรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์…ตรงนี้ก็จะไปกดภูมิคุ้มกันของเราได้นะคะ…และก็จะมีอาหารบางประเภทที่เราทานมากเกินก็จะทำให้ภูมิคุ้มกันเราลดลงอย่างเช่น อาหารที่มีน้ำตาล หรืออาหารไขมันสูงนะคะ ก็จะทำให้เม็ดเลือดขาวเราทำงานได้ไม่ค่อยดีนักค่ะ…อีกส่วนนึงเลยก็คือความเครียด…คือถ้าเรามีภาวะเครียดมากๆก็จะมีฮอร์โมนชนิดนึงที่เรียกว่า cortisol นะคะ…เมื่อฮอร์โมนชนิดนี้หลั่งออกมามากก็จะมากดภูมิคุ้มกันของร่างกายเรา…ก็จะทำให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายเราอ่อนแอลงนะคะ…เพราะฉะนั้นในสถานการณ์แบบนี้ก็อยากให้ทุกคนพยายามทำจิตใจให้แจ่มใส ก็อาจจะมีการผ่อนคลายหากิจกรรมทำหรือนั่งสมาธิเพื่อที่..เมื่อจิตใจเราสบายแล้วร่างกายเราก็จะดีตามไปด้วยค่ะ……

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

รวมผลงานของดร.ดาลัด ศิริวัน ในคลังความรู้ดิจิตัล มก.
ภูมิคุ้มกันวิทยา

เบต้ากลูแคน เสริมภูมิคุ้มกัน

อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน / อุษาพร ภูคัสมาส

เสริมภูมิคุ้มกันต้านทานโรค

น้ำผักผลไม้ต้านโรค : รสดีมีประโยชน์ ต้านโรค ล้างพิษและเสริมภูมิคุ้มกัน

กินเปลี่ยนชีวิต ด้วยอาหาร 100 ชนิดจากธรรมชาติ / ตรวจทานข้อมูลวิชาการโดย เซียวเชียนโอ้ว เฉินจิ้นหมิง และหลี่เค่อเฉิง ; กัญญารัตน์ จิราสวัสดิ์ แปล ; อังค์วรา กุลวรรณจิตร บรรณาธิการต้นฉบับ

อาหารขจัดอนุมูลอิสระ

กิน Guidebook

กินอยู่พอดีมีความสุข / เสรี พงศ์พิศ

กินอยู่อย่างฉลาดปราศจากโรค / ฮิโรมิ ชินยะ เขียน ; กัญญารัตน์ จิราสวัสดิ์ แปล

Kulibtalk#25“อนุกรมวิธานพืช ความหลากหลายทางชีวภาพ”
รองศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรชัย เงินแสงสรวย อาจารย์ประจำภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้ค้นพบ “ช้างงาเอก” พืชชนิดใหม่ของโลก!!นอกจากนี้อาจารย์ยังมีผลงานวิจัยด้วยอนุกรมวิธานพืชที่น่าสนใจอีกมากมาย

          ในวันนี้ได้เชิญอาจารย์ผู้มีความเชี่ยวชาญการจัดทำอนุกรมวิธานพืช มีความสำคัญต่อวงการพฤกษศาสตร์ประเทศไทยของเรา ซึ่งล่าสุดอาจารย์มีผลงานที่สำคัญกับประเทศ คือการค้นพบ ช้างงาเอก ซึ่งถือว่าเป็นพืชชนิดใหม่ของโลก และจัดอยู่ในสถานภาพที่มีแนวโน้มใกล้สูญพันธุ์ และอาจารย์ได้มีการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการจำแนกหมวดหมู่ของพืชต่างๆ ในวันนี้จะได้มาเรียนรู้เกี่ยวกับ ช้างงาเอก และอนุกรมวิธานพืช ผู้ที่จะมาให้ความรู้กับเราในวันนี้ ขอต้อนรับ รศ.ดร.ฉัตรชัย เงินแสงสรวย เป็นอาจารย์ประจำภาควิชา พฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

อนุกรมวิธานพืชคืออะไร ช่วยให้คำจำกัดความ

คำว่าอนุกรมวิธานพืชมีชื่อเรียกเป็นภาษาอังกฤษว่า Plant taxonomy Plant taxonomyหมายถึงอะไร เป็นวิทยาศาสตร์ในสาขาวิชาพฤกษศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายของพันธุ์พืช หรือที่เรียกว่า Plant diversityโดยอาศัยลักษณะทางสัณฐานวิทยาของพืชร่วมกับวิทยาศาสตร์สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และนำข้อมูลเหล่านั้น ซึ่งเป็นแหล่งข้อมูลสำคัญทางอนุกรมวิธานมาสร้างระบบการจำแนกพืช โดยคำนึงถึงความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการชาติพันธุ์ของพันธุ์พืชกลุ่มนั้นๆ โดยมีขอบเขตการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการจำแนกพืชที่เรียกว่า Plant Classification การระบุพืชที่เรียกว่า Plant Identificationและการตั้งชื่อพืช ที่เรียกว่า Plant Nomenclature 

ถ้าหากเราเจอพืช เราเดินไปเจอต้นไม้หรือพืชต่างๆ สามารถดูอนุกรมวิธานพืช และแยกเป็นวงศ์ย่อยของพืชเหล่านั้นๆได้หรือไม่

คนที่จะรู้ว่าพืชชนิดนั้นๆ เป็นชนิดอะไร จำเป็นที่จะต้องมีความรู้พื้นฐานทางอนุกรมวิธานพืช สิ่งแรกที่จะต้องเรียนรู้ คือ ลักษณะทางสัณฐานวิทยาของพืชเบื้องต้น ที่ใช้ในการระบุวงศ์ ระบุสกุล ระบุชนิดของพืช ซึ่งมีอะไรบ้าง ตั้งแต่ลักษณะวิสัยของพืช ว่าเป็นไม้ต้น ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก ไม้เลื้อย นอกจากลักษณะวิสัยแล้ว ยังต้องรู้จักในเรื่องของลักษณะของพืชไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ราก ลำต้น ใบ ดอก และผล ลักษณะต่างๆ เหล่านั้นเราเรียกว่าเป็นลักษณะสัณฐานวิทยาของพืชPlant Morphologyซึ่งเราจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้ข้อมูลต่างๆเหล่านี้ ใช้เป็นข้อมูลที่สำคัญในการระบุวงศ์ ระบุสกุล ระบุชนิดพืช ในการสร้างระบบการจำแนกพืชนั้น เขาไม่ได้ใช้ลักษณะสัณฐานวิทยาอย่างเดียว ยังใช้ศาสตร์อื่นๆ ที่มาร่วมด้วย เป็นข้อมูลสนับสนุนในการสร้างระบบการจำแนกพืช ผู้ใช้จะไม่ได้เป็นผู้สร้าง จะมีกลุ่มคน กลุ่มนักพฤกษศาสตร์ที่เขานำข้อมูลต่างๆ เหล่านี้​ข้อมูลต่างๆเหล่านี้มีอะไรบ้าง​เช่น​ทางด้านกายวิภาคศาสตร์พืช​หรือที่เรียกว่า​plant Anatomyหรือเรณูวิทยา​ที่เรียกว่า​palynology​หรือเกี่ยวกับ​ชีววิทยาโมเลกุล​ที่เรียกว่า​plant molecular biology พฤกษเคมีดูองค์ประกอบสำคัญ สาระสำคัญในพืช ​และยังมีเรื่องราวอื่นๆ​อีกมากมาย​ศาสตร์อื่นๆ​อีกมากมายที่ใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนในการสร้างระบบการจำแนกพืช​เพื่อให้มีความถูกต้อง​และความแม่นยำมากขึ้น​

วัตถุประสงค์ในการศึกษาอนุกรมวิธานพืชเพื่ออะไร

วัตถุประสงค์ของการศึกษา​ทางด้านอนุกรมวิธานพืช​อย่างน้อยผู้ศึกษาหรือผู้เรียน​ต้องมีความรู้พื้นฐานที่แม่น​ต้องมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับในเรื่องการจำแนกพืช​การระบุพืช​และการตั้งชื่อพืช​ความรู้พื้นฐานเหล่านี้​เมื่อมีความรู้​แล้วจะต้องนำไปใช้ให้ถูกต้อง​นอกจากรู้เรื่องที่กล่าวมาแล้ว​ยังจำเป็นที่จะต้องรู้ในเรื่องเกี่ยวกับการกระจายพันธุ์​นิเวศวิทยา​และรวมถึงการใช้ประโยชน์​ถามว่าทำไมจึงต้องรู้ให้ถ่องแท้​รู้ให้ถูกต้อง​ครบถ้วน​เพราะว่า​การนำความรู้​พื้นฐาน​ไปใช้ในอนุกรมวิธานพืชเป็นความรู้​พื้นฐาน​ที่สามารถ​นำไปใช้เป็นพื้นฐานสำหรับการศึกษา​ด้านพืชหลายๆ​สาขา​เพราะฉะนั้น​สิ่งที่จำเป็นการที่จะนำความรู้​ไปใช้ต้องระบุชนิดพืชให้ถูกต้อง​ถ้าหากว่ามีการระบุชนิดพืชผิด​อาจจะเป็นโทษต่อมวลมนุษยชาติก็ได้​อย่างกรณี​ตัวอย่าง​ที่ศึกษา​คนที่ศึกษา​ทางด้านเภสัชจำเป็นที่ต้องใช้พืชไปสกัดสารต่างๆ​หาตัวยาต่างๆ​ที่สำคัญ​หากระบุชนิดพืชผิด​ก็จะทำให้เป็นผลเสียต่อมวลมนุษยชาติมากกว่าที่จะเป็นประโยชน์​และนอกจากนั้นเขาบอกว่างานวิจัยใดๆก็ตามที่ศึกษาที่เกี่ยวข้องกับพืช​จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องระบุชนิดพืชให้ถูกต้อง​ถ้าระบุพืชผิดชนิดใช้พืชผิดชนิด​ทำให้งานวิจัย​นั้นไม่มีคุณค่า​และเป็นผลเสีย​รวมถึงไม่เป็นที่ยอมรับด้านวิชาการ​เพราะฉะนั้น​จึงเห็นว่างานวิจัยทางด้านอนุกรมวิธานพืช​เป็นงานวิจัยพื้นฐานที่มีความสำคัญมาก​และสามารถ​นำไปต่อยอด​ทำให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจ​ทำให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศชาติในอนาคต นอกจากนั้นผู้เรียน​ผู้ศึกษายังต้องตระหนักในเรื่องของคุณค่าและความสำคัญของทรัพยากรพันธุ์​พืช​ตลอดจนถึงการอนุรักษ์​การใช้ประโยชน์​ใช้ทรัพยากร​อย่างยั่งยืน​ต้องมีการปลูกฝังให้มีจิตสำนึกในเรื่องของการรู้คุณค่าของทรัพยากรพันธุ์​พืชด้วย

อาจารย์พูดถึงรายละเอียดการจัดทำอนุกรมวิธานพืชถ้าหากมีท่านผู้ชมนิสิตนักศึกษานักเรียนที่กำลังจะศึกษาต่อเข้ามหาวิทยาลัยต้องเตรียมตัวต้องมีพื้นฐานความรู้อะไรเบื้องต้นเข้ามาศึกษาต่อพฤกษศาสตร์หรือการจัดทำอนุกรมวิธานพืช

สำหรับนิสิต​นักศึกษา​หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจจะเรียน​ทางด้านอนุกรมวิธานพืชเบื้องต้น​ควรจะได้มีโอกาสได้เรียนวิชาที่เกี่ยวข้องที่เป็นวิชาพื้นฐาน​เช่น​วิชาพฤกษศาสตร์​ทั่วไป​หรือที่เราเรียกว่า​generalbotanyซึ่งเป็นวิชาในภาควิชาพฤกษศาสตร์​คณะวิทยาศาสตร์​มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์หรือในที่อื่นๆ​มหาวิทยาลัย​อื่นๆ​ก็มีสอนทางด้านพฤกษศาสตร์​เช่นเดียวกัน​อย่างในเกษตรของเรา​ก็มีวิชาหนึ่ง​วิชารุกขวิทยา​หรือที่เรีย​กว่า​dendrology ก็จะเรียน​ในลักษณะ​ที่คล้ายๆกัน​ต้องเรียนความรู้พื้นฐาน​ทางด้านสัณฐาน​วิทยาเบื้องต้น​แล้วจึงมาต่อเนื่อง​ในเรื่องของการเรียน​อนุกรมวิธานพืช​

เท่าที่ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับหลักอนุกรมวิธานพืชมีเรื่องของกระบวนการการศึกษาในการจำแนกที่ทราบมามีอยู่3ขั้นตอน

1.การจำแนกพืช

2.การตรวจสอบเอกลักษณ์ลักษณะและวินิจฉัยพืช

3.การกำหนดการตั้งชื่อพืช

อยากให้เล่าทั้ง3กระบวนการมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง

ในเรื่องของขอบเขตการศึกษาทางด้านอนุกรมวิธานพืช​ผู้เรียนหรือผู้สนใจศึกษา​จำเป็น​ต้องมีความรู้​ในขอบเขต​3​หัวข้อหลักๆ

หัวข้อแรกคือในเรื่องการจำแนกพืช เรียกว่า Plant Classification 

หัวข้อที่สอง คือ การระบุพืชหรือที่เรียกว่าการวินิจฉัย การตรวจสอบเอกลักษณ์ของพืช ภาษาอังกฤษใช้คำว่าPlant Identification

หัวข้อที่สาม คือเรื่องการตั้งชื่อพืช Plant nomenclature

จะขออธิบายในรายละเอียดในแต่ละหัวข้อ อย่างในเรื่องการจำแนกพืช เป็นกระบวนการจำแนกพืชโดยใช้องค์ความรู้เกี่ยวกับสัณฐานวิทยาพืช ร่วมกับวิทยาศาสตร์สาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องที่จะเป็นข้อมูลสนับสนุน เป็นแหล่งข้อมูลทางอนุกรมวิธานพืชที่สำคัญ ที่นักพฤกษศาสตร์นำข้อมูลเหล่านั้นมาใช้ในการสร้างระบบการจำแนกโดยที่คำนึงถึงความสัมพันธ์ทางวิวัฒนาการชาติพันธุ์ว่ากลุ่มไหนที่มีลักษณะคล้ายกัน เกิดขึ้นเมื่อไร อะไร อย่างไร มีลักษณะเหมือนกัน ลักษณะร่วมกันเป็นเครือญาติกันก็จัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ตั้งแต่ในเรื่องของการลำดับชั้นการจำแนกหมวดหมู่ เหมือนที่เราเคยเรียนในชีววิทยาเบื้องต้นตั้งแต่ Kingdom Division Class Order family genusและ speciesตามลำดับชั้นของการจำแนกหมวดหมู่ ระบบการจำแนกนั้นผู้ศึกษาอาจไม่ได้เป็นผู้ที่สร้างระบบขึ้นมาเอง แต่จะมีนักวิชาการกลุ่มหนึ่งร่วมกันหาลักษณะสำคัญที่เราเรียกว่าTaxonomic data ที่สำคัญเอามาสร้างระบบการจำแนกให้บุคคลทั่วไปที่เป็น User เป็นผู้ใช้เขาก็ต้องเลือกลักษณะที่ดี ลักษณะที่มีความสำคัญทางอนุกรมวิธานที่ใช้ได้ง่ายมาใช้ นั่นก็คือในเรื่องของการจำแนกพืช การจำแนกพืชจะขอเล่าตั้งแต่ในอดีต ตั้งแต่ยุคแรกๆเป็นยุคในเรื่องการใช้ประโยชน์ เป็นการจำแนกพืชอย่างง่าย ใช้ลักษณะเพียงไม่กี่ลักษณะ ในการสร้างระบบการจำแนก อย่าง LINNAEUS เขาใช้ลักษณะของจำนวนเกสรเพศผู้ว่ามีกี่กลุ่ม มีกี่เกสรก็จัดให้อยู่ในกลุ่มเดียวกัน อันนั้นเป็นยุคในอดีตที่ทางด้านวิชาการยังไม่พัฒนามาถึงทุกวันนี้หรือดูแค่ลักษณะวิสัยเป็นไม้ต้น ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก เรียกเป็นการจำแนกอย่างง่าย ใช้ลักษณะของพืชเพียงไม่กี่ลักษณะ ในยุคต่อมาเรียกว่าเป็นยุคที่การใช้หลายลักษณะมากขึ้นที่เราเรียกว่าNatural Classification Systemก็อาจจะใช้ลักษณะที่เราเห็นด้วยสายตาหลายลักษณะมากขึ้นให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ดูจากลักษณะที่เป็นธรรมชาติมากที่สุดเท่าที่จะมากได้ และพอในยุคต่อมาเป็นยุคที่การจำแนกละเอียดที่สุด เราเรียกว่าPhylogenetic Classification Systemอย่างที่บอกว่านอกจากสัณฐานวิทยาแล้วยังใช้ศาสตร์อื่นๆ เข้ามาร่วมด้วยเพราะว่าวิทยาการพัฒนามากขึ้นก็นำศาสตร์ต่างๆเหล่านั้น มาร่วมสร้างระบบการจำแนกทำให้ระบบการจำแนกมีความแม่นยำมากขึ้น และถูกต้องมากขึ้นตามลำดับ ในเรื่องของการจำแนกพืช การะบุพืชนั้นหมายถึงว่า สมมุติว่าเดินเข้าป่ามาไปเก็บตัวอย่างพืชมาหนึ่งชนิด อยากรู้ว่าพืชชนิดนั้นอยู่ในวงศ์อะไร อยู่ในสกุลอะไร และชนิดอะไร จะต้องดำเนินการในเรื่องของการระบุชนิดพืช เพื่อให้ทราบว่ามีชื่อวิทยาศาสตร์อะไร เรียกว่า การระบุชนิดพืช ต้องทำอย่างไรบ้าง อยู่ดีๆเก็บตัวอย่างพืชมา ถ้าตามกระบวนการแล้วจะต้องศึกษาลักษณะสัณฐานวิทยาของพืชชนิดนั้นก่อน ตอนที่ไปเก็บมาต้องบันทึกว่าเป็น ไม้ต้น ไม้พุ่ม ไม้ล้มลุก แล้วต้องบันทึกข้อมูลต่างๆ และเอามาศึกษาในห้องปฏิบัติการว่า ลำต้น ใบดอก ผล มีลักษณะอย่างไร หลังจากนั้นพอเราทราบลักษณะต่างๆ เหล่านั้นแล้วเราทำอย่างไรต่อ เรานำข้อมูลเหล่านั้นไปค้นคว้าในสิ่งพิมพ์ทางอนุกรมวิธานพืชที่สำคัญที่มีการตีพิมพ์เผยแพร่ เช่นหนังสือพรรณพฤกษชาติต่างๆ อาจจะเป็นพรรณพฤกษชาติของประเทศไทย พรรณพฤกษชาติของประเทศเพื่อนบ้าน หรือพรรณพฤกษชาติของประเทศอื่นๆ ที่สามารถจะใช้ได้ นอกจากนั้นยังมีเกี่ยวกับการศึกษาทบทวนพันธุ์พืชในระดับโลกที่เราเรียกว่าเป็น monographหรือการศึกษาทบทวนพันธุ์พืชในระดับเขต ระดับภูมิภาค หรือระดับประเทศที่เราเรียกว่าrevisionหรืออาจจะมีหนังสือเกี่ยวกับพรรณพฤกษชาติของเขตต่างๆ อย่างเช่น พรรณพฤกษชาติของประเทศไทย  พรรณพฤกษชาติของอุทยานนั้น อุทยานนี้ ในประเทศไทย นั่นคือเป็นแหล่งข้อมูลที่เราจะไปค้นคว้า หรือจากงานตีพิมพ์ในวารสารทางวิชาการที่แล้วแต่ศักยภาพของผู้ศึกษาว่าจะหาข้อมูลเพื่อที่จะมาระบุชนิดพืชจากนั้นพอมาอ่านในนั้นอาจจะมีในเรื่องรูปวิธานระบุสกุล ระบุชนิดคือกุญแจไขไปสู่ว่าพืชที่เก็บมาเป็นชนิดอะไร มีขั้นตอนมากมาย หลังจากนั้นพอเราเก็บมาแล้วเราก็ศึกษาตามที่บอกไปแล้วอ่านรายละเอียดใช้รูปวิธาน พอได้รูปวิธานเป็นชนิดอะไรแล้วก็ต้องอ่านรายละเอียดว่ารายละเอียดที่เขาเขียนตรงกับคำบรรยายพืชที่เขาเขียนตามที่เราเก็บมารึเปล่า ถ้าเราได้แล้ว เราคิดว่าตรงแล้ว สิ่งหนึ่งที่ต้องการให้ตรวจสอบอีกอย่างหนึ่ง คือเราเอาตัวอย่างนั้นเทียบเคียงกับตัวอย่างพันธุ์ไม้แห้งหรือตัวอย่างพันธุ์ไม้ดองที่เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์พืชศาสตร์ต่างๆ ถ้าเกิดมีผู้เชี่ยวชาญระบุ มีสลิปที่ระบุชนิดพืชไว้แล้ว ยิ่งทำให้เรามั่นใจมากยิ่งขึ้น หลังจากนั้นในหนังสือหรือเอกสารต่างๆ จะมีภาพวาดลายเส้น ถ้ามีภาพลายเส้น ภาพถ่าย ถ้าเราเห็นว่าสอดคล้องกันตรงกันก็ทำให้เรามั่นใจมากขึ้น ยิ่งถ้ามีผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาเกี่ยวกับพืชกลุ่มนั้นๆ เราก็สามารถ Confirm หรือถามจากผู้เชี่ยวชาญ ก็จะทำให้ชนิดที่เราระบุนั้น มีความถูกต้องมากขึ้น นักเรียนที่เรียนทางด้านนี้จะต้องผ่านกระบวนการนี้ แทนที่จะไปเปิดเทียบจากGoogleหรืออะไรต่างๆ พื้นฐานต้องมีความรู้ด้านนี้ และผ่านกระบวนการด้านนี้ จึงจะทำให้เขาสามารถค้นคว้าข้อมูลระบุชนิดพืชได้ถูกต้อง  

ในส่วนที่อาจารย์ได้กล่าวมา สามารถที่จะดูจากผลแห้ง หรือการดองตามพิพิธภัณฑ์ต่างๆ สามารถดูได้จากแหล่งไหนบ้าง)ในพิพิธภัณฑ์พืชคนที่ศึกษาด้านนี้ก็มีทั้งพิพิธภัณฑ์พืชในประเทศไทยและพิพิธภัณฑ์พืชในต่างประเทศ คำว่าพิพิธภัณฑ์พืชในที่นี้ เป็นพิพิธภัณฑ์พืชที่มีข้อมูลและขึ้นทะเบียนเป็นสากล มีหลักเกณฑ์การขึ้นทะเบียน ขอยกตัวอย่าง เช่น พิพิธภัณฑ์พืชแห่งแรกของประเทศไทย พิพิธภัณฑ์พืชกรุงเทพ กรมวิชาเกษตร ตั้งขึ้นในปี 2463 ปีหน้า 2563 จะครบ100 ปี และอีกที่หนึ่งที่เป็นหน่วยงานที่สำคัญของชาติอีกที่หนึ่งก็คือ หอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ตั้งขึ้นในปี2473 หลังจากพิพิธภัณฑ์พืชแห่งแรก 10ปี ในปีหน้าจะครบ 90 ปี จะมีการฉลอง นอกจากนั้นมีพิพิธภัณฑ์ที่เป็นนานาชาติที่ตั้งขึ้นมาอยู่ในมหาวิทยาลัยต่างๆ อย่างเช่นที่เชียงใหม่มีองค์การศูนย์พฤกษศาสตร์ นอกจากนั้นอยู่ในภาควิชาชีววิทยา ของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ นอกจากนั้นมีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ชื่อว่า พิพิธภัณฑ์พืช ศาสตราจารย์กสิน สุวตะพันธุ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นก็มี และอยู่ในอีกหลายมหาวิทยาลัยที่กลุ่มนักวิชาการช่วยกันสร้างขึ้นมา

ในส่วนของการกำหนดการตั้งชื่อ

สำหรับการตั้งชื่อกระบวนการต้องรู้ที่มาและเรียนรู้เกี่ยวกับกฎการตั้งชื่อ การตั้งชื่อนี้ไม่ใช่ว่าใครๆก็ตั้งขึ้นมาก็ได้ แต่จริงๆ ในเรื่องของการตั้งชื่อเขามีกฎ กฎการตั้งชื่อ เรียกว่า กฎนานาชาติของการตั้งชื่อ กฎนานาชาติของการตั้งชื่อสาหร่าย เห็ดรา และพืช ชื่อภาษาอังกฤษใช้คำว่า International Code Of  Nomenclature For Algae, Fungi, And Plants อักษรย่อใช้ ICNที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่ แต่ในอดีตใช้ ICBNย่อมาจาก International Code Of Botanical Nomenclature พอมีการประชุมครั้งที่18 สภาพฤกษศาสตร์นานาชาติเข้าร่วมการประชุม เขาเปลี่ยนชื่อกฎโดยที่ตัดคำว่า Botanical อ​อกเหตุผลที่ตัดคำว่า Botanical ออกเพราะว่ากฎนี้เดิมก็ไม่ได้ใช้ตั้งชื่อพืชอย่างเดียว ใช้ตั้งชื่อสาหร่ายซึ่งมีสาหร่ายบางกลุ่มที่ไม่ใช้พืช เห็ดราก็ไม่ใช่พืช เขาบอกว่าเพื่อความเหมาะสมจึงให้ตัดคำว่าBotanical ออกเพราะว่ากฎนี้ใช้ในการตั้งชื่อนอกจากพืชแล้วยังมีสาหร่ายเห็ดรา เป็นที่มาของกฎนี้ กฎนี้ก็จะต้องมีหลักการสำคัญในการตั้งชื่อพืช มีกฎข้อบังคับที่ต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดให้ถูกต้องของการตั้งชื่อพืช เขาจะมี CODEรายละเอียดเยอะแยะมากมาย ในที่นี้ไม่ขอเล่ารายละเอียด ใครอยากรู้ไปศึกษาเพิ่มเติมเอง แต่อย่างไรจะขอบอกว่าการตั้งชื่อพืชทุกชื่อต้องมีตัวอย่างต้นแบบ หรือที่เราเรียกว่า Type Specimen ทำไมต้องมีตัวอย่างต้นแบบ ตัวอย่างต้นแบบเหล่านี้ใช้ในการMatching สมมุติว่ามีการตีพิมพ์เผยแพร่และตัวอย่างต้นแบบนี้ Matching กับชื่อนี้เป็นหลักฐานที่เก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์พืช พืชทุกชนิดมีชื่อที่ถูกต้องเพียงชื่อเดียว ในเรื่องของกฎการตั้งชื่ออย่างที่ว่ากฎนานาชาตินี้ ทำไมต้องมีกฎ เพื่อให้การตั้งชื่อเป็นสากล ชื่อพืชให้เป็นที่รู้จักกันทั่วโลก เข้าใจและถูกต้องตรงกัน อย่างที่บอกว่าพืชหนึ่งชนิดอาจมีชื่อท้องถิ่นหรือพื้นเมืองหลายชื่อจะใช้ชื่อไหน หรือพืชต่างชนิดกันอาจมีชื่อท้องถิ่นหรือชื่อพื้นเมืองที่ซ้ำกันก็มี เพราะฉะนั้นเพื่อให้เป็นสากลจึงจำเป็นต้องมีชื่อวิทยาศาสตร์ การตั้งชื่อพืชสามารถจะตั้งชื่อเป็นเกียรติแก่บุคคลก็ได้ นำชื่อบุคคล นำนามสกุลของบุคคลมาตั้งก็ได้ หรือตั้งตามลักษณะของพืช ลักษณะที่สำคัญ ลักษณะเด่นๆ ก็ได้ตั้งตามสถานที่ที่ค้นพบ แต่เราจะไม่ตั้งชื่อตามผู้ที่ค้นพบ แต่เราจะตั้งกรณีเป็นชื่อบุคคล คือบุคคลนั้นอาจเป็นผู้ที่มีคุณูปการต่อวงการพฤกษศาสตร์ หรือเป็นผู้ที่เก็บต้นแบบ หรือเป็นผู้ที่ทุ่มเททำงานทางด้านอนุกรมวิธานพืช แต่จะมี Other อยู่ท้ายชื่อวิทยาศาสตร์ บุคคลเหล่านั้นจะตั้งชื่อให้เกียรติกับบุคคลใดก็แล้วแต่ 

โดยทั่วไปแล้วนักพฤกษศาสตร์ที่มีโอกาสได้ไปทริปหรือไปศึกษาภาคสนาม พวกนี้อยู่ในจิตวิญญาณ อยู่ในหัวอยู่แล้ว  เวลาพูดถึงก็จะพูดถึง เห็นพืชก็จะมันน่าจะอยู่วงศ์อะไร อยู่ในสกุลอะไร หรือถ้าสามารถระบุชนิดได้ก็แชร์องค์ความรู้กัน บอกลักษณะแลกเปลี่ยนความรู้กันว่ากลุ่มนี้มีลักษณะเด่น มีลักษณะสำคัญอะไร อย่างที่ว่านั้นจะพูดเป็นภาษาเป็นชื่อScientific name

อยากทราบว่ามีอุปกรณ์เครื่องมืออะไรบ้าง ที่ช่วยในการจำแนก ตรวจสอบ ใช้ในการเก็บตัวอย่าง

การที่จะรู้จักพืชจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการเก็บตัวอย่าง การเก็บตัวอย่างต้องเก็บที่ไหน ต้องไปภาคสนาม อุปกรณ์ที่สำคัญในการที่จะต้องออกภาคสนามที่เราจะต้องเตรียมไปด้วยมีแผงอัดพันธุ์ไม้ ชุดอุปกรณ์แผงอัดพันธุ์ไม้ที่ใช้ในการอัด และเก็บตัวอย่างพันธุ์ไม้ขึ้นอยู่กับพืชบางกลุ่ม พืชบางกลุ่มจำเป็นที่จะเอามาอัดในสำนักงานก็ได้ หลังจากที่เก็บมาแล้ว แต่มีพืชบางกลุ่มจำเป็นที่จะต้องเก็บและอัดเลย เนื่องจากลักษณะของดอก ลักษณะเหี่ยวเร็ว เปราะ แตกหักง่าย ต้องใช้อุปกรณ์อัด กรรไกรตัดกิ่ง หรืออาจจะต้องมีเสียม ในกรณีที่เราจำเป็นต้องเก็บเหง้าหรือรากที่สะสมอาหารอยู่ใต้ดิน เป็นส่วนสำคัญที่นำมาใช้ในการบรรยายลักษณะพืชรวมถึงไม้สอย กรณีที่เป็นไม้ต้นเราเก็บไม่ถึงในบางกรณีถ้าเกิดเป็นต้นไม้สูงๆ ทางภาคใต้เขาก็จะฝึกลิงให้ช่วยเก็บตัวอย่างให้เราแต่ลิงบางตัวที่ฝึกไว้ถ้าเขาเจอผลไม้ที่เขาชอบก็จะกินก่อน ก่อนที่จะเก็บให้เรา แต่ลิงเหล่านี้ก็จะสามารถเก็บตัวอย่างให้เราเหมือนกับตอนที่ไปทำวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกก็ใช้ลิงเก็บต้นไม้ เก็บกิ่งตัวอย่างที่มีผลให้ เพราะว่าเราไม่สามารถปีนได้ ต้นไม้สูงมาก30กว่าเมตรพอเขาเก็บให้เราแล้วเป็นการตอบแทนให้รางวัลให้ผลไม้ เจ้าของลิงจะมีแอปเปิ้ลให้ นั่นคืออุปกรณ์ ต้องมีถุงพลาสติก มีแผงอัด กรรไกรตัดกิ่งต่างๆ มีแผ่นป้ายบันทึกหมายเลขคนเก็บ หมายเลขตัวอย่างของคนเก็บแต่ละคนจะแตกต่างกันไปว่าเก็บอะไรอย่างไร มีสมุดบันทึกข้อมูลภาคสนามในการเก็บภาคสนามในบางครั้งเราจำเป็นต้องมีขวดดองติดไปด้วย หรือแอลกอฮอล์ติดไปด้วย เพื่อที่จะใช้ในการดองดอก สำหรับชนิดที่มีการเปราะแตกหัก หรือเสียหายง่าย จะต้องดองตัวอย่างเลย แต่อย่างไรก็ตามเพื่อไม่ให้เสียเที่ยวในการเก็บตัวอย่างนั้นบางครั้งคนที่เขาศึกษาเรื่องอื่นเพิ่มเติม อาจจะศึกษาเกี่ยวกับDNA อาจจะต้องมีซิลิก้าเจลติดไปด้วย เก็บใบ หรือเก็บส่วนต่างๆ ที่ต้องการที่จะเอามาศึกษาในห้องปฏบัติการ อันนั้นเป็นการศึกษาในภาคสนาม หลังจากศึกษาภาคสนามเสร็จแล้ว เราจะจัดการตัวอย่างพันธุ์ไม้นั้นอย่างไร ก็เอามาทำเป็นตัวอย่างพันธุ์ไม้แห้ง เพื่อเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์พืช ให้เป็นตัวอย่างพันธุ์ไม้อ้างอิงถือว่าเป็นตัวอย่างอ้างอิงที่มีความสำคัญมาก ในการระบุชนิดพืชจำเป็นต้องเก็บตัวอย่างและทำตัวอย่างพันธุ์ไม้อ้างอิง เมื่อทำแห้งแล้วต้องมีการเย็บติดกระดาษแข็ง ซึ่งตามขนาดที่เขากำหนดในอุปกรณ์อยู่ด้านนี้ เย็บติดต่างๆ มีการบันทึกข้อมูลรายละเอียดต่างๆ ฟอร์มมาตรฐานว่าข้อมูลพื้นฐานจะต้องมีอะไรบ้าง ขึ้นอยู่กับแล้วแต่ว่าแต่ละพิพิธภัณฑ์พืชจะกำหนดข้อมูลมากน้อยหรือขนาดของกระดาษบันทึกข้อมูลแตกต่างกันไปในแต่ละพิพิธภัณฑ์พืช ขึ้นอยู่กับว่าอยากจะใส่ข้อมูลอะไรที่มีความสำคัญลงไปบ้าง หลังจากที่เราเก็บทำตัวอย่างพันธุ์ไม้แห้งแล้ว เราก็มาเย็บติด มีกระบวนการต่างๆ รายละเอียดก็ไปดูเพิ่มเติมกัน

การทำให้แห้ง เราปล่อยให้แห้งตามธรรมชาติหรือว่ามีวิธีการอย่างไร

การทำให้แห้งในอดีตนั้นที่เรายังไม่มีตู้อบ สมัยก่อนต้องนึกถึงว่านักพฤกษศาสตร์ในอดีตค่อนข้างทำงานหนัก ไปในภาคสนาม ไหนจะต้องอัดตัวอย่างด้วย ใช้อัดด้วยหนังสือพิมพ์ ห่อกระดาษหนังสือพิมพ์แล้วอัดในแผง มันมีความชื้นถ้าไม่เปลี่ยนกระดาษหนังสือพิมพ์ตัวอย่างก็ขึ้นรา อุตส่าห์ไปเก็บขึ้นภูเขาสูงๆ เดิน5วัน 10วันตัวอย่างขึ้นราก็ทำให้ตัวอย่างเสียหาย เพราะฉะนั้นจำเป็นต้องเปลี่ยนกระดาษหนังสือพิมพ์ทุกวัน ใช้วิธีพึ่งแดด แต่ว่าในปัจจุบันนี้ในการเก็บชนิดพันธุ์ไม้จำนวนมากๆ คงไม่สะดวกที่จะต้องมาเปลี่ยนกระดาษหนังสือพิมพ์ทุกวัน เพราะฉะนั้นก็มีตู้อบ ทำตัวอย่างเข้าแผงอะไรให้เรียบร้อยเข้าไปใส่ตู้อบ อบก็ขึ้นอยู่กับชนิดของพืชและจำนวนของตัวอย่างว่ามากน้อยขนาดไหน อาจจะมี 60 องศาเซลเซียส 65 70ก็แล้วแต่ชนิดพืชและจำนวนวันก็แล้วแต่จะ 3วัน4วัน5วันหรือมากกว่านั้นขึ้นอยู่กับสิ่งที่บอกไป หลังจากที่ทำตัวอย่างแห้งเสร็จแล้ว เราก็มาเย็บติดและขึ้นทะเบียน ต้องมีการลงทะเบียนและขึ้นทะเบียนและเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์พืช เป็นมาตรฐานของคนทำงานด้านนี้เลย อย่างคนที่ศึกษาด้านอื่นที่ศึกษาเกี่ยวกับพืชจำเป็นต้องเก็บตัวอย่างแบบนี้ เขาเรียกว่าเป็นตัวอย่างพันธุ์ไม้อ้างอิง หรือที่เรียกว่าเป็น voucher specimenให้กำกับว่าเราใช้พืชชนิดนั้นมาศึกษาถูกต้องนะidentifyถูกต้องนะ เวลาตีพิมพ์ผลงานต่างๆ เขาจะถามหาvoucher specimenด้วยว่าเก็บไว้ในที่ไหน อะไร อย่างไร

ล่าสุดอาจารย์ได้ค้นพบชนิดใหม่ของโลก เป็นพืชที่ใกล้จะสูญพันธุ์ด้วย ที่ชื่อว่า ช้างงาเอก อยากให้อาจารย์เล่าถึงช้างงาเอก ตอนนั้นค้นพบที่ไหน อาจารย์ใช้หลักอะไรในการจำแนก

ก็สืบเนื่องจากที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับพืชกลุ่มนี้อยู่แล้ว เป็นการศึกษาทบทวนอนุกรมวิธานพืชสกุลการ์ซีเนียในประเทศไทยก็ได้มีการตรวจสอบพืช และได้ศึกษาพืชต่างๆ ทั้งที่ไปเก็บในภาคสนามและตัวอย่างที่เขามีการเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์พืชต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ ก็ได้รู้ว่าพืชชนิดนี้เป็นชนิดใหม่ ตัวอย่างนี้เก็บโดยคุณณรงค์ นันทะแสน ซึ่งเป็นบุคลากรของหอพรรณไม้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ซึ่งเขาเป็นนักเก็บตัวอย่าง เขาเก็บมาตั้งแต่ปี 2551แต่ก็ยังเก็บตัวอย่างไว้ทั้งเป็นตัวอย่างแห้งและตัวอย่างดอง แต่ก็ยังไม่มีการระบุชนิด ต่อมาก็มี ดร.สมราน สุดดี ต้องการที่จะระบุชนิดพืชชนิดนี้ ดร.สมรานเป็นนักวิชาการชำนาญการพิเศษของหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ก็ได้เอาตัวอย่างมาให้ดูให้ช่วยระบุชนิด ได้ศึกษาดูแล้วไม่เหมือนกับพืชชนิดใดๆที่เคยได้ศึกษามาจากทั้งตัวอย่างพันธุ์ไม้แห้ง ตัวอย่างพันธุ์ไม้ดอง และการออกเก็บตัวอย่างในภาคสนามได้ตรวจสอบจากเอกสารต่างๆ ในฐานข้อมูลต่างๆทั่วแล้วจึงทำให้ตัดสินใจได้ว่าพืชชนิดนี้เป็นพืชชนิดใหม่ของโลก จากนั้นก็ได้มีการตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานในวารสารทางวิชาการในปี2559 ชื่อไทยชาวบ้านเขาเรียกกันอยู่แล้วชื่อวิทยาศาสตร์ตั้งชื่อว่าGarcinianuntasaenii  คำระบุชนิดnuntasaeniiตั้งชื่อเพื่อให้เป็นเกียรติกับคุณณรงค์ นันทะแสนซึ่งเป็นคนที่เก็บตัวอย่างพันธุ์ไม้ซึ่งให้ตัวอย่างพันธุ์ไม้นั้นเป็นพันธุ์ไม้ต้นแบบที่เก็บตั้งแต่ปี 2551

พอเราเป็น New specie ในประเทศไทย ที่ประเทศลาวก็ค้นพบหลังจากที่อาจารย์ได้บันทึก

หลังจากที่ตีพิมพ์ได้ไม่นาน ก็มีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติลาว ซึ่งก็ทำงานทางด้านอนุกรมวิธานพืชเช่นเดียวกัน เขาไปสำรวจที่ภูเขาควาย ที่ประเทศลาว และเขาก็ได้ค้นพบพืชชนิดนี้ เพราะฉะนั้นพืชชนิดนี้ก็เป็น New Record หรือเป็นพืชที่รายงานใหม่ของประเทศลาวอีกที่หนึ่ง พืชชนิดนี้มีการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยและในประเทศลาวสองแห่ง

สถานที่พบช้างงาเอก ที่จังหวัดอะไร

การค้นพบช้างงาเอก ตอนที่ไปเก็บตัวอย่างไปเก็บตัวอย่างที่ อ.บุ่งคล้า จ.บึงกาฬ และมีรายงานจากข้อมูลการเก็บของนักพฤกษศาสตร์อีกที่หนึ่ง จ.นครพนม เพราะฉะนั้นในการกระจายพันธุ์มีอยู่ 2 จังหวัด ที่บึงกาฬและนครพนม ในต่างประเทศพบที่ลาว

ในการหาข้อมูลอาจารย์หาได้จากที่ไหน มีหนังสือหรือแหล่งออนไลน์ใด

แหล่งข้อมูลอย่างที่เคยเล่าไปว่าทั้งการศึกษาทบทวนพันธุ์ไม้ระดับโลกที่เรียกว่า Monograph การศึกษาทบทวนพันธุ์ไม้ในระดับเขต ในระดับภูมิภาค ระดับประเทศ หรือที่เรียกว่า revisionเกี่ยวกับพันธุ์พฤกษชาติของประเทศต่างๆ ทั้งในประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน คู่มืออะไรต่างๆ ที่เราจะหา หรือแม้กระทั่งวารสารที่มีออนไลน์ หรือวารสารและสิ่งตีพิมพ์ทางด้านอนุกรมวิธานพืชที่สำคัญๆ อีกมากมาย นอกจากนั้นยังมีฐานข้อมูลตัวอย่างพันธุ์ไม้แห้งของประเทศต่างๆ ของหอพรรณไม้ต่างๆ ที่ทำขึ้นไว้ เราสามารถค้นคว้าข้อมูลจากตรงนั้นได้ เรื่องการตรวจสอบชื่อ ปัจจุบันนี้วิทยาการทันสมัย มีฐานข้อมูลออนไลน์ของประเทศต่างๆ หลายฐานข้อมูลหลายแหล่ง อย่างเช่น The Plant List, Plant of The World Online, Plant of the world selected familiesและยังมีอีกหลายๆ ฐานข้อมูลที่เป็นประโยชน์กับนิสิตนักศึกษา หรือผู้ที่สนใจทางด้านพฤกษศาสตร์ที่จะใช้ค้นคว้าชื่อที่ถูกต้องได้

อยากทราบว่าในการจัดทำอนุกรมวิธานพืชในประเทศไทย มีหน่วยงานใดรับผิดชอบจัดทำอนุกรมวิธานพืช

หน่วยงานหลักๆ ที่ดูแลงานทางด้านอนุกรมวิธานพืช อย่างเช่น หอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่เป็นหน่วยงานที่มีคลังความรู้ของชาติ มีพิพิธภัณฑ์พืชเกือบ 90 ปีแล้ว องค์การสวนพฤกษศาสตร์ ที่อยู่ จ.เชียงใหม่ องค์การพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา นอกจากนั้นยังมีหน่วยงานอื่นๆ อีกที่อยู่ตามมหาวิทยาลัยต่างๆ ซึ่งมีนักวิชาการ อาจารย์ เป็นผู้ที่ผลิตบัณฑิตทางด้านอนุกรมวิธานพืช และความหลากหลายทางชีวภาพในมหาวิทยาลัยต่างๆ อยู่ทั่วประเทศที่ดูแลงานทางด้านนี้ ซึ่งในแต่ละปีจะมีการรวมตัวกันของนักพฤกษศาสตร์ มีการจัดประชุมอย่างน้อยเป็นการประชุมพฤกษศาสตร์แห่งประเทศไทย ตอนนี้ล่าสุดเพิ่งประชุมไปเมื่อต้นเดือนเป็นครั้งที่ 13 และยังมีการประชุมเกี่ยวกับอนุกรมวิธานและซิสเทมาติคส์ และทุก 3 ปี กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช ก็จะประชุมทางด้านพฤกษศาสตร์ 3 ปี 1 ครั้ง สลับประเทศไทยและต่างประเทศ และจะมีนักพฤกษศาสตร์ชาวต่างชาติมีความร่วมมือมายาวนานที่มาช่วยศึกษาพันธุ์ไม้ในประเทศไทย

คนกลุ่มใดจะได้ประโยชน์จากการทำอนุกรมวิธานพืช

ขอตอบว่ามวลมนุษยชาติทั้งโลก ทำไมถึงบอกแบบนั้น เพราะงานวิจัยทางด้านอนุกรมวิธานเป็นงานวิจัยพื้นฐาน ทรัพยากรชีวภาพเป็นจุดแข็งของประเทศไทยเป็นต้นทุนทางธรรมชาติที่มีชีวิตมีความเชื่อมโยงกับวิถีชีวิต วัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่น งานด้านอนุกรมวิธานพืชจะสนับสนุนและส่งเสริมเลือกชนิดพืชที่มีความสำคัญ และที่จะพัฒนาให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงการใช้ประโยชน์ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและยั่งยืน งานวิจัยพื้นฐานทางอนุกรมวิธานพืช เป็นงานพื้นฐานที่สำคัญมากและมีประโยชน์ที่นำไปศึกษาต่อยอดสำหรับการศึกษาด้านพืชสาขาอื่นๆอีกมากมายหลายสาขา

โครงการในพระราชดำริ มีโครงการอะไรที่เกี่ยวข้องกับพฤกษศาสตร์

ได้มีโอกาสได้ใช้ความรู้ ความสามารถในฐานะที่เป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย ได้ผลิตบัณฑิตทางด้านอนุกรมวิธานพืช และความหลากหลายทางชีวภาพนับ 10 ปี ตั้งแต่เริ่มทำงาน มีโอกาสถวายงานรับใช้ใต้เบื้อง พระยุคลบาท สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี หลายครั้งงานล่าสุดนี้ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยรักษาการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้มอบหมายให้เป็นหัวหน้าโครงการ เข้าไปศึกษาพันธุ์ไม้ในวังสระปทุมที่เป็นที่ประทับของพระองค์ท่าน และก็มีโอกาสได้ถวายรายงาน ในงานปลูกต้นไม้ วันอาสาฬหบูชาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นอีกครั้ง และมีโอกาสได้ถวายรายงานวิจัยเรื่องการค้นพบพืชชนิดใหม่ของโลก ช้างงาเอก และเอื้องเทียนปากสีน้ำตาล ในงานประชุมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 42 และได้มีโอกาสได้ถวายงานเกี่ยวกับเรื่องการศึกษาอนุกรมวิธานพืชสกุลการ์ซีเนียในประเทศไทยในงานนิทรรศการวิชาการของโรงเรียนนายร้อย จปร และได้ถวายงานเกี่ยวกับการศึกษาวิจัยความหลากหลายทางพันธุ์พืชในพื้นที่คุ้งบางกระเจ้า และพระองค์ท่านรับสั่งให้ไปช่วยงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนปิยชาติพัฒนา ในพระราชูปถัมภ์ ถือว่านับเป็นพระมหากรุณาธิคุณที่มีโอกาสได้รับใช้ใต้เบื้อง พระยุคคลบาทพระองค์ท่าน

 

พิธีกร :  เป็นเรื่องราวที่ภาคภูมิใจ อย่างที่อาจารย์ได้กล่าวมา จากอาจารย์ได้กล่าวในเรื่องอนุกรมวิธานพืช ข้อมูลทางพฤกษศาสตร์เอง หอสมุดจะมีฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง สามารถเข้าชมฐานข้อมูลออนไลน์ที่หอสมุดบอกรับได้ หรืออยากหาข้อมูลหนังสือที่เกี่ยวข้อง จะมีศูนย์ความรู้ด้านการเกษตร อยู่ที่ชั้น 3 อาคารเทพรัตน์วิทยาโชติจะมีหนังสืออนุกรมวิธานพืช หรือหนังสือที่เกี่ยวข้องกับทางพฤกษศาสตร์มากมาย สามารถติดต่อเข้าใช้บริการได้ที่ ศูนย์ความรู้ด้านการเกษตรได้

 

อยากจะฝากอะไรกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหรือนิสิตนักศึกษาที่จะศึกษาเรื่องเกี่ยวกับพฤกษศาสตร์ และอนุกรมวิธานพืช

อยากจะฝากเชิญชวนผู้ที่สนใจนักเรียน นักศึกษา ที่มีความสนใจมาศึกษาทางด้านอนุกรมวิธานให้มากขึ้นเพื่อเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติในอนาคตขอขอบคุณครูบาอาจารย์ที่สอนผมมาทำให้ผมมีความเจริญก้าวหน้าในสายงานทางด้านความหลากหลายทางชีวภาพและงานทางด้านอนุกรมวิธานพืชขออนุญาตเอ่ยชื่ออาจารย์ ท่านแรก ดร.ก่องกานดา ชยามฤต ท่านที่สอง ศ.ดร.ธวัชชัย สันติสุข ท่านที่สาม ผศ.สมนึก ผ่องอำไพ ท่านที่สี่ รศ.สุมน มาสุธนผู้ที่สอนและอบรมให้ความรู้ผมมาทำให้ผมมีความรักและความภาคภูมิใจในการทำงานทางด้านอนุกรมวิธานพืช สุดท้ายขอขอบคุณโครงการBRT ย่อมาจากBiodiversity Research and Training Program ในยุคปี 2543 ที่โครงการ BRT ได้สนับสนุนทุนวิจัยให้นักวิจัย นิสิตนักศึกษาในระดับปริญญาโท ปริญญาเอกทั่วประเทศ ซึ่งโครงการนี้มีคุณูปการต่อวงการพฤกษศาสตร์ วงการอนุกรมวิธานพืชมากมาย รวมถึงความหลากหลายทางชีวภาพ ซึ่งบุคคลเหล่านั้นที่ท่านผลิตเมื่อ 10 กว่าปีที่ผ่านมา บุคคลเหล่านั้นไปเป็นอาจารย์ เป็นนักวิจัยในมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั่วประเทศ และบุคคลเหล่านั้นได้เติบโตเจริญก้าวหน้าทางหน้าที่การงาน และยังได้ผลิตบัณฑิตออกมารับใช้ประเทศชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดและยั่งยืนต่อไป

เรื่องราวทั้งหมดในวันนี้ เป็นเรื่องราวที่มีประโยชน์ซึ่งหลายท่านเองก็ยังไม่ได้มีข้อมูลในเรื่องพฤกษศาสตร์ ทางอนุกรมวิธานพืช หรือแม้กระทั่งพืชชนิดใหม่ของโลก เช่น ช้างงาเอก ในวันนี้เราได้ทราบถึงรายละเอียดทางพฤกษศาสตร์ค่อนข้างมาก ใช้ศาสตร์หลายศาสตร์ต่างๆ เข้ามาเพื่อจะจำแนกพืช ขั้นตอนการเก็บ การรวบรวม จัดทำอนุกรมวิธานพืชเองจะมีประโยชน์มากมายในเรื่องของมวลมนุษยชาติ ได้ประโยชน์จากการจัดทำอนุกรมวิธานพืช หรือแม้กระทั่งประโยชน์ในเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศหรือของโลก หรือในเรื่องของการจัดทำงานวิจัยที่จะทำให้งานวิจัยทางพฤกษศาสตร์หรืออนุกรมวิธานพืชให้มีคุณภาพของการวิจัย รวมถึงทางด้านการแพทย์เอง ซึ่งมีความสำคัญมาก ถ้ามีการจัดทำอนุกรมวิธานพืช จำแนก จัดชนิดของพืชอาจจะส่งผลให้ทางด้านเภสัช หรือการทำยา ที่นำพืชไปต่อยอดต่อ ทำให้มีการผิดพลาด ซึ่งผลกระทบแน่นอนจะเกิดต่อสุขภาพเราด้วยเป็นข้อมูลเบื้องต้นที่กล่าวมา มีประโยชน์อย่างมาก

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

 

 

KULIB Talk : เทคนิคการเขียนหนังสือวิชาการ

สวัสดีค่ะ ขอต้อนรับทุกท่านเข้าสู่การ Live ผ่านทาง Facebook Live ของสำนักหอสมุด ในรายการ KULIB Talk ค่ะ

          วันนี้ KULIB Talk จะนำเสนอการเขียนผลงานวิชาการค่ะ โดยอาจารย์ผู้มีผลงานหนังสือวิชาการหลายเล่มค่ะ โดยเฉพาะทางด้านไอทีค่ะ ขอต้อนรับ รศ.ดร.วรเศรษฐ สุวรรณิก ค่ะ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
คณะวิทยาศาสตร์ แล้วก็ยังเป็นรองผู้อำนวยการสำนักบริการคอมพิวเตอร์ด้วยนะคะ นอกจากนั้นแล้ว ทางสำนักหอสมุดยังเคยได้รับเกียรติจากอาจารย์มาบรรยายแลกเปลี่ยนความรู้ให้กับบุคลากรในสำนักหอสมุดด้วยนะคะ ขอบคุณนะคะที่ให้เกียรติรายการ KULIB Talk อีกครั้งหนึ่งค่ะ

พิธีกร : เราจะมาพูดถึงการเขียนหนังสือวิชาการของอาจารย์กันนะคะ คำถามแรกค่ะ ตอนนี้อาจารย์มีผลงานมาแล้วกี่เล่มคะ

          ถ้าพูดถึงหนังสือนะครับ ก็จะมี 1+2+2 เล่ม 1 ก็คือ 1 โหล เป็นหนังสือที่เขียนเป็นภาษาไทย ส่วน 2 ที่ บวกเข้าไปคือการแปล และที่บวก 2 ต่อเข้าไปอีกก็คือ เขียนเป็นภาษาอังกฤษครับ อาจารย์คะ มีแรงบันดาลใจยังไงบ้างคะที่ทำให้อาจารย์มีผลงานได้เยอะขนาดนี้คะ ทั้งเรื่องแปล หนังสือภาษาอังกฤษ และก็หนังสือภาษาไทยถึง12เล่ม ก็คือ ชอบอ่านหนังสือ นะครับ ชอบอ่านหนังสือตั้งแต่เด็กๆแล้ว ก็อ่านการ์ตูน อ่านนิยาย อ่านแนววิชาการ อ่านหลายอย่างเลยครับ ก็ ชอบอ่านหนังสือ ทั้ง Non-fictionแล้วก็ Fiction ถ้าเป็นNon-fiction หรือหนังสือวิชาการ ก็จะมีหนังสือที่อ่านแล้วสนุกก็มีนะ อ่านตั้งแต่เด็กๆแล้ว ก็เป็นหนังสือที่พูดถึงเรื่องโปรแกรม อาจารย์ท่านเขียนหนังสือสนุก แล้วก็มีหนังสือหลายเล่มที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ แต่อ่านแล้วสนุกเหมือนกัน เช่น หนังสือ Head First Java เป็นหนังสือที่อ่านสนุก อ่านแล้วชอบ อ่านแล้วได้ความรู้ด้วย สนุกด้วย แล้วก็อ่านหนังสือเนี่ย ได้กำไร ก็คือว่า เวลาเขียนหนังสือดีเนี่ย กว่าจะได้มาหนึ่งเล่ม ค้นคว้านานมาก แต่เราอ่านแป๊บเดียว เช่นหนังสือวิชาการ ใช้เวลาเขียนเป็นปี แต่เราใช้เวลาอ่านเดือนนึง สัปดาห์นึง เราก็ได้ความรู้มามหาศาลแล้ว มันได้กำไรมากเลย อันนี้ก็เป็นแรงบันดาลใจส่วนแรก ส่วนถัดไปคือชอบเขียน  ชอบบันทึก เพราะขี้ลืม ก็เลยต้องเขียน แล้วก็ตอนเขียนหนังสือ ก็จะได้ค้นคว้า ทำให้เราได้ทบทวน ว่าที่เรารู้นี่มันแม่นไหม และบางทีก็ได้ความรู้ใหม่ๆ คือตอนที่เราค้นหาข้อมูล เราก็จะได้ความรู้ใหม่ๆเข้ามาด้วย ในกระบวนการเขียนตรงนี้ แล้วก็พอหนังสือเขียนเสร็จแล้ว เราไปเดินตามร้านหนังสือ เราก็จะเห็นหนังสือเราวางอยู่บนเชลฟ์ เห็นแล้วก็จะเกิดความสุข หรือเวลาที่มีคนใช้หนังสือเรา ถือหนังสือเราเดินไปมา อ่านหนังสือของเรา เราก็มีความสุข
แรงบันดาลใจก็คือมาจากการอ่านการเขียน แล้วก็เห็นผลงานของตัวเองมีคนอ่าน มีคนอ้างถึงก็รู้สึกดีใจ

พิธีกร : ในการที่จะเขียนหนังสือซักหนึ่งเล่ม ก่อนที่จะเริ่มเขียนตำราวิชาการ อาจารย์จะต้องมีการเตรียมตัวหรือว่ามีเรื่องควรทราบอย่างไรบ้าง

          ผมว่า พื้นฐานเกิดจากการอ่าน คือถ้าเราไม่มีคลังความรู้เกี่ยวกับการเขียน สำนวนการเขียน หรือคลังคำศัพท์ มันก็จะเขียนไม่ออก ควรเริ่มจากการซึมซับการอ่าน การฟัง ต้องอ่านเยอะๆ หลากหลายแนว เก็บข้อมูลจากการอ่านมาก่อน ถัดไปก็ต้องฝึกเขียน การเขียนเป็นทักษะ สอนไม่ได้ นั่งฟังบรรยายหลายชั่วโมงก็เขียนไม่เป็น ถ้าไม่ลองเขียนดู เพราะฉะนั้น ก็ต้องลองเขียนดูจริงๆ ต้องฝึกเขียน เขียนไดอารี่ เขียนเรื่อยเปื่อย หรือถ้าคิดไม่ออกว่าจะเขียนอะไร ก็ลอกมาเลย ถ้าอ่านหนังสือแล้วเจอย่อหน้าที่เราชอบ เช่นแต่ก่อน ผมอ่านแมกกาซีน ก็จะลอกออกมาเลย ลอกคำพูดออกมาตรงๆ หรือจะเริ่มจากการแปล ถ้าหากคิดไม่ออกว่าจะเขียนอะไร เราก็แปลมา เอาภาษาอังกฤษมาแปลเป็นไทย หัดแปลดู สุดท้ายก็ลงมือเขียน

พิธีกร : ก่อนที่เราจะลงมือเขียนหนังสือเล่มหนึ่ง ก็จะมีการเตรียมตัว คือ การอ่าน การฝึกเขียน ครับ มันคือทักษะ ที่ต้องฝึก ต้องพัฒนา ต้องใช้เวลาในการสะสม อาจารย์คะ ในการเขียนตำราเล่มนึงเนี่ย มีขั้นตอนยังไงบ้างคะ

          นอกจากการอ่าน การเขียน คือ เขียนตำราเนี่ยควรจะมีขั้นตอน ก็คือ “ถอดเทป ก็เคยสัญญา” คำว่าถอดเทปก็คือ ฟัง แล้วเอามาพิมพ์ แต่สมัยนี้ก็จะง่าย ไม่ต้องพิมพ์เองแล้ว ใช้โปรแกรมช่วยได้ ก็คือบันทึกเสียงเราเอง แล้วก็ใช้กูเกิลพิมพ์ให้เรา ก็สบายขึ้นเยอะ สมัยก่อนต้องจ้างคนพิมพ์ หรือไม่ก็พิมพ์เอง สมัยนี้การถอดเทปจะง่ายขึ้นกว่าแต่ก่อนเยอะ คำว่าถอดเทปก็คือว่า ตอนที่เราสอนหนังสือเนี่ย ต้องมีพาวเวอร์พ้อย แล้วเราก็สอน โดยจะมีการบันทึก ว่าเราสอนไปว่าอะไร แล้วก็ถอดเทป โดยใช้กูเกิลช่วยนำเสียงเราแปลงเป็นข้อความ พอเราสอนจบหนึ่งเทอม เราก็จะได้ดราฟแรก เอาไปใช้ต่อได้ เอาไปแก้ไขต่อ เพราะถ้าเราไม่มีดราฟแรก แล้วให้เขียนจากกระดาษเปล่า มันจะยาก แต่พอเรามีดราฟมันจะไปต่อได้ง่ายและเร็วขึ้น เขียนหนังสือต้องมีหลายดราฟ ขนาดมืออาชีพอย่างสตีเฟ่นคิง ยังมีการแก้หลายรอบเลย ฉะนั้นต่อให้เป็นมืออาชีพก็ต้องมีการแก้ไข จนถึงจุดที่เราพอใจ ก็ตีพิมพ์ อันนี้คือการถอดเทปนะ ส่วนคำว่า ก็เคยสัญญา ของอัสนี วสัน ก็คือ ก่อนเปิดเทอม ให้เราเขียนรอไว้สี่บท คือตำราปกติเนี่ย ควรจะมีสิบห้าบท ตามสัปดาห์ เพราะฉะนั้น ก่อนเปิดเทอม ก็ให้เขียนรอไว้สี่บท หรือสามบท เสร็จแล้ววันเปิดเทอมก็บอกนักเรียนเลยว่าต่อไปนี้ ทุกสัปดาห์ อาจารย์จะแจกเอกสารคำสอนให้นักเรียนสัปดาห์ละหนึ่งบท ทุกสัปดาห์ คือต้องสัญญากับนักเรียน คือจะเขียนไป ให้นักเรียนไป ทุกสัปดาห์พอจบเทอมก็จะมีครบหนึ่งเล่ม ตามที่สัญญากับนักเรียนไว้ ถามว่าที่เขียนไว้สาม สี่บทล่วงหน้าเพราะอะไร ก็เพราะบางสัปดาห์จะยุ่งมาก ทำไม่ทัน ก็เลยต้องเอาของเก่ามาส่งให้นักเรียนไปก่อน กันไว้เผื่อทำไม่ทัน สรุปง่ายๆก็คือ “ถอดเทป ก็เคยสัญญา” ก็จะเขียนหนังสือได้หนึ่งเล่ม ตอนจบเทอม

พิธีกร :ในการที่เขียนตำราของอาจารย์ก็จะต้องมีแหล่งศึกษาค้นคว้าข้อมูลด้วย ใช่ไหมคะ ใช้แหล่งข้อมูลไหนบ้างคะ และอยากจะทราบว่า ห้องสมุดเราเนี่ยมีส่วนช่วยในการซัพพอร์ตการเขียนตำราของอาจารย์ไหมคะ ครับ แหล่งข้อมูลที่ใช้ก็คือ

          Google หลักๆเลย Google กับหอสมุดก็ใช้ ใช้สองอย่างทั้งหอสมุดและ Google คราวนี้กูเกิลก็จะมีการค้นหาหลายแบบ Basic ก็คือ Google เซิร์จธรรมดา ซึ่งให้ผลเป็นข้อความ ถัดไปคือ Google Image Search คือหาจากรูปภาพ บางทีอ่านข้อความค้นหาลำบาก แต่ถ้าเรากู Google Image Search จะง่าย เพราะเราแค่เลื่อนดูรูปคร่าวๆ ว่าเกี่ยวข้องไหม ผมก็จะใช้ Google Image Search ในการหาช้อมูล อีกส่วนนึง Youtube แต่ละแบบจะมีข้อดีข้อเสีย ก็คือจะใช้ Youtube Google Search และ Google Image Search ส่วนหอสมุดก็ใช้บริการเป็นประจำ ก็จะยืมหนังสือแล้วก็อีบุ๊ก จะมีสองเจ้าที่ชอบใช้ ก็คือของ Wiley และ Science direct จะดีตรงที่ Google เจอ บางที่เราหาใน Google มันจะเด้งไปที่ Science Direct แล้วเราก็ไปที่ห้องสมุดต่อ แล้วก็ตัว paper

ก็คืออาจารย์จะใช้ทั้งแหล่งข้อมุลที่หาได้ทั่วไป เช่น Google Youtube รวมทั้งฐานข้อมูลออนไลน์ที่ห้องสมุดด้วย ใช่ไหมคะ

พิธีกร : ข้อดีของการเขียนตำราหรือว่าหนังสือในความคิดของอาจารย์ มีอะไรบ้างคะ

          ผมว่าข้อดีที่เราได้กับตัวเองเนี่ย คือบางทีเราจะยังไม่รู้ จนกว่าเราจะพูดออกมา แต่คำพูดจะยังไม่เป๊ะเท่ากับการเขียน เราต้องเข้าใจมากกว่าการพูด ถึงจะเขียนออกมาได้ การเขียนช่วยให้เรามีความชัดเจน ในเรื่องที่เราจะเขียนมาก ช่วยให้เราเอาไปสอนต่อได้ ได้ค้นคว้าได้ความรู้ใหม่ บางทีเราคิดว่าเรารู้เรื่องนี้แล้ว แต่พอไปค้นดูอาจจะเจอเรื่องใหม่ๆ ขอบเขตเราก็จะกว้างขึ้น อันนี้ก็เป็นข้อดีข้อหนึ่ง ที่เกิดขึ้นกับตัวเอง

ข้อสองก็คือ การได้เผยแพร่ความรู้ให้กับคนหมู่มาก เพราะหนังสือเวลาตีพิมพ์นี่ไปทั้งประเทศ ก็มีคนคอยจำหน่ายช่วยกระจายสินค้าไปทั่วประเทศ ได้เผยแพร่ความรู้ให้ประเทศพัฒนาขึ้น แล้วก็มีคนรู้จักมากขึ้น อย่างบางทีไปอบรม ปรากฏว่าไปเจอวิทยากร อ่านหนังสือของผม เราก็แฮปปี้เลย เพราะวิทยากรเขาอ่านหนังสือเราสมัยเขาเป็นนักเรียน ถ้าพูดถึงรายได้การเขียนหนังสือเนี่ยน้อย แต่ข้อดีคือ มีคนมาชวนไปเป็นวิทยากร เพราะว่า รู้จักเราจากการเขียนหนังสือ ก็เลยเชิญเราไปเป็นวิทยากร ก็เลยกลายเป็นทางอ้อม ไม่ได้มาตรงๆจากการขายหนังสือ แต่ว่า มาจากการที่เขารู้จักเราผ่านทางหนังสือ ก็เกิดความมั่นใจว่า เราเข้าใจเรื่องนี้จริง ก็เชิญเราไปสอน

ค่ะ นี่ก็เป็นข้อดีที่อาจารย์ได้ประสบกับตัวเองในการเขียนหนังสือนะคะ อาจารย์คะ ในการเขียนหนังสือเล่มนึง แน่นอนว่าจะต้องมีปัญหาที่เราเจอบ้าง แล้วปัญหาที่อาจารย์เจอ ในการเขียนหนังสือ มีอะไรบ้างคะ ครับ เรื่องเวลาเลยครับ คือบางทีเรา มีช่วงนึงที่ไฟแรงมากเลยนะ เขียนหนังสือเยอะมากเลย แต่ว่าไม่มีเวลา ก็ต้องจัดสรรเวลา ต้องหาเวลา แล้วก็ต้องจัดเวลา ทำให้สม่ำเสมอ การเขียนหนังสือก็เหมือนกับการวิ่งระยะยาว ก็คือต้องแบ่งเวลาทำไปเรื่อยๆ

พิธีกร : เทคนิคในการเขียนส่วนตัวของอาจารย์เนี่ย มีเทคนิคยังไง หรือเล่าเรื่องในหนังสือของอาจารย์ยังไง ที่ทำให้เนื้อหามันสนุก น่าอ่านทำให้คนติดตามอ่านตั้งแต่ต้นจนจบได้ อยากจะให้อาจารย์ช่วยแชร์กับพวกเราค่ะ

          ผมคิดว่า ส่วนนึงก็คือการใช้ภาษา มันก็ต้องเป็นธรรมชาติ คำที่เราใช้ เช่น ศัพท์เทคนิคอะไรบางอย่าง เราก็ใช้ศัพท์ที่เราพูด ไม่ใช้ศัพท์พิศดารที่อ่านแล้วงง ย่อหน้าต้องไม่ยาว อาจจะมีรูปภาพประกอบ ทำให้เข้าใจง่ายขึ้น ไอเดียหลักก็คือ เขียนหนังสือยังไงให้คนอ่านไม่ต้องใช้สมอง คือ ใช้น้อยๆ ไม่ต้องออกแรงเยอะ อ่านแบบสบายๆ แต่ว่า คนเขียนก็จะลำบาก แต่คนอ่านจะสบาย ไม่ต้องออกแรงคิดเยอะ เราก็จะคิดถึงคนอ่านในแง่นั้น บางทีถ้าเรามีโจทย์อะไร โจทย์ที่มันอินเทรนด์ อยู่ในกระแส เราก็จะสมมติตัวละครขึ้นมา  หนังสือวิชาการบางทีมันก็ทำยาก แต่ก็พยายามหาโจทย์ที่มันเกี่ยวข้องกับเขา  ค่ะ นี่ก็เป็นเทคนิคการเขียนหนังสือของอาจารย์นะคะ

พิธีกร : อาจารย์ได้พูดถึงเรื่องการเผยแพร่ความรู้ อาจารย์ได้เป็นบุคคลที่เริ่มนำ Work Place เข้ามาใช้ในหน่วยงาน ก็จะขอถามถึงเรื่องนี้ด้วยค่ะ ว่าวัตถุประสงค์ของการเอา Work Place เข้ามาใช้ในหน่วยงาน เกี่ยวกับการเผยแพร่ความรู้ตรงนี้ด้วยรึปล่าวคะ

          ครับ Work Place เนี่ย คือ Facebook แต่ใช้ในองค์กร คือเป็น Facebook ที่จำกัดคนที่ใช้ ก็คือใช้ได้เฉพาะในเกษตร ข้อดีก็คือว่า จะมีการใช้กันด้วยชื่อจริง ไม่ใช่ตั้งชื่ออะไรมาก็ได้ ทุกคนใช้ด้วยชื่อจริงของตัวเอง เพราะฉะนั้นการสื่อสาร อันนี้คือคีย์เวิร์ดสำคัญนะ การสื่อสาร เพราะการทำงานของเราเนี่ยต้องใช้การสื่อสารกันให้ชัดเจน และให้รู้ว่าผู้ที่รับสารจะได้รับสารหรือเปล่า อย่างนี้ เป็นต้น ซึ่ง Work Place ก็ตอบโจทย์หลายอย่าง ในแง่การสื่อสาร เพราะงั้น คำถามที่ว่า นำเข้ามาเพราะอะไร เพราะผมเชื่อว่า มันช่วยในการสื่อสาร โดยเฉพาะหากผู้บริหารใช้ ก็จะสามารถสื่อสารนโยบาย ทิศทางขององค์กรให้กับบุคลากรทราบได้ และถ้าบางคนมีความรู้อะไรก็มาแชร์ความรู้กัน เช่นไปดูงานหอสมุดที่เซี่ยงไฮ้ ก็เอามาแชร์ความรู้กัน ผมว่ามันเป็นเรื่องที่ดีมาก เพราะว่า หลายท่านไม่มีโอกาสไป อย่างผมก็ไม่ได้ไป ก็ไม่รู้ว่าเป็นยังไง ก็มีคนของหอสมุดมาแชร์ให้ดูว่าไปแล้วได้ความรู้อะไรบ้าง ผมว่าเป็นเรื่องดี การที่เราแชร์กัน คือทุกคนเก่งขึ้น ผมเก่งขึ้น คุณเก่งขึ้น ค่ะ ก็ขอบคุณมากเลยนะคะ ที่ให้ไอเดียในการใช้ Work Place ร่วมกัน เพราะว่าหลายๆคนยังไม่ได้มาสมัคร ยังไงก็แนะนำให้มาสมัครด้วยนะคะ จะได้เผยแพร่แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้กันค่ะ

     ค่ะ สำหรับวันนี้นะคะ เราก็ได้รับข้อมูลที่เป็นประโยชน์มากเลยนะคะ ทั้งในเรื่องของการเขียนหนังสือวิชาการ แล้วก็ในเรื่องของWork Place ที่ใช้กันในหน่วยงาน สำหรับวันนี้ก็ต้องขอขอบคุณ รศ.ดร.วรเศรษฐ  สุวรรณิก ที่ให้เกียรติกับรายการ KULIB Talk ค่ะ ขอบคุณค่ะ และในครั้งต่อๆไปจะเป็นแขกรับเชิญท่านใด ก็สามารถติดตามข่าวสารผ่านช่องทาง

Facebook Fanpage สำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หรือ Line:@kulibrary ค่ะ สำหรับวันนี้ก็ขอขอบคุณทุกท่านนะคะ ที่ติดตามชมรายการค่ะ สวัสดีค่ะ

แนะนำทรัพยากรสารสนเทศที่น่าสนใจ

รวมผลงาน รศ.ดร.วรเศรษฐ สุวรรณิก ในคลังความรู้ดิจิตัล มก.

การเขียนหนังสือส่งเสริมการอ่านและตัวอย่างหนังสือส่งเสริมการอ่านที่เป็นผลงานทางวิชาการ / รังสิมันต์ ฉิมรักษ์

คู่มือการเขียนเอกสารอ้างอิงและบรรณานุกรม / โดย เทอดศักดิ์ ไม้เท้าทอง

แนวการเขียนตำราวิชาการ / คณะกรรมการวิชาการ สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย

เทคนิคและประสบการณ์การเขียนตำราทางวิชาการ / บันลือ พฤกษะวัน ดำรง ศิริเจริญ

Page 2 of 2
 
 
 
1xbet casino siteleri bedava bahis kaçak bahis superbetin yeni giriş casino siteleri